บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
[ว่าด้วยการให้ประหารด้วยฝ่ามือ] ในคำว่า ปหารํ เทติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ มีวินิจฉัยว่า เมื่อภิกษุให้ประหารด้วยความเป็นผู้ประสงค์จะประหาร ถ้าแม้นผู้ถูกประหารตาย ก็เป็นเพียงปาจิตตีย์. เพราะการประหาร (นั้น) มือหรือเท้าหัก หรือศีรษะแตก ก็เป็นปาจิตตีย์เท่านั้น. ตัดหูหรือตัดจมูก ด้วยความประสงค์จะทำให้เสียโฉม อย่างนี้ว่า เราจะทำเธอให้หมดสง่าในท่ามกลางสงฆ์ ก็เป็นทุกกฏ. บทว่า อนุปสมฺปนฺนสฺส มีความว่า ภิกษุให้ประหารแก่คฤหัสถ์หรือบรรพชิต แก่สตรีหรือบุรุษ โดยที่สุดแม้แก่สัตว์ดิรัจฉาน เป็นทุกกฏ. แต่ถ้าว่า มีจิตกำหนัด ประหารหญิง เป็นสังฆาทิเสส. สองบทว่า เกนจิ วิเหฐิยมาโน ได้แก่ ถูกมนุษย์หรือสัตว์ดิรัจฉานเบียดเบียนอยู่. บทว่า โมกฺขาธิปฺปาโย คือ ปรารถนาความพ้นแก่ตนเองจากมนุษย์เป็นต้นนั้น. สองบทว่า ปหารํ เทติ มีความว่า ภิกษุให้ประหารด้วยกาย ของเนื่องด้วยกาย และของที่ขว้างไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่เป็นอาบัติ. ถ้าแม้นภิกษุเห็นโจรก็ดี ข้าศึกก็ดี มุ่งจะเบียดเบียนในระหว่างทางกล่าวว่า แน่ะอุบาสก! เธอจงหยุดอยู่ในที่นั้นนั่นแหละ, อย่าเข้ามา แล้วประหารผู้ไม่เชื่อฟังคำกำลังเดินเข้ามาด้วยไม้ค้อน หรือด้วยศัสตราพร้อมกับพูดว่า ไปโว้ย แล้วไปเสีย. ถ้าเขาตายเพราะการประหารนั้น ไม่เป็นอาบัติเหมือนกัน. แม้ในพวกเนื้อร้ายก็นัยนี้เหมือนกัน. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น. ก็สมุฏฐานเป็นต้นของสิกขาบทนั้น เป็นเช่นเดียวกับปฐมปาราชิก แต่สิกขา ปหารสิกขาบทที่ ๔ จบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ สหธรรมิกวรรคที่ ๘ สิกขาบทที่ ๔ จบ. |