![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() คำว่า นางงามในชนบท หมายถึง นางที่งามที่สุดในชนบท ซึ่งเว้นจากโทษประจำตัว ๖ อย่าง แล้วประกอบด้วยความงาม ๕ อย่าง. ก็เพราะนางนั้นไม่สูงนัก ไม่เตี้ยนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนัก ผิวพรรณแม้จะไม่ถึงทิพย์ แต่ก็เกินผิวพรรณมนุษย์ด้วยกัน ฉะนั้น จึงจัดว่าปราศจากโทษประจำตัว ๖ อย่าง. และเพราะประกอบด้วยความงามเหล่านี้ คือ ผิวงาม เนื้องาม เล็บงาม๑- (นหารุกลฺยาณํ) กระดูกงาม วัยงาม จึงชื่อว่าประกอบด้วยความงาม ๕ อย่าง. นางไม่ต้องใช้แสงสว่างจรมาเลยด้วยแสงสว่างประจำตัวของตนนั่นแหละ ก็ทำให้สว่างในที่มีระยะ ๑๒ ศอก เป็นผิวที่เหมือนกับดอกประยงค์ หรือเหมือนกับทองคำ นี้เป็นความงามแห่งผิวของนาง. ส่วนมือเท้าทั้ง ๔ และริมฝีปากของนางนั้นเล่าก็คล้ายกับทาด้วยชาด เหมือนแก้วประพาฬแดงหรือผ้ากัมพลแดง นี้คือความงามแห่งเนื้อของนาง. ส่วนกลีบเล็บทั้ง ๒๐ นั้นเล่าในที่ที่ไม้พ้นจากเนื้อ ก็คล้ายกับเอาชาดมาทาไว้ ที่พ้นจากเนื้อแล้วก็เหมือนกับธารน้ำนม นี้คือความงามแห่งเล็บของนาง. ที่ฟัน ๓๒ ซี่ซึ่งงอกขึ้นมานั้นเล่า ก็ปรากฏคล้ายเอาเพชรที่เจียระไนแล้วมาเรียงเป็นแถวไว้ นี้คือความงามแห่งกระดูกของนาง. และต่อให้มีอายุถึง ๑๒๐ ปีก็ยังสาวพริ้งเหมือนอายุแค่ ๑๖ ปี ผมไม่มีหงอกเลย นี้คือความงามแห่งวัยของนาง. ____________________________ ๑- คำว่า นหารุกลฺยาณํ นี้ อรรถกถาอธิบายเรื่องเล็บ ไม่ได้อธิบายเรื่องเอ็นเลย จึงแปลว่าเล็บงาม ไม่ใช่เอ็นงามตามศัพท์ อรรถกถาอุทาน นันทวรรค นันทสูตรที่ ๒ หน้า ๒๑๒ แก้ว่า ฉวิกลฺยาณํ มํสกลฺยาณํ นขกลฺยาณํ (เล็บงาม) อฏฺฐิกลฺยาณํ วยกลฺยาณํ. สำหรับในคำว่า มีกระแสเสียงไพเราะอย่างยิ่ง นี้หมายความว่า กระแสเสียงไหลเอื่อยไป กระแสเสียงนั้นไพเราะอย่างยิ่ง ที่ชื่อว่ามีกระแสเสียงไพเราะอย่างยิ่ง ก็เพราะนางมีกระแสเสียงที่ไพเราะอย่างยิ่งนั้น. มีคำที่ท่านขยายความว่า นางมีความประพฤติสูงสุด มีกิริยาประเสริฐ ในการรำและการร้อง ย่อมรำท่ารำที่สูงที่สุด หรือถ้าจะร้อง ก็ร้องแต่เพลงชั้นสูงที่สุดเท่านั้น. คำที่เหลือในทุกบท มีใจความตื้นทั้งนั้น. ก็และวิปัสสนาแรกเริ่มเป็นอันตรัสไว้แล้วในสูตรทั้งสองนี้ ด้วยประการฉะนี้แล. จบอรรถกถาทุติยเสทกสูตรที่ ๑๐ จบอรรถกถานาฬันทวรรคที่ ๒ ----------------------------------------------------- รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. มหาปุริสสูตร ๒. นาฬันทสูตร ๓. จุนทสูตร ๔. เจลสูตร ๕. พาหิยสูตร ๖. อุตติยสูตร ๗. อริยสูตร ๘. พรหมาสูตร ๙. เสทกสูตรที่ ๑ ๑๐. เสทกสูตรที่ ๒ .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สติปัฏฐานสังยุตต์ นาฬันทวรรคที่ ๒ ๑๐. เสทกสูตรที่ ๒ จบ. |