![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า สูโท แปลว่า คนทำกับข้าว. บทว่า นานจฺจเยหิ คือ ต่างชนิด. อธิบายว่า ต่างอย่าง. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะนี้ก็เหมือนกัน. บทว่า อมฺพิลคฺเคหิ ได้แก่ มีส่วนเปรี้ยว. ในบททั้งปวงก็นัยนี้แล. บทว่า อภิหรติ ได้แก่ เหยียดมือออกเพื่อต้องการรับ. บทว่า พหุ ํ คณฺหาติ ความว่า เมื่อรับมากโดยรับครั้งเดียวก็ดี รับบ่อยๆ ก็ดี ก็ชื่อว่ารับมากอยู่นั่นเอง. บทว่า อภิหารานํ ความว่า รางวัลที่เขายกขึ้นร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งนำไป. บทว่า อุปกฺกิเลสา ได้แก่ นิวรณ์ ๕ อย่าง. บทว่า นิมิตฺตํ น อุคฺคณฺหาติ ความว่า ภิกษุย่อมไม่รู้ว่า กัมมัฏฐานนี้ของเราจดถึงอนุโลมญาณ หรือโคตรภูญาณแล้วดังนี้ ย่อมไม่สามารถจะจับนิมิตแห่งจิตของตนได้. ในพระสูตรนี้ พระองค์ตรัสสติปัฏฐานอันเป็นบุพภาควิปัสสนาแล. จบอรรถกถาสูทสูตรที่ ๘ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สติปัฏฐานสังยุตต์ อัมพปาลีวรรคที่ ๑ ๘. สูทสูตร จบ. |