ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 145อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 149อ่านอรรถกถา 2 / 153อ่านอรรถกถา 2 / 881
อรรถกถา นิสสัคคิยกัณฑ์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๕

               นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๕               
               พรรณนาจีวรอัจฉินทนสิกขาบท               
               จีวรอัจฉินทนสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป :-
               ในจีวรอัจฉินทนสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
               หลายบทว่า ยํปิ ตฺยาหํ ตัดบทเป็น ยํปิ เต อหํ แปลว่า เราได้ให้จีวรแม้ใดแก่ท่าน. ได้ยินว่า พระอุปนนท์นั้นคิดว่า ภิกษุนี้จักนำบาตร จีวร รองเท้าและผ้าปูนอนเป็นต้นของเรา ไปสู่ที่จาริกกับเรา จึงได้ให้แล้ว เพราะเหตุนั้นแล เธอจึงได้กล่าวอย่างนั้น.

               [ว่าด้วยการชิงคืน ของภิกษุผู้ให้จีวร]               
               บทว่า อจฺฉินฺทิ แปลว่า ได้ถือเอาแล้วโดยพลการ.
               แต่เพราะถือเอาด้วยสำคัญว่าของตน จึงไม่เป็นปาราชิกแก่เธอ. เพราะเธอทำให้ลำบากแล้วถือเอาจีวร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงบัญญัติอาบัติไว้.
               ข้อว่า สยํ อจฺฉินฺทติ นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ มีความว่า สำหรับภิกษุผู้ชิงเอาจีวรผืนเดียว และมากผืนซึ่งเนื่องเป็นอันเดียวกัน เป็นอาบัติตัวเดียว. เมื่อภิกษุชิงเอาจีวรมากผืนซึ่งไม่เนื่องเป็นอันเดียวกัน และตั้งอยู่แยกกัน และเมื่อใช้ให้ผู้อื่นนำมาให้โดยสั่งอย่างนี้ว่า เธอจงนำสังฆาฏิมา, จงนำผ้าอุตราสงค์มา เป็นอาบัติมากตัวตามจำนวนวัตถุ. แม้เมื่อกล่าวว่า เธอจงนำจีวรทั้งหมดที่เราให้แล้วคืนมา ก็เป็นอาบัติจำนวนมาก เพราะคำพูดคำเดียวนั่นแล.
               ข้อว่า อญฺญํ อาณาเปติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า สั่งว่า เธอจงถือเอาจีวร เป็นทุกกฏตัวเดียว. ภิกษุผู้รับสั่งถือจีวรหลายตัว ก็เป็นปาจิตตีย์ตัวเดียว. เมื่อภิกษุกล่าวว่า เธอจงเอาสังฆาฏิมา, จงเอาอุตราสงค์มา เป็นทุกกฏทุกๆ คำพูด. เมื่อกล่าวว่า เธอจงเอาจีวรที่เราให้ทั้งหมดคืนมา เป็นอาบัติจำนวนมาก เพราะคำพูดคำเดียว.
               สองบทว่า อญฺญํ ปริกฺขารํ มีความว่า บริขารอย่างใดอย่างหนึ่ง เว้นจีวรอย่างเล็กที่ควรจะวิกัปได้ โดยที่สุดแม้แต่เข็ม. แม้ในจำพวกเข็มที่ห่อเก็บไว้ ก็เป็นทุกกฏหลายตัวตามจำนวนวัตถุ. ในเข็มที่ห่อไว้หลวมๆ (ก็เป็นทุกกฏมากตัวตามจำนวนวัตถุ) อย่างนั้นเหมือนกัน.
               ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวว่า ก็ในเข็มทั้งหลายที่เขามัดไว้แน่นเป็นทุกกฏตัวเดียวเท่านั้น. แม้ในเข็มที่เขาใส่ไว้ในกล่องเข็ม ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. ถึงแม้ในเภสัชมีเครื่องเผ็ดร้อน ๓ ชนิดที่เขาใส่ไว้ในถุงย่ามมัดไว้หย่อน และมัดไว้แน่น ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.

