ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 19 / 1อ่านอรรถกถา 19 / 1623อรรถกถา เล่มที่ 19 ข้อ 1625อ่านอรรถกถา 19 / 1627อ่านอรรถกถา 19 / 1786
อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค โสตาปัตติสังยุตต์ สัปปัญญวรรคที่ ๖
๓. ธรรมทินนสูตร

               อรรถกถาธรรมทินนสูตรที่ ๓               
               พึงทราบอธิบายในธรรมทินนสูตรที่ ๓.
               คำว่า ธรรมทินนะ ความว่า เป็นอุบาสกคนหนึ่งในบรรดาเจ็ดคน.
               ความพิสดารว่า ในครั้งพุทธกาล คนเจ็ดคนเหล่านี้ คือ ธรรมทินนอุบาสก ๑ วิสาขอุบาสก ๑ อุคคคฤหบดี ๑ จิตตคฤหบดี ๑ หัตถกะ ๑ อาฬวะ ๑ จุลลอนาถปิณฑิกะ ๑ เป็นผู้มีอุบาสกห้าร้อยเป็นบริวาร. ธรรมทินนะอุบาสกเป็นคนใดคนหนึ่ง บรรดาคนเจ็ดคนเหล่านั้น.
               บทว่า ลึกซึ้ง ได้แก่ คัมภีรธรรมมีสัลลสูตรเป็นต้น.
               บทว่า มีเนื้อความอันลึก ได้แก่ มีอรรถอันลึกซึ้งมีเปตวาสูตรเป็นต้น.
               บทว่า เป็นโลกุตระ ความว่า อันแสดงอรรถที่เป็นโลกุตระมีอสังขตสังยุตเป็นต้น.
               บทว่า ประกอบด้วยความว่าง ความว่า อันแสดงความว่างเปล่าแห่งสูตรมีขัชชนิกสูตรเป็นต้น.
               บทว่า จีกเข้าถึงอยู่ ความว่า จักได้เฉพาะอยู่.
               บทว่า ดูก่อนธรรมทินนะ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ ความว่า เธอทั้งหลายพึงบำเพ็ญจันโทปมปฏิปทา รถวินีตปฏิปทา โมเนยยปฏิปทา มหาอริยวังสปฏิปทา ศึกษาอยู่อย่างนี้.
               พระศาสดาทรงบอกภาระที่ไม่สามารถทนได้แก่อุบาสกเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.
               ได้ยินว่า อุบาสกเหล่านั้นดำรงอยู่ในภูมิของตนแล้ว ทูลขอโอวาท. ก็อุบาสกเหล่านั้นเป็นเหมือนสามารถยกภาวะทั้งปวงขึ้นโดยไม่แปลกกัน อ้อนวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงโอวาทพวกข้าพระองค์เถิด ดังนี้บ้าง เพราะเหตุนั้น พระศาสดาเมื่อจะตรัสบอกภาระที่ทนไม่ได้แก่พวกอุบาสกเหล่านั้น จึงตรัสแล้วอย่างนี้.
               คำว่า น โข ปเนตํ ตัดบทเป็น น โข เอตํ แปลว่า นั่นหามิได้แล.
               ก็ อักษรในคำว่า นโข ปเนตํ นั่น พึงทราบว่าเป็นเพียงพยัญชนะสนธิเท่านั้น.
               คำว่า ตสฺมา ความว่า เพราะฉะนั้น บัดนี้ ท่านทั้งหลายพึงขอโอวาทในภูมิของตนเถิด.

               จบอรรถกถาธรรมทินนสูตรที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค โสตาปัตติสังยุตต์ สัปปัญญวรรคที่ ๖ ๓. ธรรมทินนสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 19 / 1อ่านอรรถกถา 19 / 1623อรรถกถา เล่มที่ 19 ข้อ 1625อ่านอรรถกถา 19 / 1627อ่านอรรถกถา 19 / 1786
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=9712&Z=9739
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=8118
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=8118
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๕  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :