บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
[แก้อรรถบางปาฐะในปฐมบัญญัติแห่งสิกขาบท] คำว่า ยโต อยฺยสฺส ภิกฺขา ทินฺนา แปลว่า เพราะข้าพเจ้าได้ถวายภิกษาแล้ว. อธิบายว่า สิ่งใดอันผู้มาแล้วพึงได้ ท่านได้สิ่งนั้นแล้ว นิมนต์ท่านกลับไปเถิด. บทว่า ปริยุฏฺฐิโต คือ เป็นผู้อันราคะกลุ้มรุมแล้ว. ความว่า มีความประสงค์ในเมถุน. บทว่า สโภชเน ได้แก่ สกุลที่เป็นไปกับด้วยคน ๒ คน ชื่อว่าสโภชนะ. ในสกุลมีคน ๒ คนนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สโภชเน คือในสกุลมีโภคะ. เพราะว่า สตรีเป็นโภคะของบุรุษผู้อันราคะกลุ้มรุมแล้ว และบุรุษก็เป็นโภคะของสตรี (ผู้กลัดกลุ้มด้วยราคะ), ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ในบทภาชนะแห่งบทว่า สโภชเน นั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มีสตรีกับบุรุษ เป็นต้น. สองบทว่า มหลฺลเก ฆเร คือ ในเรือนนอนหลังใหญ่. สามบทว่า ปิฏฺฐิสงฺฆาฏสฺส หตฺถปาสํ วิชหิตฺวา มีความว่า ละหัตถบาสแห่งบานประตูห้องในเรือนนอนนั้น แล้วนั่ง ณ ที่ใกล้ภายในที่นอน. ก็เรือนนอนเช่นนี้ มีในศาลา ๔ มุขเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงการล้ำท่ามกลางด้วยคำนี้ว่าปิฏฺฐิวํสํ อติกฺกมิตฺวา. เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบอาบัติ เพราะล้ำท่ามกลางแห่งเรือนนอนหลังเล็กที่เขาสร้างไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานดุจปฐมปาราชิก เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๒ ดังนี้แล. สโภชนสิกขาบทที่ ๓ จบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ อเจลกวรรคที่ ๕ สิกขาบทที่ ๓ จบ. |