บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า เอตทโวจ ความว่า พระอุทายีเถระ เมื่อจะทูลถามว่า ข้าพระองค์จักรู้ถึงเทสนาอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้จบลง ด้วยดำริว่า ภิกษุผู้ฉลาดในอนุสนธิ ชื่อว่าอุทายีเถระ นั่งอยู่ในบริษัทนี้มีอยู่ เธอจักถามเรา ดังนี้แล้ว สืบต่ออนุสนธิแห่งเทศนา จึงกราบทูลถามถึงข้อนั้น. บทว่า วิปุลํ เป็นต้น ตรัสหมายถึงสติสัมโพชฌงค์ที่เจริญดีแล้วทั้งหมด เพราะว่า สติสัมโพชฌงค์ที่เจริญดีแล้ว ไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ และชื่อว่าไม่มีความเบียดเบียน. สติสัมโพชฌงค์นั้นแล ชื่อว่าวิปุละ เพราะแผ่ไป. ชื่อว่ามหรคต เพราะถึงความเป็นใหญ่. ชื่อว่าอัปปมาณะ เพราะมีความเจริญหาประมาณมิได้. ชื่อว่าอัพยาปัชฌะ เพราะเว้นความพยาบาทโดยห่างไกลนิวรณ์ทั้งหลาย. บทว่า ตณฺหาย ปหานา กมฺมํ ปหียติ ความว่า กรรมอันใดมีตัณหาเป็นมูลพึงเกิดขึ้น ย่อมละกรรมนั้นได้เพราะการละตัณหา. บทว่า กมฺมสฺส ปหานา ทุกฺขํ ความว่า วัฏทุกข์ แม้อันใดมีกรรมเป็นมูล พึงเกิดขึ้น เพราะละกรรมได้ จึงละวัฏทุกข์นั้นได้. ชื่อว่าสิ้นตัณหาเป็นต้น เพราะสิ้นตัณหาเป็นต้นนั่นแหละ. แต่ว่าโดยความ พึงทราบว่า นิพพาน ท่านกล่าว เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาเหล่านั้น. จบอรรถกถาขยสูตรที่ ๖ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค โพชฌงคสังยุตต์ อุทายิวรรคที่ ๓ ๖. ขยสูตร จบ. |