บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อรรถกถาอุปกิเลสสูตรที่ ๓ บทว่า น จ ปภสฺสรํ ได้แก่ ไม่มีรัศมี. บทว่า ปภงฺคุ จ ได้แก่ มีการแตกทำลายเป็นสภาพ. บทว่า อโย ได้แก่ โลหะมีสีดำ. อธิบายว่า เว้นของ ๔ อย่างที่กล่าวไว้ในพระสูตรนี้ ที่เหลือชื่อว่า โลหะ. บทว่า สชฺฌุํ ได้แก่ เงิน. บทว่า จิตฺตสฺส ได้แก่ กุศลจิตที่เป็นไปในภูมิสี่. ถามว่า อุปกิเลสย่อมมีแก่จิตในภูมิสามจงยกไว้ก่อน อุปกิเลสของโลกุตรจิตมีได้อย่างไร. ตอบว่า ธรรมเหล่าใดย่อมไม่ให้อารมณ์อันเลิศเกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ ชื่อว่าเป็นอุปกิเลสของโลกิยจิตบ้าง ของโลกุตรจิตบ้าง ย่อมมี. บทว่า ปภงฺคุ จ ความว่า มีความแตกเป็นสภาพ โดยเข้าถึงความเป็นจุณวิจุณไปในอารมณ์. บทว่า อนาวรณา ได้แก่ ชื่อว่าอนาวรณา เพราะอรรถว่าไม่กั้นกุศลธรรม. บทว่า อนีวรณา ได้แก่ ชื่อว่าอนีวรณา เพราะอรรถว่าไม่ปกปิด. บทว่า เจตโส อนุปกฺกิเลสา ได้แก่ ไม่เป็นอุปกิเลสของจิตในภูมิสี่. จบอรรถกถาอุปกิเลสสูตรที่ ๓ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค โพชฌงคสังยุตต์ นิวรณวรรคที่ ๔ ๓. อุปกิเลสสูตร จบ. |