ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 

อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓]อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 247อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 257อ่านอรรถกถา 20 / 267อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ปฐมปัณณาสก์
อธิกรณวรรคที่ ๒

หน้าต่างที่ ๓ / ๓.

               อรรถกถาสูตรที่ ๗               
               ในสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               คำว่า ชาณุสฺโสณี ในบทว่า ชาณุสฺโสณี นี้เป็นตำแหน่ง.
               ตำแหน่งอะไร. ตระกูลใดได้ตำแหน่ง ตระกูลนั้น ท่านเรียกว่าตระกูลชาณุสโสณี (ตระกูลที่เป็นเหตุให้ได้ตำแหน่งนั้น ท่านเรียกว่าตระกูลชาณุสโสณี). ด้วยว่า พราหมณ์นี้เรียกกันว่าชาณุสโสณี เพราะเกิดในตระกูลนั้นและเพราะได้สักการะตำแหน่งชาณุสโสณีแต่ราชสำนัก
               บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า พราหมณ์ทราบมาว่า พระสมณโคดมเป็นบัณฑิต เป็นผู้เฉียบแหลม เป็นพหูสูต คิดว่า ถ้าพระสมณโคดมนั้นจักรู้ประเภทลิงค์ วิภัตติและการเป็นต้นไซร้ พระองค์จักรู้สิ่งที่พวกเรารู้เท่านั้น หรือว่าสิ่งที่พวกเราไม่รู้พระองค์ก็รู้ พระองค์จักตรัสสิ่งที่พวกเรารู้เท่านั้น หรือว่าสิ่งที่พวกเราไม่รู้ พระองค์ก็ตรัส เขาถือธงคือมานะชูขึ้นทันที แวดล้อมไปด้วยบริวารเป็นอันมาก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.
               บทว่า กตตฺตา จ พฺราหฺมณ อกตตฺตา จ ความว่า พระศาสดาทรงสดับคำของพราหมณ์นั้นแล้วมีพระดำริว่า พราหมณ์นี้มาในที่นี้ มิใช่ประสงค์จะรู้ แต่มาเพื่อแสวงหาเนื้อความ จึงได้ถือธงคือมานะ ชูขึ้นทันทีที่มา จะมีอะไรหนอ เมื่อเราบอกโดยวิธีที่พราหมณ์นี้จะรู้ทั่วถึงเนื้อความของปัญหา จักมีความเจริญ หรือว่าบอกโดยวิธีที่พราหมณ์ยังไม่รู้ทั่วถึงจึงจักมีความเจริญ ทรงทราบว่า บอกโดยวิธีที่พราหมณ์ไม่รู้จักมีความเจริญ จึงตรัสว่า กตตฺตา จ พฺราหฺมณ อกตตฺตา จ ดังนี้.
               พราหมณ์ได้ฟังดังนั้นแล้วคิดว่า พระสมณโคดมตรัสถึงการบังเกิดในนรก เพราะทำก็มี เพราะไม่ทำก็มี ข้อนี้รู้ได้ยาก มืดตื้อ เพราะตรัสถึงการบังเกิดในที่แห่งเดียว ด้วยเหตุถึงสองอย่าง เราไม่มีที่พึ่งในเรื่องนี้ แต่ถ้าเราจะนิ่งเสียเลย ถึงเวลาพูดในท่ามกลางพวกพราหมณ์ พราหมณ์ทั้งหลายจะพึงกล่าวกะเราอย่างนี้ว่า ท่านยกธงคือมานะชูขึ้นทันทีที่มาในสำนักของพระสมณโคดม ถูกเข้าคำเดียวเท่านั้นก็นิ่งเงียบ พูดอะไรไม่ออก ท่านจะพูดในที่นี้ทำไม ฉะนั้น ก็ต้องทำเป็นไม่แพ้ จักถามปัญหาในการไปสวรรค์อีก จึงเริ่มปัญหาที่สองว่า กึ ปน โภ โคตม ดังนี้.
               อนึ่ง พราหมณ์นั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักรู้ปัญหาเบื้องล่างด้วยปัญหาเบื้องบน จักรู้ปัญหาเบื้องบนด้วยปัญหาเบื้องล่าง. ฉะนั้น พราหมณ์จึงถามปัญหานี้.
               พระศาสดามีพระดำริโดยนัยก่อนนั่นเอง เมื่อจะตรัสโดยวิธีที่พราหมณ์ไม่รู้ จึงตรัสว่า กตตฺตา จ พฺราหฺมณ อกตตฺตา จ ดังนี้อีก.
               เมื่อพราหมณ์ไม่อาจจะดำรงอยู่ในเรื่องนั้นได้จึงตกลงใจว่า เรื่องนั้นจงยกไว้ คนที่มาสำนักของคนขนาดนี้ควรจะรู้เรื่องแล้วไป เราจักละวาทะของตน อนุวัตรตามพระสมณโคดม แสวงหาประโยชน์จักชำระทางไปสู่ปรโลก เมื่อจะอาราธนาพระศาสดา จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า น โข อหํ ดังนี้.
               ลำดับนั้น พระศาสดาทรงทราบว่าพราหมณ์ลดมานะลงแล้ว เมื่อจะทรงขยายเทศนาให้สูงขึ้น จึงตรัสว่า เตนหิ พฺราหฺมณ เป็นต้น.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตนหิ แสดงถึงเหตุ. อธิบายว่า เพราะพราหมณ์นั้นเมื่อไม่รู้เนื้อความของพระดำรัสที่ตรัสโดยย่อ จึงอาราธนาให้แสดงโดยพิสดารฉะนั้น.
               คำที่เหลือในที่นี้ง่ายทั้งนั้นแล.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๗               

               อรรถกถาสูตรที่ ๘               
               ในสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               คำว่า อายสฺมา เป็นคำแสดงความรัก.
               คำว่า อานนฺโท เป็นชื่อของพระเถระนั้น.
               บทว่า เอกํเสน แปลว่า โดยส่วนเดียว.
               บทว่า อนุวิจฺจ แปลว่า ใคร่ครวญแล้ว.
               บทว่า วิญฺญู ได้แก่ บัณฑิต.
               บทว่า ครหนฺติ แปลว่า ตำหนิ คือกล่าวโทษ.
               คำที่เหลือในที่นี้ง่ายทั้งนั้น.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๘               

               อรรถกถาสูตรที่ ๙               
               คำทั้งหมดในสูตรที่ ๙ ง่ายทั้งนั้น.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๙               

               อรรถกถาสูตรที่ ๑๐               
               ในสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า ทุนฺนิกฺขิตฺตญฺจ ปทพฺยญฺชนํ ได้แก่ บาลีที่เรียงไว้ผิดลำดับ.
               ก็บทนั่นแหละเรียกว่าพยัญชนะ เพราะเป็นที่ปรากฏชัดแห่งข้อความ. บทและพยัญชนะทั้งสองนั้นเป็นชื่อของบาลีนั่นเอง.
               บทว่า อตฺโถ จ ทุนฺนีโต ความว่า อรรถกถาแห่งบาลีที่แปลจับความผิดลำดับ.
               บทว่า ทุนฺนิกฺขิตสฺส ภิกฺขเว ปทพฺยญฺชนสฺส อตฺโถปิ ทุนฺนโย โหติ ความว่า อรรถกถาของบาลีที่แปลจับความผิดลำดับสับสน ย่อมชื่อว่านำมาชั่ว ทำชั่ว.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐               

               อรรถกถาสูตรที่ ๑๑               
               ในสูตรที่ ๑๑ พึงทราบเนื้อความโดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว

               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑               
               จบอธิกรณวรรคที่ ๒               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ อธิกรณวรรคที่ ๒ จบ.
อ่านอรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓]
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 247อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 257อ่านอรรถกถา 20 / 267อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=1374&Z=1563
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=209
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=209
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :