บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
[อธิบายของควรเคี้ยวที่เขาไม่ได้บอกไว้ก่อน] สองบทว่า ปญฺจนฺนํ ปฏิสํวิทิตํ มีความว่า แม้ขาทนียะ โภชนียะที่เขาส่งสหธรรมิก ๕ คนใดคนหนึ่งให้ไปบอกให้รู้ว่า พวกเราจักนำขาทนียะหรือโภชนียะมาถวาย ดังนี้ ก็ไม่ชื่อว่าเป็นอันเขาบอกให้รู้เลย. ข้อว่า อารามํ อารามูปจารํ ฐเปตฺวา มีความว่า ถึงขาทนียะโภชนียะที่เขาพบภิกษุผู้ออกไปจากอุปจาร ในระหว่างทางบอกให้รู้ก็ดี บอกแก่ภิกษุผู้มายังบ้านให้รู้ก็ดี ยกเว้นอาราม คือ เสนาสนะป่า และอุปจารแห่งอาราม คือเสนาสนะป่านั้นเสีย ก็พึงทราบว่า ไม่เป็นอันเขาบอกให้รู้เหมือนกัน. คำว่า สเจ สาสงฺกํ โหติ สาสงฺกนฺติ อาจิกฺขิตพฺพํ ความว่า ภิกษุพึงบอก (พวกชาวบ้าน) เพราะเหตุอะไร? (พึงบอก) เพื่อเปลื้องคำว่า พวกโจรอยู่ในวัด ภิกษุทั้งหลายไม่บอกให้พวกเราทราบ. ข้อว่า โจรา วตฺตพฺพา มนุสฺสา อิธูปจารนฺติ มีความว่า ภิกษุทั้งหลายพึงบอกพวกโจร เพราะเหตุไร? พึงบอกเพื่อเปลื้องคำว่า ภิกษุทั้งหลายใช้พวกอุปัฏฐากของตนจับพวกเรา. ข้อว่า ยาคุยา ปฏิสํวิทิเต ตสฺสา ปริวาโร อาหรียติ ความว่า พวกชาวบ้านบอกให้รู้เฉพาะยาคูแล้ว นำสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วย กล่าวอย่างนี้ว่า จะมีประโยชน์อะไรด้วยยาคูล้วนๆ ที่พวกเราถวาย พวกเราจักทำแม้ขนมและข้าวสวยเป็นต้น ให้เป็นบริวารของยาคูแล้วถวาย, ของทุกอย่างเป็นอันเขาบอกให้รู้แล้วทั้งนั้น. แม้ในคำว่า ภตฺเตน ปฏิสํวิทิเต เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. พวกตระกูลแม้อื่นได้ยินว่า ตระกูลชื่อโน้น ทำการบอกให้รู้แล้ว กำลังถือเอาขาทนียะเป็นต้นมา จึงนำเอาไทยธรรมของตนสมทบมากับตระกูลนั้น สมควรอยู่. ในกุรุนทีกล่าวว่า ตระกูลทั้งหลายบอกให้รู้เฉพาะยาคูแล้ว นำขนมหรือข้าวสวยมาถวาย, แม้ขนมและข้าวสวยนั่น ก็ควร. บทว่า คิลานสฺส ได้แก่ แม้ในขาทนียโภชนียะที่เขาไม่ได้บอกให้รู้ก่อน ก็ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุอาพาธ. ข้อว่า ปฏิสํวิทิเต วา คิลานสฺส วา เสสกํ มีความว่า ขาทนียะโภชนียะที่เขาบอกให้รู้แล้วนำมาถวาย เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุรูปหนึ่ง, แม้ภิกษุอื่นจะฉันของเป็นเดนแห่งภิกษุนั้น ควรอยู่. ขาทนียะ โภชนียะเป็นของที่เขาบอกให้รู้แล้วนำมาถวายเป็นอันมาก แก่ภิกษุ ๔ รูปหรือ ๕ รูป, พวกเธอปรารถนาจะถวายแม้แก่ภิกษุพวกอื่น. ขาทนียโภชนียะแม้นั่น ก็เป็นเดนของภิกษุผู้ได้รับนิมนต์ไว้เหมือนกัน จึงสมควรแม้แก่ภิกษุทุกรูป. ถ้าของนั่นมีเหลือเฟือทีเดียว, เก็บไว้ให้พ้นสันนิธิแล้ว ย่อมควรแม้ในวันรุ่งขึ้น. แม้ในของเป็นเดนที่เขานำมาถวายแก่ภิกษุอาพาธ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนขาทนียโภชนียะที่เขาไม่ได้บอกให้รู้เลยนำมาถวาย ภิกษุพึงส่งไปยังภายนอกวัด แล้วให้ทำเป็นของบอกให้รู้ก่อนแล้วจึงให้นำกลับมา. หรือพวกภิกษุพึงไปรับเอาในระหว่างทางก็ได้. แม้ของใดพวกชาวบ้านเดินผ่านท่ามกลางวัดนำมาถวาย หรือพวกพรานป่าเป็นต้น นำมาถวายจากป่า, ของนั้นภิกษุพึงให้เขาทำให้เป็นของอันเขาบอกให้รู้โดยนัยก่อนนั่นแล. สองบทว่า ตตฺถ ชาตกํ มีความว่า ภิกษุฉันของที่เกิดขึ้นในวัดนั่นเอง มีมูลขาท สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล. ปาฏิเทสนียวรรณนา ในอรรถกถาพระวินัย ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา ปาฏิเทสนียกัณฑ์ ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๔ จบ. |