ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 19 / 1อ่านอรรถกถา 19 / 754อรรถกถา เล่มที่ 19 ข้อ 758อ่านอรรถกถา 19 / 763อ่านอรรถกถา 19 / 1786
อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สติปัฏฐานสังยุตต์ นาฬันทวรรคที่ ๒
๙. เสทกสูตรที่ ๑

               อรรถกถาปฐมเสทกสูตรที่ ๙               
               พึงทราบวินิจฉัยในปฐมเสทกสูตรที่ ๙
               บทว่า ในนิคมชื่อสุมภะ ได้แก่ ในชนบทที่มีชื่ออย่างนี้.
               คำว่า เมทกถาลิกะ คือ ได้ชื่ออย่างนี้ด้วยอำนาจอิตถีลิงค์.
               ในบทว่า ท่านจงรักษาเรา เราจะรักษาท่าน นี้มีอธิบายว่า คนจัณฑาลนั้นมีลัทธิว่า อาจารย์เมื่อไม่จับเอาไม้ไผ่ ที่ลูกศิษย์ยกขึ้นแล้ว จับไว้ให้ดี ไม่ไปทิศที่แล่นไปแล้วๆ และไม่แลดูปลายไม้ไผ่ตลอดเวลาทั้งหมดชื่อว่าไม่รักษาลูกศิษย์. ลูกศิษย์ที่อาจารย์ไม่รักษาแล้วอย่างนี้ตกไปย่อมแหลกละเอียด. แต่ว่า อาจารย์จับไม้ไผ่ไว้อย่างดี ไปตามทิศที่ลูกศิษย์แล่นไปๆ นั้น และตรวจดูปลายไม้ไผ่ตลอดเวลาทั้งหมด ชื่อว่าย่อมรักษาศิษย์นั้น. แม้ลูกศิษย์ที่ไต่ไปข้างโน้นข้างนี้ เหนื่อยเหมือนเนื้อวิ่งไปอยู่ ก็ชื่อว่าไม่รักษาอาจารย์. เพราะว่าเมื่อเป็นอย่างนี้ ปลายไม้ไผ่ที่คมกล้า ที่วางไว้บนพื้นหรือบนหน้าผากอาจารย์ ก็จะพึงทำลายที่อาจารย์นั้นแล้วไป ไม้ไผ่ก็จะไม่โอนไปเพราะครบอาการ ศิษย์เมื่อไม่เอนไปข้างนั้น เหมือนดึงไม้ไผ่นั้นมาแบ่งออกเป็นส่วนจากส่วนหนึ่ง แล้วให้จับเสาค้ำธาตุ ตั้งสติมั่น นั่งไม่ไหวทีเดียว ย่อมรักษาอาจารย์. คำว่า อาจารย์ ขอท่านจงรักษาตน กระผมก็จะรักษาตน ในคำนี้มีอธิบายนี้ดังว่ามานี้แล.
               อาจารย์ เมื่อจับไม้ไผ่ให้มั่นดี ไปตามทิศที่ศิษย์ไต่ไปๆ และตรวจดูปลายไม้ไผ่ตลอดเวลาทั้งหมด ชื่อว่ารักษาตนนั่นเทียว ไม่ชื่อว่ารักษาศิษย์.
               ฝ่ายศิษย์แบ่งกายให้เป็นส่วนๆ จากส่วนหนึ่ง แล้วให้เสาค้ำธาตุ ตั้งสติมั่นดี นั่งนิ่ง ชื่อว่ารักษาตนทีเดียว ไม่ชื่อว่ารักษาอาจารย์.
               บทว่า กายนั้นในนั้น ความว่า ศิษย์ชื่อว่าเมทกถาลิกะกล่าวอุบายใดกะอาจารย์ อุบายนั้น เหตุนั้นก็ใช้ได้ในเหตุนั้น.
               บทว่า พึงเสพสติปัฏฐาน ความว่า เพื่อเสพสติปัฏฐาน ๔.
               บทว่า ด้วยการซ่องเสพ ความว่า ด้วยการเสพกรรมฐาน.
               คำว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรักษาตน ชื่อว่ารักษาผู้อื่นอย่างนี้ ความว่า ภิกษุใดละกามราคะเป็นต้น เสพมูลกรรมฐานทั้งในที่พักกลางคืนและกลางวัน ย่อมบรรลุพระอรหัต. ทีนั้น คนอื่นเห็นเธอเข้า คิดว่า ภิกษุนี้ช่างดีแท้หนอ เป็นผู้ปฏิบัติชอบ แล้วยังจิตให้เลื่อมใสในภิกษุนั้น ครั้นตายไปก็ไปสวรรค์ บุคคลนี้เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาคนอื่นด้วย.
               คำว่า ด้วยความอดทน ได้แก่ ด้วยความอดทน คือความอดกลั้น.
               คำว่า ด้วยความไม่เบียดเบียน คือ ด้วยความสงสารที่เป็นไปกับส่วนเบื้องต้น.
               คำว่า ด้วยความเป็นผู้มีจิตที่ประกอบด้วยความหวังดี คือ ด้วยความรักที่เป็นไปกับส่วนเบื้องต้น.
               คำว่า ด้วยความเอ็นดู หมายถึง ด้วยความบันเทิงอันเป็นไปกับส่วนเบื้องต้นแห่งความค่อยๆ เจริญ.
               ในคำว่า เมื่อรักษาคนอื่นก็ชื่อว่ารักษาตน นี้มีอธิบายว่า
               ภิกษุไปสู่ที่พักกลางคืนหรือที่พักกลางวันแล้ว ทำฌานหมวดสามหรือหมวดสี่ในพรหมวิหารให้เกิดแล้ว เอาฌานเป็นที่รองรับมาพิจารณาสังขาร เจริญวิปัสสนาจนได้เป็นพระอรหันต์นี้ ก็พึงทราบว่า เมื่อรักษาคนอื่นก็ชื่อว่ารักษาตนด้วย.

               จบอรรถกถาปฐมเสทกสูตรที่ ๙               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สติปัฏฐานสังยุตต์ นาฬันทวรรคที่ ๒ ๙. เสทกสูตรที่ ๑ จบ.
อ่านอรรถกถา 19 / 1อ่านอรรถกถา 19 / 754อรรถกถา เล่มที่ 19 ข้อ 758อ่านอรรถกถา 19 / 763อ่านอรรถกถา 19 / 1786
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=4454&Z=4479
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=6564
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=6564
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๕  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :