ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 669อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 673อ่านอรรถกถา 2 / 680อ่านอรรถกถา 2 / 881
อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์
ปาจิตติย์ สัปปาณกวรรคที่ ๗ สิกขาบทที่ ๑๐

               สัปปาณกวรรค กัณฑกสิกขาบทที่ ๑๐               
               ในสิกขาบทที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

               [แก้อรรถบางปาฐะในสิกขาบทที่ ๑๐]               
               สองบทว่า ทิฏฺฐิคตํ อุปฺปนฺนํ คือ สมณุทเทสแม้นี้ เมื่อถลำลงไปโดยไม่แยบคาย ก็เกิดความเห็นผิดขึ้นมา เหมือนอริฏฐภิกษุฉะนั้น.
               นาสนะที่ตรัสไว้ในคำว่า นาเสตุ นี้มี ๓ อย่างคือ สังวาสนาสนะ ๑ ลิงคนาสนะ ๑ ทัณฑกรรมนาสนะ ๑.
               บรรดานาสนะ ๓ อย่างนั้น การยกวัตรในเพราะไม่เห็นอาบัติเป็นต้น ชื่อว่าสังวาสนาสนะ. นาสนะนี้ว่า สามเณรผู้ประทุษร้าย (นางภิกษุณี) สงฆ์พึงให้นาสนะเสีย, เธอทั้งหลายพึงให้นาสนะ เมตติยาภิกษุณีเสีย ชื่อว่าลิงคนาสนะ. นาสนะนี้ว่า แน่ะอาวุโส สมณุทเทส! เธออย่าอ้างพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นว่า เป็นพระศาสดาของเธอตั้งแต่วันนี้ไป ชื่อว่าทัณฑกรรมนาสนะ.
               ทัณฑกรรมนาสนะนี้ ทรงประสงค์เอาในสิกขาบทนี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสว่า เอวญฺจ ภิกฺขเว นาเสตพฺโพ ฯเปฯ จร ปิเร วินสฺส เป็นต้น.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จร แปลว่า เธอจงหลีกไปเสีย.
               บทว่า ปิเร แปลว่า แน่ะเจ้าคนอื่น คือเจ้าผู้มิใช่พวกเรา.
               บทว่า วินสฺส ความว่า เจ้าจงฉิบหายเสีย คือจงไปในที่ซึ่งพวกเราจะไม่เห็นเจ้า.
               บทว่า อุปลาปฺเปยฺย แปลว่า พึงสงเคราะห์.
               บทว่า อุปฏฺฐาเปยฺย คือ พึงให้สมณุทเทสนั้นทำการบำรุงตน.
               บทที่เหลือพร้อมทั้งสมุฏฐานเป็นต้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในอริฏฐสิกขาบทนั้นนั่นแล.

               กัณฑกสิกขาบทที่ ๑๐ จบ               
               สัปปาณวรรคที่ ๗ จบบริบูรณ์               
               ตามวรรณนานุกรม.               
               ------------------------------------------------------------               

               หัวข้อประจำเรื่อง               
               ๑. สัญจิจจปาณสิกขาบท ว่าด้วยแกล้งฆ่าสัตว์
               ๒. สัปปาณกสิกขาบท ว่าด้วยบริโภคน้ำมีตัวสัตว์
               ๓. อุกโกฏนสิกขาบท ว่าด้วยฟื้นอธิกรณ์
               ๔. ทุฏฐุลลสิกขาบท ว่าด้วยปิดอาบัติชั่วหยาบ
               ๕. อูนวีสติวัสสสิกขาบท ว่าด้วยอุปสมบทกุลบุตรมีอายุหย่อน ๒๐ ปี
               ๖. เถยยสัตถสิกขาบท ว่าด้วยเดินทางร่วมกับพ่อค้าผู้เป็นโจร
               ๗. สํวิธานสิกขาบท ว่าด้วยชักชวนมาตุคามเดินทางสายเดียวกัน
               ๘. อริฏฐสิกขาบท ว่าด้วยพระอริฏฐะ
               ๙. อุกขิตตสัมโภคสิกขาบท ว่าด้วยการคบหากับภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร
               ๑๐. กัณฑกสิกขาบท ว่าด้วยสมณุทเทสชื่อกันฑกะ.

               ------------------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ สัปปาณกวรรคที่ ๗ สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 669อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 673อ่านอรรถกถา 2 / 680อ่านอรรถกถา 2 / 881
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=2&A=13181&Z=13338
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=9838
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=9838
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๕๕
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :