ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 358อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 368อ่านอรรถกถา 2 / 374อ่านอรรถกถา 2 / 881
อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์
ปาจิตติย์ ภูตคามวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๓

               เสนาสนวรรค อุชฌาปนสิกขาบทที่ ๓               
               พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

               [แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องพระทัพพมัลลบุตร]               
               หลายบทว่า ทพฺพํ มลฺลปุตฺตํ ภิกฺขู อุชฺฌาเปนฺติ มีความว่า พวกภิกษุเมตติยะและภุมมชกะ เมื่อกล่าวคำเป็นต้นว่า ฉนฺทาย ทพฺโพ มลฺลปุตฺโต (พระทัพพมัลลบุตรจัดเสนาสนะโดยฉันทาคติ) ดังนี้ ชื่อว่ายังภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นให้ดูหมิ่น คือให้มองดูท่านทัพพะนั้นด้วยความดูหมิ่น.
               อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ย่อมให้คิดไปทางลามก ก็ในคำว่า อุชฺฌายนฺติ นี้ พึงทราบลักษณะ (แห่งศัพท์) ตามแนวแห่งคัมภีร์ศัพทศาสตร์. ปาฐะว่า โอชฺฌาเปนฺติ ดังนี้ ก็มี. ความก็อย่างนี้เหมือนกัน.
               บทว่า ฉนฺทาย ได้แก่ โดยความชอบพอกัน คือโดยตกเข้าเป็นฝักฝ่ายกัน. อธิบายว่า ย่อมจัดแจงเสนาสนะที่ประณีต เพื่อพวกภิกษุผู้เป็นเพื่อนเห็นเพื่อนคบกันของตน ด้วยความชอบพอกันนั้น.
               บทว่า ขิยฺยนฺติ คือ พวกภิกษุเมตติยะและภุมมชกะ เมื่อกล่าวคำว่า ฉนฺทาย ทพฺโพ มลฺลปุตฺโต เป็นต้น ชื่อว่า ย่อมประกาศ.
               ในคำว่า อุชฺฌาปนเก ขิยฺยนเก ปาจิตฺติยํ นี้มีวินิจฉัยว่า พวกภิกษุเมตติยะและภุมมชกะย่อมให้โพนทะนาด้วยคำใด คำนั้นชื่อว่าอุชฌาปนกะ. และบ่นว่าด้วยคำใด คำนั้นชื่อว่าขิยยนกะ. ในเพราะความเป็นผู้ให้โพนทะนา ในเพราะความเป็นผู้บ่นว่านั้น.
               ด้วยบท ปาจิตฺติยํ พระผู้มีพระภาคเจ้าปรับปาจิตตีย์ ๒ ตัว ใน ๒ วัตถุ.
               บทเหล่านี้ว่า อุชฺฌาปนกํ นาม อุปสมฺปนฺนํ สงฺเฆน สมฺมตํ เสนาสนปญฺญาปกํ วา ฯปฯ อปฺปมตฺตกวิสฺสชฺชกํ วา ดังนี้ เชื่อมความกับบทว่า มงฺกุกตฺตุกาโม (มีความประสงค์จะทำให้อัปยศ) นี้.
               ด้วยอำนาจแห่งบทเหล่านี้ว่า อวณฺณํ กตฺตุกาโม อยสํ กตฺตุกาโม บัณฑิตพึงกระทำการเปลี่ยนวิภัตติในบทว่า อุปสมฺปนฺนํ เป็นต้น อย่างนี้ว่า อุปสมฺปนฺนสฺส ดังนี้.
               ก็เพราะในคำว่า อุชฺฌาเปติ วา ขิยฺยติ วา อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ทรงยกบทมาติกาขึ้นอย่างนี้ว่า ขียนกํ นาม ดังนี้แล้ว จะพึงตรัสวิภังค์ที่ตรัสแล้วนั้นแหละ แห่งบทว่า อุชฺฌาปนกํ นาม นี้ (แต่) ความแปลกันอย่างอื่น (ในสิกขาบทนี้) ไม่มี เหมือนในอัญญวาทสิกขาบท เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงยกขึ้น ทั้งไม่ทรงแจกบทมาติกานั้น แยกไว้ต่างหาก ทรงทำคำนิคมเท่านั้นไว้รวมกัน.
               ในคำเป็นต้นว่า ธมฺมกมฺเม ธมฺมกมฺมสญฺญี นี้ บัณฑิตพึงทราบใจความโดยนัยนี้ว่า สมมติกรรมใด สงฆ์ทำแล้วเพื่ออุปสัมบันนั้น, ถ้ากรรมนั้นเป็นกรรมชอบธรรม และภิกษุนั้นมีความสำคัญในกรรมนั้นว่ากรรมชอบธรรม ย่อมทำการโพนทะนาและบ่นว่า. ลำดับนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้โพนทะนาและบ่นว่านั้น.
               ในคำว่า อนุปสมฺปนฺนํ อุชฺฌาเปติ วา ขิยฺยติ วา มีเนื้อความว่า ภิกษุย่อมยังอนุปสัมบันอื่นให้โพนทะนา อุปสัมบันผู้อันสงฆ์สมมติแล้ว หรือให้ดูหมิ่นก็ดี บ่นว่าเธอในสำนักแห่งอนุปสัมบันนั้นก็ดี.
               คำว่า อุปสมฺปนฺนํ สงฺเฆน อสมฺมตํ มีความว่า ผู้อันสงฆ์มิได้สมมติด้วยกรรมวาจา คือผู้อันสงฆ์ยกภาระให้ว่า นี้เป็นภาระของท่านอย่างเดียว หรือว่าผู้นำภาระนั้นไปด้วยตนเอง เพื่อต้องการความอยู่สบายของภิกษุทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า (ย่อมให้โพนทะนาอุปสัมบัน) ผู้กระทำกรรมเช่นนั้น ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ ๒-๓ รูป.
               ก็การให้สมมติ ๑๓ อย่าง แก่อนุปสัมบันย่อมไม่ควร แม้โดยแท้, ถึงอย่างนั้น อนุปสัมบันผู้ได้รับสมมติในคราวเป็นอุปสัมบัน ภายหลังตั้งอยู่ในความเป็นอนุปสัมบัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาอนุปสัมบันนั้นว่า หรือผู้อันสงฆ์สมมติ ในคำว่า อนุปสมฺปนฺนํ สงฺเฆน สมฺมตํ วา อสมฺมตํ วา นี้. แต่สงฆ์หรือภิกษุที่สงฆ์สมมติ มอบภาระแก่สามเณรรูปใดผู้ฉลาดอย่างเดียวว่า เธอจะกระทำกรรมนี้ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงสามเณรเช่นนั้นว่า หรือผู้อันสงฆ์ไม่ได้สมมติ.
               บทที่เหลือตื้นทั้งนั้น.
               สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้น ทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.

               อุชฌาปนสิกขาบทที่ ๓ จบ.               
               ------------------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ ภูตคามวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๓ จบ.
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 358อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 368อ่านอรรถกถา 2 / 374อ่านอรรถกถา 2 / 881
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=2&A=8724&Z=8798
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=6942
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=6942
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๕๕
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :