ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 19 / 1อ่านอรรถกถา 19 / 65อรรถกถา เล่มที่ 19 ข้อ 68อ่านอรรถกถา 19 / 70อ่านอรรถกถา 19 / 1786
อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค มัคคสังยุตต์ มิจฉัตตวรรคที่ ๓
๔. ปฏิปทาสูตรที่ ๒

               มิจฉัตตวรรคที่ ๓               
               อรรถกถามิจฉัตตสูตรเป็นต้น               
               พึงทราบวินิจฉัยในมิจฉัตตสูตรที่ ๑ แห่งมิจฉัตตวรรคที่ ๓.
               บทว่า มิจฺฉตฺตํ แปลว่า มีความผิดสภาวะ.
               บทว่า สมฺมตฺตํ แปลว่า มีความถูกเป็นสภาวะ.
               บทว่า มิจฺฉาปฏิปตฺตาธิกรณเหตุ แปลว่า เพราะเหตุแห่งการปฏิบัติผิด. อธิบายว่า เพราะเหตุทำการปฏิบัติผิด.
               บทว่า นาราธโก ได้แก่ ไม่ถึงพร้อม.
               บทว่า ญายํ ธมฺมํ ได้แก่ อริยมรรคธรรม.
               บทว่า มิจฺฉาญาณี ความว่า รู้ผิด คือพิจารณาผิด.
               บทว่า มิจฺฉาวิมุตฺติ ความว่า ไม่พ้นตามความจริง คือไม่ให้พ้นไปจากทุกข์.
               วัฏฏะและวิวัฏฏะ ในมรรค ๔ พระองค์ตรัสแล้วในพระสูตรที่ ๓ เป็นต้นเหล่านี้.
               ส่วนบุคคลที่ทรงถามธรรมที่ทรงจำแนกมีอยู่ในพระสูตรทั้ง ๒ สุดท้าย ในที่นั้น ทรงแสดงบุคคลโดยธรรมแล้วอย่างนี้.
               บทว่า สุปฺปวตฺติโย แปลว่า เป็นที่ตั้งแห่งความเป็นไปได้ง่าย. อธิบายว่า บุคคลย่อมยังจิตให้แล่นไปยังทิศอันปรารถนาและต้องการแล้วได้ฉันใด บุคคลก็ย่อมสามารถให้หม้อกลิ้งไปได้ฉันนั้น.
               บทว่า สอุปนิสํ สปริกฺขารํ ได้แก่ พร้อมทั้งปัจจัย พร้อมทั้งบริวาร.
               คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.

               จบอรรถกถามิจฉัตตสูตรเป็นต้น               
               จบอรรถกถามิจฉัตตวรรคที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. มิจฉัตตสูตร
                         ๒. อกุศลธรรมสูตร
                         ๓. ปฏิปทาสูตรที่ ๑
                         ๔. ปฏิปทาสูตรที่ ๒
                         ๕. อสัปปุริสสูตรที่ ๑
                         ๖. อสัปปุริสสูตรที่ ๒
                         ๗. กุมภสูตร
                         ๘. สมาธิสูตร
                         ๙. เวทนาสูตร
                         ๑๐. อุตติยสูตร.
               -----------------------------------------------------               
               อรรถกถาที่มีมาก่อนหน้านี้ :-
               อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค มัคคสังยุตต์ วิหารวรรคที่ ๒                ๘. กุกกุฏารามสูตรที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=56                อรรถกถาที่มีถัดจากนี้ :-
               อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค มัคคสังยุตต์ ปฏิปัตติวรรคที่ ๔                ๑. ปฏิปัตติสูตร http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=89

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค มัคคสังยุตต์ มิจฉัตตวรรคที่ ๓ ๔. ปฏิปทาสูตรที่ ๒ จบ.
อ่านอรรถกถา 19 / 1อ่านอรรถกถา 19 / 65อรรถกถา เล่มที่ 19 ข้อ 68อ่านอรรถกถา 19 / 70อ่านอรรถกถา 19 / 1786
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=403&Z=417
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๐  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :