![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() [แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องภิกษุ ๒ รูป] บทว่า อุปนทฺธิ มีความว่า เมื่อให้ความผูกโกรธเกิดขึ้น ชื่อว่าได้ผูกความโกรธของตนไว้ในบุคคลผู้นั้น. อธิบายว่า ให้ความอาฆาตเกิดขึ้นบ่อยๆ. สองบทว่า อุปนทฺโธ ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุผู้เกิดมีความผูกโกรธนั้น. สองบทว่า อภิหฏฺฐุ ํ ปวาเรยฺย มีความว่า พึงนำไปปวารณาอย่างนี้ นิมนต์เถิดภิกษุ! เคี้ยวก็ตาม ฉันก็ตาม. แต่ในบทภาชนะพระอุบาลีเถระไม่ทรงยกคำว่า หนฺท ภิกฺขุ เป็นต้นขึ้น เพื่อแสดงอรรถแห่งการนำไปปวารณาที่ทั่วไปอย่างเดียว จึงได้กล่าวว่า นิมนต์รับของเท่าที่ท่านต้องการ. บทว่า ชานํ คือ รู้อยู่ว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ห้ามภัตแล้ว. ก็เพราะการรู้นั้นของภิกษุนั้น ย่อมมีโดยอาการ ๓ อย่าง ฉะนั้น พระอุบาลีเถระจึงกล่าวบทภาชนะโดยนัยเป็นต้นว่า ชานาติ นาม สามํ วา ชานาติ ดังนี้. บทว่า อาสาทนาเปกฺโข ได้แก่ เพ่งการรุกราน คือการโจทท้วง ได้แก่ภาวะที่ทำให้เป็นผู้อัปยศ. คำว่า ปฏิคฺคณฺหาติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า เมื่อภิกษุผู้ที่ตนน้อมถวายภัตรับเอา เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้น้อมถวาย. ส่วนความต่างแห่งอาบัติทุกอย่างของภิกษุผู้รับนอกนี้ กล่าวไว้แล้วในปฐมสิกขาบท แต่ในสิกขาบทนี้ พระวินัยธรพึงปรับอาบัติทั้งหมดแก่ภิกษุผู้น้อมถวายภัตเท่านั้น. บทที่เหลือปรากฏชัดแล้วแล เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในสิกขาบทก่อน. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล. ทุติยปวารณาสิกขาบทที่ ๖ จบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ โภชนวรรคที่ ๔ สิกขาบทที่ ๖ จบ. |