![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() การเห็นสิ่งที่ชื่อว่าเป็นข้าศึก คือเป็นศัตรู เพราะไม่อนุโลมตามคำสอน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเห็นสิ่งที่เป็นข้าศึก การฟ้อน การขับ การประโคมด้วยอำนาจการฟ้อนและการให้ผู้อื่นฟ้อนเป็นต้น และการดูซึ่งการฟ้อนเป็นต้นที่เป็นไปแล้ว แม้โดยที่สุดด้วยอำนาจการฟ้อนของนกยูงเป็นต้นอันเป็นข้าศึก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าการดูฟ้อนรำ ขับร้องและประโคมดนตรีที่เป็นข้าศึก. ก็การประกอบการฟ้อนเป็นต้นด้วยตนก็ดี การให้ผู้อื่นประกอบการฟ้อนเป็นต้นก็ดี การดูการฟ้อนที่เขาประกอบแล้วก็ดี ย่อมไม่ควรแก่ทั้งภิกษุ และภิกษุณี. ที่นอนที่เลยกำหนด ท่านเรียกว่าที่นอนสูง. เครื่องลาดที่ไม่สมควร ชื่อว่าที่นอนใหญ่. อธิบายว่า ผู้งดเว้นจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่. คำว่า ชาตรูป คือ ทอง. คำว่า เงิน ได้แก่ กหาปณะ. คนเหล่าใดถึงการกล่าวหา มาสกโลหะ มาสกยาง. คนเหล่านั้นเป็นผู้งัดเว้นจากการรับทองและเงินแม้ทั้งสองนั้น ย่อมไม่ถือเอาทองและเงินนั้น ไม่ให้คนอื่นถือเอา. อธิบายว่า ย่อมไม่ถือทองและเงินที่เก็บไว้แล้ว. คำว่า จากการรับธัญญชาติดิบ ความว่า จากการรับธัญญชาติดิบแม้ ๗ ชนิด คือ ข้าว ในคำว่า จากการรับเนื้อดิบ ความว่า เว้นจากการรับเนื้อที่ทรงอนุญาตไว้โดยเจาะจง การรับเนื้อและปลาดิบก็ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งนั้น ถึงการถูกต้องก็ไม่ควร. ในคำว่า จากการรับสตรีและกุมารี นั้น หญิงที่ไปในระหว่างชาย ชื่อว่าสตรี. หญิงนอกนี้ ชื่อว่ากุมารี. การรับสตรีและกุมารีเหล่านั้นก็ดี การถูกต้องก็ดี ไม่ควรทั้งนั้น. ในคำว่า จากการรับทาสีและทาส นี้ การรับหญิงและชายเหล่านั้นด้วยความเป็นทาสีและทาสก็ไม่ควรทั้งนั้น. ก็เมื่อเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายกัปปิยการก ข้าพเจ้าถวายคนวัด การรับนั้นย่อมควร. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สัจจสังยุตต์ อามกธัญญเปยยาล ตติยวรรคที่ ๙ จบ. |