ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 19 / 1อ่านอรรถกถา 19 / 105อรรถกถา เล่มที่ 19 ข้อ 108อ่านอรรถกถา 19 / 111อ่านอรรถกถา 19 / 1786
อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค มัคคสังยุตต์ ปฏิปัตติวรรคที่ ๔
๘. พรหมัญญสูตรที่ ๒

               ปฏิปัตติวรรควรรณนาที่ ๔               
               อรรถกถาปฏิปัตติสูตรเป็นต้น               
               พึงทราบวินิจฉัยในปฏิปัตติสูตรที่ ๑ แห่งปฏิปัตติวรรคที่ ๔.
               บทว่า มิจฺฉาปฏิปตฺตึ คือ ซึ่งไม่ปฏิบัติตามเป็นจริง.
               บทว่า มิจฺฉาปฏิปนฺนํ คือ ผู้ไม่ปฏิบัติตามเป็นจริง.
               สูตรหนึ่ง ท่านกล่าวด้วยสามารถธรรม สูตรหนึ่งด้วยสามารถบุคคล.
               บทว่า อปาราปารํ ได้แก่ ซึ่งนิพพานจากวัฏฏะ ชนเหล่าใดถึงซึ่งฝั่งแล้วก็ดี กำลังถึงก็ดี จักถึงก็ดี ชนเหล่านั้นทั้งหมดพึงทราบว่า เป็นผู้ถึงฝั่ง ในบทว่า ปารคามิโน นี้.
               บทว่า ตีรเมวานุธาวติ ความว่า ย่อมวิ่งไปสู่วัฏฏะนั่นเอง คือย่อมเที่ยวไปในวัฏฏะ.
               กณฺหนฺติ อกุสลธมฺมํ. สุกฺกนฺติ กุสลธมฺมํ.
               บทว่า กณฺหํ คือ อกุศลธรรม. บทว่า สุกฺกํ คือ กุศลธรรม.
               บทว่า โอกา อโนกํ ได้แก่ จากวัฏฏะอาศัยนิพพาน.
               บทว่า อาคมฺม ได้แก่ ปรารภ หมายถึงอาศัย.
               บทว่า ปริโยทเปยฺย ได้แก่ พึงทำให้บริสุทธิ์.
               บทว่า จิตฺตกฺเลเสหิ ได้แก่ ด้วยนิวรณ์อันทำจิตให้เศร้าหมอง.
               บทว่า สมฺโพธิยงฺเคสุ ได้แก่ ในโพชฌงค์ ๗.
               บทว่า สามญฺญตฺถํ ได้แก่ นิพพาน.
               จริงอยู่ นิพพานนั้น ท่านกล่าวว่า ประโยชน์ของความเป็นสมณะ เพราะควรเข้าถึงโดยความเป็นสมณะ.
               บทว่า พฺรหฺมญฺญํ คือ ความเป็นผู้ประเสริฐสุด.
               บทว่า พฺรหฺมญฺญตฺถํ ได้แก่ พระนิพพาน เพราะควรเข้าถึงโดยความเป็นผู้ประเสริฐสุด. เกจิอาจารย์กล่าวว่า นิพพานอันมาแล้วว่าเป็นที่สิ้นไปแห่งราคะในหนหลัง และใน ๓ สูตรนี้ในที่ใดๆ แม้อรหัตก็ควรในที่นั้นๆ เช่นกัน.

               จบอรรถกถาปฏิปัตติสูตรเป็นต้น               
               จบปฏิปัตติวรรควรรณนาที่ ๔               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. ปฏิปัตติสูตร
                         ๒. ปฏิปันนสูตร
                         ๓. วิรัทธสูตร
                         ๔. ปารสูตร
                         ๕. สามัญญสูตรที่ ๑
                         ๖. สามัญญสูตรที่ ๒
                         ๗. พรหมัญญสูตรที่ ๑
                         ๘. พรหมัญญสูตรที่ ๒
                         ๙. พรหมจริยสูตรที่ ๑
                         ๑๐. พรหมจริยสูตรที่ ๒
               -----------------------------------------------------               
               อรรถกถาที่มีมาก่อนหน้านี้ :-
               อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค มัคคสังยุตต์ มิจฉัตตวรรคที่ ๓                ๑๐. อุตติยสูตร http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=86                อรรถกถาที่มีถัดจากนี้ :-
               อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค มัคคสังยุตต์ อัญญติตถิยวรรคที่ ๕                ๑. วิราคสูตร http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=117

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค มัคคสังยุตต์ ปฏิปัตติวรรคที่ ๔ ๘. พรหมัญญสูตรที่ ๒ จบ.
อ่านอรรถกถา 19 / 1อ่านอรรถกถา 19 / 105อรรถกถา เล่มที่ 19 ข้อ 108อ่านอรรถกถา 19 / 111อ่านอรรถกถา 19 / 1786
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=574&Z=582
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๐  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :