บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องภิกษุหลายรูป] สองบทว่า กายํ โอตาเปนฺตา ได้แก่ นั่งบนเตียงและตั่งเป็นต้นแล้ว ผิงกายด้วยแดดอ่อนอยู่. สองบทว่า กาเล อาโรเจติ ได้แก่ เมื่อเขาบอกเวลาแห่งอาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง มียาคูและภัตเป็นต้น. สองบทว่า โอวุฏฺฐํ โหติ ได้แก่ ถูกฝนหิมะตกชะเปียก. บทว่า อวสฺสิกสงฺเกเต มีความว่า ตลอด ๘ เดือน คือ ๔ เดือนในฤดูเหมันต์ ๔ เดือนในฤดูคิมหันต์ ที่มิได้บัญญัติอย่างนี้ว่า เดือนทั้งหลายแห่งฤดูฝน. บทว่า มณฺฑเป ได้แก่ ในปะรำทำด้วยกิ่งไม้ หรือในปะรำทำด้วยไม้เลียบ. บทว่า รุกฺขมูเล วา ได้แก่ ภายใต้แห่งต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่ง. [ว่าด้วยสถานที่ควรเก็บเตียงตั่ง] เพราะพระบาลีว่า อฏฺฐ มาเส ดังนี้ ในชนบทเหล่าใด ฝนไม่ตกในฤดูฝน, แม้ในชนบทเหล่านั้นจะเก็บไว้ตลอด ๔ เดือน ก็ไม่ควรเหมือนกัน. เพราะพระบาลีว่า อวสฺสิกสงฺเกเต ดังนี้ ในชนบทเหล่าใด ฝนตกในฤดูเหมันต์ ในชนบทเหล่านั้นจะเก็บไว้ในที่แจ้ง แม้ในฤดูเหมันต์ ก็ไม่ควร. ส่วนในฤดูคิมหันต์ ท้องฟ้าบริสุทธิ์ปราศจากเมฆในที่ทั่วไป, ในเวลาเช่นนี้จะเก็บเตียงและตั่งไว้ในที่แจ้ง ด้วยกรณีจำเป็นบางอย่าง ย่อมควร. แม้ภิกษุผู้ถืออัพโภกาสิกธุดงค์ ก็ควรรู้วัตร. จริงอยู่ ถ้าเธอมีเตียงส่วนบุคคล ก็พึงนอนบนเตียงส่วนบุคคลนั่นแล เมื่อจะถือเอาเตียงของสงฆ์ พึงถือเอาเตียงที่ถักด้วยหวายหรือด้วยปอ. เมื่อเตียงถักด้วยหวายหรือด้วยปอนั้น ไม่มี พึงถือเอาเตียงเก่า. เมื่อเตียงเก่านั้นไม่มี พึงถือเอาเตียงที่ถักใหม่ๆ หรือที่บุด้วยหนัง, ก็แล ครั้นถือเอาแล้ว คิดว่า เราจะถือรุกขมูลอย่างเคร่ง ถืออัพโภกาสอย่างเคร่ง ดังนี้ แล้วไม่ทำแม้ซึ่งกุฎีจีวร (เพดานทำด้วยจีวร) จัดตั้งเตียงตั่งนั้นในที่แจ้ง หรือที่โคนไม้ แล้วนอนในคราวที่มิใช่สมัย ย่อมไม่ควร. ก็ถ้าว่า ภิกษุไม่อาจเพื่อจะรักษากุฎีที่ทำด้วยจีวรแม้ตั้ง ๔ ชั้น ไม่ให้เปียกได้, มีฝนตกพรำตลอด ๗ วัน, (จะจัดตั้งเตียงน้อยนอน) ก็ควร เพราะเตียงนอนเป็นไปตามร่างกายของภิกษุ. พวกมนุษย์มีจิตเลื่อมใสในสีลสัมปทาของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในกระท่อมใบไม้ในป่า จึงถวายเตียงและตั่งใหม่กล่าวว่า ขอท่านทั้งหลายจงใช้สอย โดยใช้สอยเป็นของสงฆ์. ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่แล้วจะไป พึงส่งข่าว (ไปบอก) แก่ภิกษุผู้ชอบพอกันในวิหารที่ใกล้เคียงแล้วจึงไป. เมื่อไม่มีพวกภิกษุผู้ชอบกัน พึงเก็บไว้ในที่ที่ฝนจะไม่รั่วรดแล้วจึงไป. เมื่อไม่มีที่ที่ฝนไม่รั่วรด พึงแขวนไว้ที่ต้นไม้ แล้วจึงไป. [ว่าด้วยสถานที่ควรเก็บไม้กวาดและวิธีกวาด] ในมหาปัจจรีท่านกล่าวว่า ถ้าภิกษุรู้อยู่ว่า ฝนจักตก วางไว้ในกลางแจ้ง เป็นทุกกฏ ดังนี้. แต่ถ้าว่า ไม้กวาดเป็นของอันเขาเก็บไว้เพื่อประโยชน์สำหรับกวาดในที่นั้นๆ นั่นเอง, ภิกษุจะกวาดที่นั้นๆ แล้ว เก็บไว้ในที่นั้นๆ แล สมควรอยู่. ภิกษุผู้จะกวาดโรงฉัน ควรรู้จักวัตร. วัตรในการกวาดโรงฉันนั้น ดังนี้ :- พึงกวาดทรายตั้งแต่ท่ามกลางตะล่อมมาไว้ตรงหน้าที่เท้ายืน. พึงเอามือทั้งสองกอบหยากเยื่อออกไปทิ้งข้างนอก. [ว่าด้วยลักษณะเตียงตั่งเป็นต้น] เตียงที่เขาทำให้แม่แคร่คาบเท้าเตียง โดยลักษณะคล้ายบัลลังก์ ชื่อว่า พุนธิกาพัทธ์ (เตียงมีแม่แคร่เนื่องเป็นอันเดียวกันกับขา). เตียงที่เขาทำด้วยเท้าเช่นกับเท้าแห่งสัตว์ มีม้าและแพะเป็นต้น ชื่อว่า กุลีร หลายบทว่า อนฺโต สํเวเฐตฺวา พทฺธํ โหติ มีความว่า เก้าอี้ที่เขาถักให้กว้างทั้งข้างล่างและข้างบน ตรงกลางสอบ (แคบ) มีสัณฐานคล้ายบัณเฑาะว์. ได้ยินว่า ชนทั้งหลายกระทำเก้าอี้นั้น ให้หุ้มด้วยหนังสีหะและเสือโคร่งที่ตรงกลางก็มี. ในเสนาสนะนี้ ชื่อว่าหนังที่เป็นอกัปปิยะไม่มี. จริงอยู่ แม้เสนาสนะที่เป็นวิการแห่งทอง ก็ควร. เพราะเหตุนั้น เสนาสนะนั้นจึงเป็นของมีค่ามาก. ข้อว่า อนุปฺปสมฺปนฺนํ สนฺถราเปติ ตสฺส ปริโพโธ มีความว่า เป็นธุระของอนุป ข้อว่า เลฑฺฑุปาตํ อติกฺกมนฺตสฺส อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส มีความว่า ภิกษุผู้เดินเลยเลฑฑุบาต ของบุรุษผู้มีกำลังกลางคนไปต้องปาจิตตีย์. [ว่าด้วยผู้รับผิดชอบเสนาสนบริขารมีเตียงเป็นต้น] พระเถระกระทำภัตกิจในโรงฉัน แล้วสั่งภิกษุหนุ่มว่า เธอจงไปแต่งตั้ง เตียง ตั่ง ในที่พักกลางวัน. ภิกษุหนุ่มนั้นกระทำตามสั่งแล้วนั่ง. พระเถระเที่ยวไปตามความพอใจแล้วจึงไปในที่พักกลางวันนั้น วางถุงย่ามและอุตราสงค์ไว้. จำเดิมแต่นั้นไปเป็นธุระของพระเถระ. พระเถระนั่งแล้ว เมื่อจะไป ไม่เก็บเอง ไม่สั่งให้เก็บ เป็นปาจิตตีย์ ในเมื่อเดินเลยเลฑฑุบาตไป. ก็ถ้าพระเถระไม่วางถุงย่ามและอุตราสงค์ไว้บนเตียงและตั่งนั้น จงกรม พลางสั่งภิกษุหนุ่มว่า เธอไปได้, เธอพึงบอกว่า นี้เตียงตั่ง ขอรับ! ถ้าพระเถระรู้จักธรรมเนียม, พึงกล่าวว่า เธอไปเถิด, เราจักกระทำให้เป็นปรกติเดิม. ถ้าภิกษุผู้เถระ เป็นคนเขลาไม่ได้ศึกษาธรรมเนียม กลับขู่ตะคอกภิกษุหนุ่มว่า ไปเถิด อย่ามายืนในที่นี้, เราจะไม่ให้ (ใคร) นั่ง ไม่ให้ (ใคร) นอน, ภิกษุหนุ่มเรียนว่า ท่านนอนตามสบายเถิด ขอรับ! ได้ข้ออ้างไหว้แล้ว พึงไปเถิด. เมื่อภิกษุหนุ่มนั้นไปแล้ว เป็นธุระของพระเถระเท่านั้น. และบัณฑิตพึงทราบว่า เป็นอาบัติแก่พระเถระนั้น โดยนัยก่อนนั่นเทียว. ก็ถ้าว่า ในขณะที่สั่งนั่นเอง ภิกษุหนุ่มเรียนว่า ท่านขอรับ! ผมมีกิจจำต้องทำบางอย่าง มีการซักล้างสิ่งของเป็นต้น และพระเถระกล่าวกะเธอว่า เธอแต่งตั้งแล้วจงไปเถิด ดังนี้ แล้วออกจากโรงฉันไปเสียในที่อื่น, พระวินัยธรพึงปรับ (พระเถระ) ด้วยย่างเท้า. ถ้าพระเถระไปนั่งในที่นั้นนั่นเอง, และเป็นอาบัติแก่พระเถระนั้น ในเมื่อเดินเลยเลฑฑุบาตไป โดยนัยก่อนนั่นแหละ. ก็ถ้าว่า พระเถระสั่งสามเณร, เมื่อสามเณรแม้จัดตั้งเตียงและตั่งในโรงฉันนั้นแล้วนั่ง พระเถระไปเสียที่อื่นจากโรงฉัน พระวินัยธรพึงปรับด้วยย่างเท้าเดิน. พระเถระไปนั่งแล้ว ในเวลาไปต่อไป พึงปรับด้วยอาบัติในเมื่อเดินเลยเลฑฑุบาตไป. ก็ถ้าว่า พระเถระเมื่อจะสั่ง สั่งว่า เธอจัดตั้งเตียงและตั่งแล้ว จงนั่งรอที่เตียงและตั่งนั้นนั่นแหละ ดังนี้, ย่อมได้เพื่อจะไปในที่ที่ตนปรารถนา. ส่วนผู้รับสั่งเมื่อไม่ทำให้เป็นปกติเสียเอง เดินไปเป็นปาจิตตีย์ ในเมื่อเดินเลยเลฑฑุบาตไป. ในระหว่างการประชุม ภิกษุทั้งหลายแต่งตั้งเตียงและตั่งแล้วนั่งในเวลา จะไปพึงบอกแก่อารามิกบุรุษ (คนทำการวัด) ว่า ท่านทั้งหลายจงเก็บเตียงและตั่งนี้ ดังนี้ เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่สั่ง ไปเสีย ในเมื่อเดินเลยเลฑฑุบาตไป. ธรรมดาการฟังธรรมครั้งใหญ่ ย่อมจะมี. ภิกษุทั้งหลายนำเอาเตียงและตั่งมาจากโรงอุโบสถบ้าง จากโรงฉันบ้าง จัดตั้งไว้ในสถานที่ฟังธรรมนั้น. เป็นภารธุระของพวกภิกษุเจ้าถิ่นเท่านั้น. ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะถือเอาไปด้วยอ้างว่า นี้สำหรับอุปัชฌาย์ของเรา นี้สำหรับอาจารย์ของเรา ดังนี้, จำเดิมแต่นั้นไป เป็นภารธุระของพวกภิกษุอาคันตุกะนั้นเท่านั้น. ในเวลาไป เมื่อไม่กระทำไว้ตามเดิม เดินเลยเลฑฑุบาตไป เป็นอาบัติ. แต่ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวไว้ว่า ชั่วเวลาที่ภิกษุพวกอื่นยังไม่มานั่ง เป็นภาระของพวกภิกษุผู้จัดตั้ง, เมื่อพวกภิกษุเหล่าอื่นมานั่งเป็นภาระของพวกภิกษุผู้นั่ง, ถ้าพวกภิกษุผู้นั่งเหล่านั้นไม่เก็บเองก็ดี ไม่ใช้ให้เก็บก็ดี ไปเสีย เป็นทุกกฏ. เพราะเหตุไร? เพราะจัดตั้งโดยไม่ได้สั่ง. เมื่อแต่งตั้งธรรมาสน์แล้ว ภิกษุผู้สวดหรือผู้แสดงธรรมยังไม่มาเพียงใด, เป็นภารธุระของพวกภิกษุผู้แต่งตั้งเพียงนั้น. เมื่อภิกษุผู้สวดหรือผู้แสดงธรรมมานั่งแล้ว เป็นภารธุระของภิกษุนั้น. มีการฟังธรรมตลอดวันและคืนทั้งสิ้น. ภิกษุผู้สวดหรือผู้แสดงธรรมอื่นลุกไป, ภิกษุอื่นมานั่ง, ภิกษุใดๆ มานั่ง เป็นภาระของภิกษุนั้นๆ. แต่เมื่อลุกขึ้น พึง แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าวนัยนี้ไว้ว่า ทุกๆ แห่งในเมื่อเดินเลยเลฑฑุบาตไป เป็นทุกกฏในย่างเท้าที่ ๑, เป็นปาจิตตีย์ในย่างเท้าที่ ๒. [ว่าด้วยเครื่องปูลาดและหน้าที่ในการรักษา] เครื่องลาดที่เขาทำไว้ เพื่อรักษาผิวของพื้นที่ทำบริกรรมด้วยปูนขาวเป็นต้น ชื่อว่า จิมิลิกา. ชนทั้งหลายปูเครื่องลาดนั้นไว้ข้างล่าง แล้วปูเสื่อลำแพนทับไว้ข้างบน. เครื่องลาดที่ควรปูลาดไว้บนเตียงและตั่ง ชื่อว่าเครื่องลาดเตียง. ชนิดแห่งเครื่องปูลาด มีเสื่อลำแพนเป็นต้นที่ควรลาดไว้บนพื้น ชื่อว่า เครื่องลาดพื้น. เสื่ออ่อนที่เขาทำด้วยใบตาลก็ดี ด้วยเปลือกปอก็ดี ชื่อว่า เสื่ออ่อน. แม้บรรดาหนังสัตว์มีสีหะ เสือโคร่ง เสือเหลือง เสือดาวและหมีเป็นต้น หนังชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า แผ่นหนัง. จริงอยู่ ชื่อว่าหนังที่ท่านห้าม ในการบริโภคเสนาสนะไม่ปรากฏในอรรถกถาทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ห้ามเฉพาะในการบริหารหนังสีหะเป็นต้น. เครื่องเช็ดที่เขาทำด้วยเชือกเล็กๆ ก็ดี ด้วยผ้าเก่าก็ดี เพื่อเช็ดเท้า ชื่อว่า เครื่องเช็ดเท้า. ตั่งที่เขาทำด้วยแผ่นกระดาน ชื่อว่า ตั่งแผ่นกระดาน. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ แผ่นกระดานและตั่งที่ทำด้วยไม้. แม้เครื่องไม้เป็นต้นทั้งหมด ท่านสงเคราะห์ด้วยตั่งแผ่นกระดานนั้น. แต่ในมหาปัจจรีท่าน แต่ในมหาอรรถกถานัยนี้ท่านแสดงไว้ในสิกขาบทที่ ๒. ภิกษุต้มน้ำย้อมในที่แจ้ง แล้วพึงเก็บเครื่องใช้ทั้งปวง คือภาชนะน้ำย้อม กระบวยตักน้ำย้อม รางน้ำย้อมเป็นต้น ไว้ในโรงไฟ. ถ้าโรงไฟไม่มี พึงเก็บไว้ในเงื้อมที่น้ำฝนจะไม่รั่วรด. แม้เมื่อเงื้อมนั้นไม่มี ถึงจะวางไว้ในที่ซึ่งมีพวกภิกษุคอยดูแลอยู่แล้วจึงไป ก็ควร. สองบทว่า อญฺญสฺส ปุคฺคลิเก มีความว่า ในมหาปัจจรีเป็นต้นกล่าวว่า การถือเอาโดยวิสาสะในบุคคลใด ไม่ขึ้น, เป็นทุกกฎในเพราะสิ่งของของบุคคลนั้น, แต่วิสาสะในบุคคลใดขึ้น, สิ่งของของบุคคลนั้น ย่อมเป็นดุจของส่วนตัวบุคคลของตน. สองบทว่า อาปุจฺฉํ คจฺฉติ มีความว่า บุคคลใดจะเป็นภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อารามิกบุรุษก็ดี เป็นลัชชี ย่อมสำคัญดุจเป็นภารธุระของตน. ภิกษุใดบอกลาบุคคลเช่นนั้นแล้วไป, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น. สองบทว่า โอตาเปนฺโต คจฺฉติ มีความว่า ภิกษุเอาออกผึ่งไว้ที่แดด ไปด้วยคิดว่า เราจักมาเก็บ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไปอย่างนี้. คำว่า เกนจ ปลิพุทฺธํ โหติ มีความว่า เสนาสนะถูกรบกวนด้วยอันตรายบาง ก็หรือว่าเมื่อสัตว์ร้ายมีสีหะและเสือโคร่งเป็นต้น มาสู่ประเทศนั้นแล้วพักอยู่ เสนา บทว่า อาปทาสุ คือ ในเพราะอันตรายแห่งชีวิตและอันตรายแห่งพรหมจรรย์. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกาย ปฐมเสนาสนสิกขาบทที่ ๔ จบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ ภูตคามวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๔ จบ. |