ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 685อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 752อ่านอรรถกถา 18 / 762อ่านอรรถกถา 18 / 803
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค อัพยากตสังยุตต์
๑. เขมาเถรีสูตร

               อัพยากตสังยุตต์               
               อรรถกถาเขมาเถรีสูตรที่ ๑               
               อัพยากตสังยุต สูตรที่ ๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า เขมา ได้แก่ อุบาสิกาของพระเจ้าพิมพิสาร เวลาเป็นคฤหัสถ์เป็นคนมีศรัทธา บวชแล้วเป็นพระมหาเถรี ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะทางมีปัญญามาก โดยพระพุทธพจน์อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีสาวิกาของเราผู้มีปัญญามาก ภิกษุณีเขมาเป็นยอด.
               บทว่า ปณฺฑิตา ได้แก่ ประกอบด้วยความเป็นบัณฑิต.
               บทว่า พฺยตฺตา ได้แก่ ประกอบด้วยความเป็นผู้เฉียบแหลม.
               บทว่า เมธาวินี ได้แก่ ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำจัดกิเลส.
               บทว่า พหุสฺสุตา ได้แก่ ประกอบด้วยความเป็นพหูสูต ทั้งทางปริยัตติ ทั้งทางปฏิเวธ.
               บทว่า คณโก ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดคำนวณสิ่งที่ไม่แยกกัน (นับประมวล).
               บทว่า มุทฺทิโก ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดคำนวณด้วยแหวนมีอยู่ที่นิ้วมือ (นับประเมิน).
               บทว่า สงฺขายโก ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดคำนวณสิ่งที่เป็นก้อน (นับประมาณ).
               บทว่า คมฺภีโร ได้แก่ ลึกแปดหมื่นสี่พันโยชน์.
               บทว่า อปฺปเมยฺโย ได้แก่ ประมาณโดยคำนวณเป็นอาฬหกะไม่ได้.
               บทว่า ทุปฺปริโยคาโห ได้แก่ หยั่งลงเพื่อถือเอาประมาณโดยคำนวณเป็นอาฬหกะได้ยาก.
               บทว่า เยน รูเปน ตถาคตํ ความว่า พึงบัญญัติตถาคตกล่าวคือสัตว์ว่า สูง ต่ำ ดำ ขาว ดังนี้ ด้วยรูปใด.
               บทว่า ตํ รูปํ ตถาคตสฺส ปหีนํ ความว่า รูปมีประการดังกล่าวแล้ว พระตถาคตผู้สัพพัญญูละได้แล้ว ด้วยการละตัณหา.
               บทว่า รูปสงฺขยา วิมุตฺโต ความว่า พ้นจากการรับรองว่าเป็นรูปต่อไป โดยส่วนแห่งรูปและอรูปบ้าง จากการบัญญัติว่ารูป เพราะระงับแม้โวหารว่า จักมีถึงปานนี้ ดังนี้บ้าง.
               บทว่า คมฺภีโร ได้แก่ ลึกเพราะความลึกทางอัธยาศัยด้วย เพราะความลึกทางคุณธรรมด้วย. อธิบายว่า เมื่อพระตถาคตผู้ลึกทางคุณธรรมนั้นมีอยู่อย่างนี้.
               คำว่า เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ตถาคตกล่าวคือสัตว์นี้ ย่อมมี นี้ ย่อมไม่เหมาะ ย่อมไม่ควร แม้คำว่า เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ตถาคตย่อมไม่มี เป็นต้น ย่อมไม่เหมาะ ย่อมไม่ควร แก่พระตถาคตผู้สัพพัญญู ผู้ทรงเห็นความไม่มีแห่งบัญญัตินั้น เพราะไม่มีข้อที่เป็นเหตุให้มีบัญญัติว่า ตถาคตกล่าวคือสัตว์เป็นต้น.
               บทว่า สํสนฺทิสฺสติ ได้แก่ จักมีอย่างนี้.
               บทว่า สเมสฺสติ ได้แก่ จักมีติดต่อ.
               บทว่า น วิหายิสฺสติ ได้แก่ จักไม่มีศัพท์ที่ผิดพลาด.
               ก็เทศนาว่า อคฺคปทสฺมึ ในที่นี้ ทรงประสงค์บทที่สำคัญ.
               แต่บทนี้ตรัสโดยอธิการแห่งอัพยากตธรรม ซึ่งกล่าวไว้พิสดารแล้วในขันธิยวรรคที่ ๒ นั่นแล.

               จบอรรถกถาเขมาเถรีสูตรที่ ๑               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค อัพยากตสังยุตต์ ๑. เขมาเถรีสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 685อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 752อ่านอรรถกถา 18 / 762อ่านอรรถกถา 18 / 803
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=9328&Z=9475
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3815
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3815
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๔  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :