![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า อพหุกโต แปลว่า ไม่กระทำให้มาก. ในบทว่า อุกฺกุชฺชาวกุชฺชํ นี้ท่านแสดงว่า พระอุทายีพิจารณาเปลี่ยนไปมาด้วยอำนาจความเกิดและความเสื่อม. ความเกิดเรียกว่า อุกกุชชะ. ความเสื่อมเรียกว่า อวกุชชะ. บทว่า ธมฺโม จ เม อภิสเมโต ได้แก่ วิปัสสนาธรรมอันข้าพระองค์บรรลุแล้ว. บทว่า มคฺโค คือ วิปัสสนามรรค. ก็ถ้าพระเถระเป็นโสดาบันในสมัยนั้น พึงทราบวิปัสสนานี้เพื่อประโยชน์แก่มรรคทั้งสามเบื้องบน ถ้าเป็นอนาคามี พึงทราบวิปัสสนานี้เพื่อประโยชน์แก่อรหัตมรรค. บทว่า ตถา ตถา วิหรนฺตํ ได้แก่ อยู่โดยอาการนั้นๆ. บทว่า ตถตฺตาย ได้แก่ เพื่อความเป็นอย่างนั้น. ด้วยบทเป็นต้นว่า ขีณา ชาติ ท่านประสงค์เอา ตถตฺตาย พระเถระแสดงความเป็นอย่างนั้น. ในข้อนี้มีอธิบายว่า พระเถระย่อมนำเอาธรรมนั้นเข้ามาเพื่อประโยชน์แก่การพิจารณา เมื่อท่านแสดงธรรมนั้น จึงกล่าวอย่างนี้. คำที่เหลือในบททั้งปวง มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล. จบอรรถกถาอุทายิสูตรที่ ๑๐ จบอุทายิวรรควรรณนาที่ ๓ ----------------------------------------------------- รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. โพธนสูตร ๒. เทสนาสูตร ๓. ฐานิยสูตร ๔. อโยนิโสสูตร ๕. อปริหานิยสูตร ๖. ขยสูตร ๗. นิโรธสูตร ๘. นิพเพธสูตร ๙. เอกธัมมสูตร ๑๐. อุทายิสูตร .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค โพชฌงคสังยุตต์ อุทายิวรรคที่ ๓ ๑๐. อุทายิสูตร จบ. |