บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า อธิกรณชาตานํ ได้แก่ เกิดวิวาทาธิกรณ์ขึ้น เพราะการบาดหมางกันเป็นต้นเหล่านี้. บทว่า อุปสฺสุตึ คือ ใกล้พอได้ยิน. อธิบายว่า ในที่ซึ่งตนยืนอยู่แล้ว อาจได้ยินคำพูดของภิกษุเหล่านั้นได้. ในคำว่า คจฺฉติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นี้ เป็นทุกกฏทุกๆ ย่างเท้า. บทว่า มนฺเตนฺตํ คือ เมื่อภิกษุอีกรูปหนึ่งปรึกษากับภิกษุอีกรูปหนึ่ง. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า มนฺเตนฺเต ก็มี ความก็อย่างนี้. บทว่า วูปสมิสฺสามิ มีความว่า เราจักสงบ จักถึงความสงบ คือจักไม่ทำการทะเลาะกัน. สองบทว่า อตฺตานํ ปริโมเจสฺสาม มีความว่า เราจักบอกว่าเราไม่ใช่เป็นผู้กระทำแล้วเปลื้องตน. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานดุจเถยยสัตถสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ บางคราวเป็นกิริยา ด้วยอำนาจแห่งการไปเพราะความอยากฟัง, บางคราวเป็นอกิริยาด้วยอำนาจแห่งการไม่ยังผู้บาดหมางกันซึ่งมาสู่ตนยืนอยู่แล้ว ปรึกษากันอยู่ ให้รู้ตัว. แท้จริงสิกขาบททั้ง ๓ นี้ คือ รูปิยสิกขาบท อัญญวาทสิกขาบท อุปัสสุติกสิกขาบท มีความกำหนดอย่างเดียวกัน เป็นสัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล. อุปัสสุติกสิกขาบทที่ ๘ จบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ สหธรรมิกวรรคที่ ๘ สิกขาบทที่ ๘ จบ. |