![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ปัพพตวรรควรรณนาที่ ๑ อรรถกถาหิมวันตสูตรที่ ๑ บทว่า นาคา ความว่า นาคแม้เหล่านี้อยู่ระหว่างคลื่นบนหลังมหาสมุทร หาอยู่ในวิมานไม่. นาคเหล่านั้นมีกายเติบโตเป็นต้น เพราะอาศัยภูเขาหิมวันต์ ทั้งหมดพึงทราบโดยนัยอันกล่าวแล้วในหนหลัง. ในบทว่า โพชฺฌงฺเค นี้ ชื่อว่าโพชฌงค์เพราะเป็นองค์แห่งความตรัสรู้หรือองค์ของ บทว่า พุชฺฌติ มีอธิบายว่า พระอริยสาวกย่อมลุกขึ้นจากความหลับคือกิเลสสันดาน คือตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือย่อมกระทำนิพพานให้แจ้ง. สมดังที่ท่านกล่าวว่า๑- พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตรัสรู้แล้วซึ่งอนุตตร ____________________________ ๑- ที. ปา. เล่ม ๑๑/ข้อ ๗๔ สํ. มหา. เล่ม ๑๙/ข้อ ๗๓๑ ส่วนพระอริยสาวกเรียกว่าโพธิ เพราะอธิบายว่า ย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีนี้ มีประการตามที่กล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้. ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์ของผู้ตรัสรู้นั้นบ้าง เหมือนองค์แห่งเสนาและองค์แห่งรถเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์ของบุคคลผู้ตรัสรู้. ถามว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่าอย่างไร. ตอบว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่าย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ตาม เพราะอรรถว่าตรัสรู้เฉพาะ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ดี. พึงทราบอรรถแห่งโพชฌงค์แม้โดยนัยแห่งปฏิสัมภิทาเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้แล. ส่วนในบทเป็นต้นว่า สติสมฺโพชฺฌงฺคํ พึงทราบอรรถในบททั้งปวงอย่างนี้ว่า ชื่อว่าสัมโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งการตรัสรู้อันประเสริฐและดี สัมโพชฌงค์คือสติ ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์. ซึ่งสติสัมโพชฌงค์นั้น บทว่า ภาเวติ คือ ให้เจริญ. อธิบายว่า ย่อมให้เกิดคือย่อมให้บังเกิดบ่อยๆ ในจิตสันดานของตน. บททั้งหลายมีอาทิว่า วิเวกนิสฺสิตํ พึงทราบโดยนัยอันกล่าวแล้วในบทนี้ว่า ภิกษุย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิอาศัยวิเวกดังนี้ ในโกสลสังยุต. ส่วนความต่างกันดังนี้ ในโกสลสังยุตนั้น ท่านกล่าววิเวกไว้ ๓ อย่าง คืออาศัยตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก นิส ก็อาจารย์เหล่านั้นย่อมยกโพชฌงค์ขึ้นแสดงอย่างนี้ ในขณะแห่งพลววิปัสสนา มรรคและผลอย่างเดียวก็หามิได้ ย่อมยกขึ้นแสดงแม้ในกสิณฌาน อานาปานัสสติ อสุภกัมมัฏฐานและพรหมวิหารฌาน อันเป็นบาทของวิปัสสนา. อาจารย์บางพวกเหล่านั้นจึงไม่สำเร็จตามพระอรรถกถาจารย์ เพราะฉะนั้น ตามมติของท่านเหล่านั้น ในขณะแห่งความเป็นไปแห่งฌานเหล่านั้น ว่าโดยกิจ ฌานก็ยังอาศัย คำที่เหลือในสูตรนี้มีนัยตามที่กล่าวแล้วในหนหลังแล. จบอรรถกถาหิมวันตสูตรที่ ๑ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค โพชฌงคสังยุตต์ ปัพพตวรรคที่ ๑ ๑. หิมวันตสูตร จบ. |