![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() อรรถกถาราชสูตรที่ ๑ คำว่า กิญฺจาปิ เป็นนิบาตลงในอรรถว่าอนุเคราะห์และติเตียน. จริงอยู่ พระศาสดาเมื่อจะทรงอนุเคราะห์ (เมื่อถือเอา) ราชสมบัติ คือความเป็นอิสราธิบดีแห่งมหาทวีปทั้ง ๔ และเมื่อจะทรงติเตียนความเป็น คือการละอบายทั้ง ๔ ยังไม่ได้ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิ... แม้ก็จริง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า แห่งทวีปทั้ง ๔ ได้แก่ ทวีปใหญ่ ๔ มีทวีปพันหนึ่งเป็นบริวาร. บทว่า อิสฺสริยาธิปจฺจํ ความว่า เป็นอิสระ ความเป็นอธิบดี ชื่อว่าความเป็นใหญ่ ความเป็นอิสระ ความเป็นใหญ่ ชื่อว่าความเป็นอิสราบดี เพราะอรรถว่าไม่มีความแตกต่างกันในราชสมบัติ (ไม่มีการช่วงชิงหรือโค่นล้มราชสมบัติหนึ่ง). บทว่า กาเรตฺวา ได้แก่ ให้ราชสมบัติเห็นปานนี้เป็นไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก.... แม้ก็จริง. ผ้ามีชายหามิได้ ชื่อว่า นนฺตกานิ (ผ้าที่เศร้าหมอง) ในบทนั้น. ก็ผ้าสาฎกแม้ ๑๓ ศอกตั้งแต่ตัดชายผ้าออก ถึงการนับว่าผ้าไม่มีชายเหมือนกัน. บทว่า ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ได้แก่ ความเลื่อมใสอันไม่คลอนแคลน. บทว่า ก็ความเลื่อมใสนี้นั้น ความว่า ความเลื่อมใสอย่างหนึ่งมีหลายอย่างเทียว ก็ความเลื่อมใสที่มาถึงแล้วโดยมรรคนั้น ย่อมเกิดขึ้นไม่ก่อนไม่หลังในวัตถุเหล่าใด ด้วยอำนาจวัตถุเหล่านั้น ความเลื่อมใสนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ ๓ อย่างโดยนัยเป็นต้นว่า ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า. เพราะความเลื่อมใสอย่างเดียว เหตุนั้น ความเลื่อมใสนั้นย่อมเป็นเหตุให้น้อมไปต่างๆ กัน. จริงอยู่ อริยสาวกย่อมมีความเลื่อมใส ความรักและความเคารพในพระพุทธ คำเป็นต้นว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ดังนี้ ท่านให้พิสดารแล้วในปกรณ์วิเสสชื่อว่าวิสุทธิมรรคนั่นแล. บทว่า ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ความว่า ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายใคร่แล้ว คือเป็นที่ชอบใจเทียว เพราะว่า พระอริยบุคคลทั้งหลายไปแล้วระหว่างภพก็ไม่ทำให้ศีลห้ากำเริบ ท่านกล่าวแล้วอย่างนี้หมายเอาศีลห้าเหล่านั้น แม้ของพระอริยบุคคลเหล่านั้น. คำว่า ไม่ขาด เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วเช่นเดียวกันเทียว. ส่วนหนึ่งขาดที่ริม ท่านเรียกว่าขาดตามลำดับ. บทว่า ขาดทะลุในท่ามกลาง ความว่า ส่วนเหล่านั้นมีชนิดต่างกันในที่หนึ่ง. บทว่า ด่าง ได้แก่ มีลวดลายต่างๆ. บทว่า พร้อย ความว่า ศีลที่แตกในข้อต้น หรือที่สุดไปตามลำดับอย่างนี้ ชื่อขาด ที่แตกในท่ามกลาง ชื่อว่าทะลุ. ชื่อว่าด่าง เพราะขาดไปตามลำดับ ๒-๓ สิกขาบทในที่ใดที่หนึ่ง ที่ทำลายระหว่างสิกขาบทหนึ่ง ชื่อว่าพร้อย พึงทราบความที่ศีลไม่ขาดเป็นต้น เพราะไม่มีโทษเหล่านั้น. บทว่า เป็นไทย ได้แก่ โดยกระทำความเป็นไท. บทว่า วิญญูชนสรรเสริญ ความว่า อันวิญญูชนทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้ว. บทว่า อันตัณหาและทิฏฐิไม่ลูบคลำแล้ว ความว่า อันตัณหาและทิฏฐิไม่ลูบคลำอย่างนี้ว่า ความตรึกชื่อนี้ท่านทำแล้ว ความตรึกนี้ท่านทำแล้ว. บทว่า เป็นไปเพื่อสมาธิ ความว่า สามารถเพื่อให้อัปปนาสมาธิหรืออุปจารสมาธิเป็นไป. จบอรรถกถาราชสูตรที่ ๑ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค โสตาปัตติสังยุตต์ เวฬุทวารวรรคที่ ๑ ๑. ราชาสูตร จบ. |