ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 297อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 309อ่านอรรถกถา 20 / 322อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ทุติยปัณณาสก์
สุขวรรคที่ ๒

               สุขวรรคที่ ๒               
               อรรถกถาสูตรที่ ๑               
               สุขวรรคที่ ๒ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๓๐๙) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า คิหิสุขํ ได้แก่ ความสุขทุกอย่างของคฤหัสถ์ทั้งหลายที่มีความสำเร็จกามเป็นมูล.
               บทว่า ปพฺพชฺชาสุขํ ได้แก่ ความสุขที่มีการบรรพชาเป็นมูล.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑               

               อรรถกถาสูตรที่ ๒               
               ในสูตรที่ ๒ (ข้อ ๓๑๐) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า กามสุขํ ได้แก่ ความสุขที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกาม.
               บทว่า เนกฺขมฺมสุขํ ความว่า บรรพชา ท่านเรียกว่า เนกขัม สุขที่เกิดขึ้นเพราะปรารภเนกขัมนั้น.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๒               

               อรรถกถาสูตรที่ ๓               
               ในสูตรที่ ๓ (ข้อ ๓๑๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า อุปธิสุขํ ได้แก่ สุขที่เป็นไปในภูมิ ๓.
               บทว่า นิรูปธิสุขํ ได้แก่ สุขที่เป็นโลกุตระ.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๓               

               อรรถกถาสูตรที่ ๔               
               ในสูตรที่ ๔ (ข้อ ๓๑๒) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า สาสวสุขํ ได้แก่ สุขในวัฏฏะ ซึ่งเป็นปัจจัยแก่อาสวะทั้งหลาย.
               บทว่า อนาสวสุขํ ได้แก่ สุขในพระนิพพาน ซึ่งไม่เป็นปัจจัยแก่อาสวะเหล่านั้น.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๔               

               อรรถกถาสูตรที่ ๕               
               ในสูตรที่ ๕ (ข้อ ๓๑๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า นิรามิสํ ได้แก่ สุขเครื่องให้ถึงวัฏฏะ ยังมีกิเลส.
               บทว่า นิรามิสํ ได้แก่ สุขเครื่องให้ถึงพระนิพพาน ปราศจากกิเลส.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๕               

               อรรถกถาสูตรที่ ๖               
               ในสูตรที่ ๖ (ข้อ ๓๑๔) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า อริยสุขํ ได้แก่ สุขของอริยบุคคล.
               บทว่า อนริยสุขํ ได้แก่ สุขของปุถุชน.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๖               

               อรรถกถาสูตรที่ ๗               
               ในสูตรที่ ๗ (ข้อ ๓๑๕) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า กายิกํ ได้แก่ สุขที่เกิดร่วมกับกายวิญญาณ.
               บทว่า เจตสิกํ ได้แก่ สุขที่เกิดทางมโนทวาร.
               ตรัสคละกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๗               

               อรรถกถาสูตรที่ ๘               
               ในสูตรที่ ๘ (ข้อ ๓๑๖) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า สปฺปีติกํ ได้แก่ สุขในปฐมฌานและทุติยฌาน.
               บทว่า นิปฺปีติกํ ได้แก่ สุขในตติยฌานและจตุตถฌาน.
               บรรดาสุข ๒ อย่างนั้น พึงทราบความเป็นเลิศ โดยไม่แบ่งชั้นอย่างนี้ คือสุขปราศจากปีติที่เป็นโลกิยะเลิศกว่าสุขมีปีติที่เป็นโลกิยะ และสุขปราศจากปีติที่เป็นโลกุตระเลิศกว่าสุขมีปีติที่เป็นโลกุตระ.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๘               

               อรรถกถาสูตรที่ ๙               
               ในสูตรที่ ๙ (ข้อ ๓๑๗) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า สาตสุขํ ได้แก่ สุขในฌานทั้ง ๓.
               บทว่า อุเปกฺขาสุขํ ได้แก่ สุขในจตุตถฌาน.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๙               

               อรรถกถาสูตรที่ ๑๐               
               ในสูตรที่ ๑๐ (ข้อ ๓๑๘) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า สมาธิสุขํ ได้แก่ สุขที่ถึงอัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ.
               บทว่า อสมาธิสุขํ ได้แก่ สุขที่ไม่ถึงสมาธิทั้งสองนั้น.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐               

               อรรถกถาสูตรที่ ๑๑               
               ในสูตรที่ ๑๑ (ข้อ ๓๑๙) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า สปฺปีติการมฺมณํ ได้แก่ สุขที่เกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาฌานทั้งสองที่มีปีติเป็นอารมณ์
               แม้ในฌานที่ไม่มีปีติเป็นอารมณ์ก็นัยนี้แหละ.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑               

               อรรถกถาสูตรที่ ๑๒               
               ในสูตรที่ ๑๒ (ข้อ ๓๒๐) ก็พึงทราบเนื้อความโดยอุบายนี้.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๒               

               อรรถกถาสูตรที่ ๑๓               
               ในสูตรที่ ๑๓ (ข้อ ๓๒๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า รูปารมฺมณํ ได้แก่ สุขที่เกิดขึ้นเพราะปรารภรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นอารมณ์ของรูปาวจรจตุตถฌาน.
               บทว่า อรูปารมฺมณํ ได้แก่ สุขที่เกิดขึ้นเพราะปรารถอรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นอารมณ์ของอรูปาวจรฌาน.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๓               
               จบสุขวรรคที่ ๒               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ สุขวรรคที่ ๒ จบ.
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 297อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 309อ่านอรรถกถา 20 / 322อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=2088&Z=2132
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=1366
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=1366
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :