![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() อรรถกถานิพพานปัญหาสูตรที่ ๑ บทว่า ชมฺพุขาทโก ปริพฺพาชโก ความว่า ปริพาชกผู้นุ่งผ้าเป็นหลานของพระสารีบุตรเถระ ซึ่งมีชื่ออย่างนี้. บทว่า โย โข อาวุโส ราคกฺขโย ความว่า ราคะย่อมสิ้นไปเพราะอาศัยนิพพาน เพราะฉะนั้น พระสารีบุตรจึงเรียกนิพพานว่าความสิ้นราคะ ดังนี้. แม้ในความสิ้นโทสะและโมหะ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ส่วนผู้ใดพึงกล่าวเพียงความสิ้นกิเลสว่านิพพานด้วยสูตรนี้. ผู้นั้นพึงถูกถามว่า กิเลสของใครนั่น ของตนหรือ หรือของคนเหล่าอื่น. เขาจักตอบว่าของตนแน่. เขาต้องถูกถามต่อไปว่า อะไรเป็นอารมณ์ของโคตรภูญาณ เมื่อรู้จักตอบว่านิพพาน. ถามว่า ก็กิเลสทั้งหลายสิ้นแล้ว กำลังสิ้น จักสิ้น ในขณะแห่งโคตรภูญาณหรือ. ตอบว่า เขาไม่พึงตอบว่า สิ้นแล้วหรือกำลังสิ้น แต่พึงตอบว่า จักสิ้นดังนี้. ก็เมื่อกิเลสทั้งหลายเหล่านั้นยังไม่สิ้นแล้ว โคตรภูญาณจะทำความสิ้นแห่งกิเลส ให้เป็นอารมณ์ได้หรือ. เมื่อท่านถูกถามอย่างนี้แล้ว เขาจักไม่มีคำตอบ. แต่ในข้อนี้ พึงประกอบความสิ้นกิเลสแม้ด้วยมรรคญาณ. ด้วยว่า กิเลสทั้งหลาย แม้ในขณะแห่งมรรคไม่ควรกล่าวว่า สิ้นแล้วหรือจักสิ้น แต่ควรกล่าวว่า กำลังสิ้น. อนึ่ง เมื่อกิเลสทั้งหลายยังไม่สิ้นไป ความสิ้นกิเลสย่อมเป็นอารมณ์หาได้ไม่. เพราะฉะนั้น ข้อนั้นควรรับได้. ธรรมมีราคะเป็นต้นย่อมสิ้นไป เพราะอาศัยธรรมชาติใด เพราะเหตุนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่านิพพาน. ส่วนนิพพานนี้นั้นไม่เพียงเป็นความสิ้นกิเลสเท่านั้น เพราะท่านรวบรวมไว้ว่าสงเคราะห์ว่าเป็นอรูปธรรม. ธรรมทั้งหลายที่ชื่อว่ารูป ในทุกะมาติกามีอาทิว่า รูปิโน ธมฺมา อรูปโน ธมฺมา ธรรมทั้งหลายที่ชื่อว่ารูป ธรรมทั้งหลายที่ไม่ชื่อว่ารูป ดังนี้. อรรกถกถาอรหัตตปัญหาสูตรที่ ๒ อรรถกถาธรรมวาทีปัญหาสูตรที่ ๓ บทว่า ทุกฺขสฺส โข อาวุโส ปริญฺญตฺถํ ความว่า เพื่อกำหนดรู้วัฏทุกข์. อรรถกถาทุกขปัญหาสูตรที่ ๑๔ ในบทเป็นอาทิว่า ทุกฺขทุกฺขตา ได้แก่ สภาพแห่งทุกข์กล่าวคือทุกข์ ชื่อว่า ทุกฺขตา. แม้ในสองบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. อรรถกถาทุกกรปัญหาสูตรที่ ๑๖ บทว่า น จิรํ อาวุโส ท่านแสดงว่า ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อพากเพียรพยายามอยู่ จะพึงเป็นพระอรหันต์ คือพึงตั้งอยู่ในพระอรหัตได้ไม่นานนัก คือเร็วนั่นเอง. เพราะท่านกล่าวว่า ภิกษุผู้อันท่านตักเตือนแล้วในเวลาเช้า จักบรรลุคุณวิเศษในเวลาเย็น ภิกษุผู้อันท่านตักเตือนแล้ว ในเวลาเย็น จักบรรลุคุณวิเศษในเวลาเช้า. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น. จบอรรถกถาชัมพุขาทกสังยุต ----------------------------------------------------- รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. นิพพานสูตร [นิพพานปัญหาสูตรที่ ๑] ๒. อรหัตตสูตร [อรหัตตปัญหาสูตรที่ ๒] ๓. ธรรมวาทีสูตร [ธรรมวาทีปัญหาสูตรที่ ๓] ๔. กิมัตถิยสูตร ๕. อัสสาสสูตร ๖. ปรมัสสาสสูตร ๗. เวทนาสูตร ๘. อาสวสูตร ๙. อวิชชาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร ๑๑. โอฆสูตร ๑๒. อุปาทานสูตร ๑๓. ภวสูตร ๑๔. ทุกขสูตร [ทุกขปัญหาสูตรที่ ๑๔] ๑๕. สักกายสูตร ๑๖. ทุกกรสูตร [ทุกกรปัญหาสูตรที่ ๑๖] ฯ .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ชัมพุขาทกสังยุตต์ จบ. |