               [อธิบายการคืนให้แก่เจ้าของเดิมแห่งภิกษุผู้รับไป]               
               จีวรนี้สมควรแก่ท่านเท่านั้น ดังนี้ ก็ดี. อีกอย่างหนึ่ง ก็ภิกษุหนุ่มนั้นถูกพระเถระนั้น กล่าวถ้อยคำมีอาทิอย่างนี้ว่า คุณ! เราได้ให้จีวรแก่เธอ ด้วยหวังว่า จักทำวัตรและปฏิบัติ จักถืออุปัชฌาย์ จักเรียนซึ่งธรรมในสำนักของเรา มาบัดนี้ เธอนั้นไม่กระทำวัตร ไม่ถืออุปัชฌาย์ ไม่เรียนธรรม ดังนี้ จึงให้คืนว่า ท่านขอรับ! ดูเหมือนท่านพูดเพื่อต้องการจีวร นี้จีวรของท่าน. ภิกษุผู้รับไปนั้น ให้คืนแม้ด้วยอาการอย่างนี้ก็ดี.
               ก็หรือว่าพระเถระกล่าวถึงภิกษุหนุ่มผู้หลีกไปสู่ทิศว่า พวกท่านจงให้เธอกลับ เธอไม่กลับ. พระเถระสั่งว่า พวกท่านจงยึดจีวรกันไว้ ถ้าอย่างนี้ เธอกลับเป็นการดี. ถ้าเธอกล่าวว่า พวกท่านดูเหมือนจะพูด เพื่อต้องการบาตรและจีวร, พวกท่านจงรับเอามันไปเถิด แล้วให้คืน. แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าภิกษุผู้รับไปนั้นให้คืนเองก็ดี.
               อนึ่ง พระเถระเห็นเธอสึกแล้วกล่าวว่า เราได้ให้บาตรและจีวรแก่เธอด้วยหวังว่า จักกระทำวัตร บัดนี้ เธอนั้นก็สึกไปแล้ว. ฝ่ายภิกษุหนุ่มที่สึกไปพูดว่า ขอท่านโปรดรับเอาบาตรและจีวรของท่านไปเถิด แล้วให้คืน. แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าภิกษุผู้รับไปนั้นนั่นแล ให้คืนเองก็ดี. แต่จะให้ด้วยกล่าวอย่างนี้ว่า เราให้แก่เธอผู้ถืออุปัชฌาย์ในสำนักของเราเท่านั้น เราไม่ให้แก่ผู้ถืออุปัชฌาย์ในที่อื่น, เราให้เฉพาะแก่ผู้กระทำวัตร, ไม่ให้แก่ผู้ไม่กระทำวัตร เราให้แก่ผู้เรียนธรรมเท่านั้นไม่ให้แก่ผู้ไม่เรียน เราให้แก่ผู้ไม่สึกเท่านั้น ไม่ให้แก่ผู้สึก ดังนี้ ไม่ควร. เป็นทุกกฏแก่ผู้ให้. แต่จะใช้ให้นำคืนมา ควรอยู่.
               ภิกษุผู้ชิงเอาจีวรที่ตนสละให้แล้วคืนมา พระวินัยธรพึงปรับตามราคาสิ่งของ.
               คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้นแล.
               สิกขาบทนี้มี ๓ สมุฏฐาน ย่อมเกิดทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ฉะนี้แล.

               จีวรอัจฉินทนสิกขาบท จบ.               
               ------------------------------------------------------------               

.. อรรถกถา นิสสัคคิยกัณฑ์ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๕ จบ.
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 145อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 149อ่านอรรถกถา 2 / 153อ่านอรรถกถา 2 / 881
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=2&A=3771&Z=3894
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=5648
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=5648
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๖  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๕๕
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :