ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 627อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 629อ่านอรรถกถา 18 / 649อ่านอรรถกถา 18 / 803
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค คามณิสังยุตต์
๑๒. ราสิยสูตร

               อรรถกถาราสิยสูตรที่ ๑๒               
               ในราสิยสูตรที่ ๑๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า ราสิโย ความว่า พระธรรมสังคาหกเถระได้กำหนดชื่อนายบ้านว่า ราสิยะ อย่างนี้ เพราะเขาถามปัญหาเป็นกลุ่มก้อน.
               บทว่า ตปสฺสึ ได้แก่ อาศัยตบะ. บทว่า ลูขชีวึ แปลว่า มีความเป็นอยู่ปอนๆ.
               บทว่า อนฺตา ได้แก่ ส่วน.
               บทว่า คาโม ได้แก่ เป็นของชาวบ้าน. ปาฐะว่า คมฺโม ดังนี้ก็มี. ความว่า เป็นเรื่องของชาวบ้าน.
               บทว่า อตฺตกิลมถานุโยโค แปลว่า การประกอบตนให้ลำบากเปล่า. อธิบายว่า ทำความเดือดร้อนแก่ร่างกาย.
               ถามว่า ก็ในที่นี้ เหตุไรจึงทรงถือเอากามสุขัลลิกานุโยค เหตุไรจึงทรงถือเอาอัตตกิลมถานุโยค เหตุไรจึงทรงถือเอามัชฌิมาปฏิปทา.
               แก้ว่า ทรงถือเอากามสุขัลลิกานุโยค เพื่อแสดงแก่เหล่าชนผู้บริโภคกามก่อน. ทรงถือเอาอัตตกิลมถานุโยค เพื่อแสดงแก่เหล่าชนผู้อาศัยตบะ. ทรงถือเอามัชฌิมาปฏิปทา เพื่อแสดงเรื่องที่หาชราความทรุดโทรมมิได้ ๓ ประการ.
               ถามว่า ในการแสดงข้อปฏิบัติเหล่านั้น ได้ประโยชน์อะไร.
               แก้ว่า บรรดาข้อปฏิบัติเหล่านี้ พระตถาคตทรงละส่วนสุด ๒ อย่างแล้วทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณด้วยมัชฌิมาปฏิปทา ผู้บริโภคกามทั้งหลาย พระองค์ก็มิได้ทรงตำหนิ มิได้ทรงสรรเสริญไปทั้งหมด แม้ผู้อาศัยตบะทั้งหลาย พระองค์ก็มิได้ทรงตำหนิ มิได้ทรงสรรเสริญไปทุกคน ทรงตำหนิเฉพาะผู้ที่ควรตำหนิ ทรงสรรเสริญผู้ที่ควรสรรเสริญ. พึงทราบว่า ประโยชน์ในการแสดงข้อปฏิบัติเหล่านี้ ก็เพื่อประกาศเนื้อความนี้ด้วยประการฉะนี้.
               บัดนี้ เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ตโย โขเม คามณิ กามโภคิโน ดังนี้เป็นต้น.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหเสน แปลว่า ด้วยการกระทำอย่างผลุนผลัน.
               บทว่า น สํวิภชติ ความว่า ไม่แจกจ่ายแก่มิตรสหายที่เคยเห็นเคยคบกัน.
               บทว่า น ปุญฺญานิ กโรติ ความว่า ไม่ทำบุญซึ่งเป็นปัจจัยแก่ภพภายหน้า.
               บทว่า ธมฺมาธมฺเมน แปลว่า โดยชอบธรรมและโดยไม่ชอบธรรม.
               บทว่า ฐาเนหิ ได้แก่ โดยเหตุทั้งหลาย.
               บทว่า สจฺฉิกโรติ ความว่า ผู้มีตบะ เมื่อทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวายจะทำให้แจ้งซึ่งอุตตริมนุสสธรรมได้อย่างไร.
               ธรรมราศี กองธรรม ๓ อย่าง ชื่อว่าอันบุคคลพึงเห็นเอง ด้วยอำนาจความเพียรที่ประกอบด้วยองค์ ๔ และด้วยอำนาจธุดงค์.
               ในบทว่า นิชฺชรา นี้ ท่านเรียกมรรคบางอย่างว่า ติสฺโส นิชฺชรา เพราะกิเลสทั้งสามหาชราทรุดโทรมมิได้.

               จบอรรถกถาราสิยสูตรที่ ๑๒               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค คามณิสังยุตต์ ๑๒. ราสิยสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 627อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 629อ่านอรรถกถา 18 / 649อ่านอรรถกถา 18 / 803
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=8345&Z=8580
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3721
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3721
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๔  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :