บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
จริงอยู่ เมื่อกำลังทำงานในธาตุกัมมัฏฐาน กายย่อมลำบาก เป็นเหมือนถึงอาการจับใส่ในเครื่องยนต์แล้วเบียดเบียน. เมื่อกำลังทำงานในกสิณกัมมัฏฐานอยู่ จักษุก็กลอกไปมา ย่อมเหนื่อยเป็นเหมือนถึงอาการทะลักตกลงไป. แต่เมื่อทำงานในกัมมัฏฐานนี้ กายก็ไม่เหนื่อยเลย จักษุทั้งสองข้างก็ไม่ลำบากด้วย ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนั้น. ถามว่า ทำไม ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า รูปสัญญาทั้งหมด เราจะเพิกกสิณในอานาปานะ (ลมหายใจออกเข้า) ได้หรือ. ตอบ ได้. สำหรับพระจูฬาภยเถระผู้ชำนาญไตรปิฎก กล่าวว่า เพราะเหตุที่นิมิตของอานาปานะย่อมปรากฏเป็นเหมือนแถวแก้วมุกดาในรูปดาวฉะนั้น ในอานาปานะนั้น เราจึงเพิกเอากสิณออกได้. พระจูฬานาคเถระผู้ทรงไตรปิฎก กล่าวค้านว่า ไม่ได้เลย. อย่าเลย ขอรับ แล้วทำไม เราจึงจะถือเอาชนิดอันมีฤทธิ์ของพระอริยะเป็นต้นนี้ได้เล่า. เพื่อชี้ถึงอานิสงส์ คือ ภิกษุต้องการฤทธิ์ที่เป็นอริยะก็ดี รูปาวจรฌานสี่ก็ดี อรูปสมาบัติสี่ก็ดี นิโรธสมาบัติก็ดี ต้องทำความสนใจสมาธิที่เกี่ยวกับความระลึกอานาปานนี้ให้ดี. เหมือนเมื่อได้กรุงแล้ว ของสิ่งใดที่ต้องใช้ความขยันจึงจะได้มาในทิศทั้งสี่ ของสิ่งนั้นก็ย่อมเข้าสู่กรุงโดยประตูทั้งสี่นั่นแหละ เพราะฉะนั้น ก็เป็นอันว่าได้ทั้งชนบทด้วย นี้แลเป็นอานิสงส์ของกรุงนั่นเทียวฉันใด ชนิดมีอริยฤทธิ์เป็นต้นนี้ก็ฉันนั้น เป็นอานิสงส์ของอานาปานัสสติสมาธิภาวนา เมื่อได้เจริญอานาปานัสสติสมาธิโดยอาการทั้งหมดแล้ว สิ่งทั้งหมดนี้ก็ย่อมสำเร็จแก่พระโยคีฉะนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้เพื่อชี้ถึงอานิสงส์. ทำไมในคำว่า สุขญฺเจ นี้ (ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา) ท่านจึงกล่าวว่า โส (แปลว่า เขาผู้นั้น จบอรรถกถาทีปสูตรที่ ๘ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อานาปานสังยุตต์ เอกธรรมวรรคที่ ๑ ๘. ทีปสูตร จบ. |