ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 19 / 1อ่านอรรถกถา 19 / 870อรรถกถา เล่มที่ 19 ข้อ 876อ่านอรรถกถา 19 / 878อ่านอรรถกถา 19 / 1786
อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อินทริยสังยุตต์ มุทุตวรรคที่ ๒
๒. สังขิตตสูตรที่ ๑

               อรรถกถาปฐมสังขิตตสูตรที่ ๒               
               ปฐมสังขิตตสูตรที่ ๒. คำว่า ตโต คือ พึงทราบความคละปนกันด้วยอำนาจวิปัสสนา มรรคและผล.
               จริงว่า ปัญญินทรีย์ที่สมบูรณ์เต็มที่แล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นวิปัสสนินทรีย์ของอรหัตมรรค.
               คำว่า ตโต มุทุตเรหิ คือ ที่อ่อนกว่าวิปัสสนินทรีย์ของอรหัตมรรคเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นวิปัสสนินทรีย์ของอนาคามิมรรค. ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของสกทาคามิมรรค. ที่อ่อนกว่านั้น ชื่อว่าเป็นวิปัสสนินทรีย์ของโสดาปัตติมรรค. อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของธัมมานุสาริมรรค ที่อ่อนกว่านั้น ชื่อว่าเป็นวิปัสสนินทรีย์ของสัทธานุสาริมรรค.
               ปัญญินทรีย์ที่สมบูรณ์เต็มที่อย่างนั้น ชื่อว่าเป็นอินทรีย์ของอรหัตมรรคและอรหัตผล. ที่อ่อนกว่านั้น ชื่อว่า เป็นอินทรีย์ของอนาคามิมรรค สกทาคามิมรรคและโสดาปัตติมรรค. ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของธัมมานุสาริมรรค. ที่อ่อนกว่านั้น ชื่อว่า เป็นอินทรีย์ของสัทธานุสาริมรรค. อินทรีย์ทั้งห้าที่สมบูรณ์เต็มที่ ชื่อว่าเป็นอินทรีย์ของอรหัตผล. ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของอนาคามิผล. ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของสกทาคามิผล. ที่อ่อนกว่านั้น ชื่อว่า เป็นอินทรีย์ของโสดาปัตติผล.
               ส่วนธัมมานุสารีและสัทธานุสารี แม้ทั้งสองก็คือบุคคลผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติมรรค ด้วยอำนาจแห่งบุคคลผู้ดำรงอยู่ในมรรคแล้ว จะทราบความแตกต่างของบุคคลทั้งสองนั้นไม่ได้ เพราะด้วยการบรรลุบ้าง ด้วยมรรคบ้าง สัทธานุสารีบุคคลที่กำลังให้เรียนอุเทศ สอบถามอยู่ ย่อมจะบรรลุมรรคโดยลำดับ. ธัมมานุสารีบุคคลย่อมบรรลุด้วยมรรคด้วยการฟังเพียงครั้งเดียว หรือสองครั้งเท่านั้น พึงเข้าใจความแตกต่างในการบรรลุของธัมมานุสารีบุคคลและสัทธานุสารีบุคคลเหล่านั้น อย่างนี้ก่อน.
               สำหรับของธัมมานุสารีบุคคล มรรคเป็นของกล้าแข็ง ย่อมนำไปสู่ญาณที่แกล้วกล้า ย่อมตัดกิเลส ด้วยไม่ต้องมีใครมากระตุ้น ไม่ต้องใช้ความเพียร เหมือนใช้คมดาบที่คมกริบ ตัดต้นกล้วยฉะนั้น.
               ส่วนมรรคของสัทธานุสารีบุคคลไม่กล้าแข็งเหมือนธัมมานุสารีบุคคล ไม่นำไปสู่ญาณที่แกล้วกล้า ย่อมตัดกิเลสโดยต้องมีคนมากระตุ้น ไม่ต้องใช้ความเพียร เหมือนใช้ดาบที่ทื่อตัดต้นกล้วยฉะนั้น.
               แต่ในเรื่องการสิ้นกิเลสแล้ว ท่านเหล่านั้นไม่มีความแตกต่างกันเลย และเหล่ากิเลสที่เหลือ ก็ย่อมจะสิ้นไป (เหมือนกัน).

               จบอรรถกถาปฐมสังขิตตสูตรที่ ๒               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อินทริยสังยุตต์ มุทุตวรรคที่ ๒ ๒. สังขิตตสูตรที่ ๑ จบ.
อ่านอรรถกถา 19 / 1อ่านอรรถกถา 19 / 870อรรถกถา เล่มที่ 19 ข้อ 876อ่านอรรถกถา 19 / 878อ่านอรรถกถา 19 / 1786
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=5222&Z=5232
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=6750
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=6750
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๕  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :