ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 386อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 396อ่านอรรถกถา 20 / 408อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ตติยปัณณาสก์
สันถารวรรคที่ ๔

               สันถารวรรคที่ ๔               
               อรรถกถาสูตรที่ ๑               
               วรรคที่ ๔ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๓๙๖) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               การปูลาดด้วยปัจจัย ๔ โดยปกปิดช่องว่างตนและคนอื่น ชื่อว่าอามิสสันถาร. การปูลาดด้วยธรรม ชื่อว่าธรรมสันถาร.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑               
               อรรถกถาสูตรที่ ๒               
               ในสูตรที่ ๒ (ข้อ ๓๙๗) แปลกกันเพียงอุปสรรค
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๒               
               อรรถกถาสูตรที่ ๓               
               ในสูตรที่ ๓ (ข้อ ๓๙๘)
               การหาอามิสมีประการดังกล่าวแล้ว ชื่อว่าอามิสเอสนา. การหาธรรม ชื่อว่าธรรมเอสนา.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๓               
               อรรถกถาสูตรที่ ๔               
               ในสูตรที่ ๔ (ข้อ ๓๙๙) แปลกกันเพียงอุปสรรค.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๔               
               อรรถกถาสูตรที่ ๕               
               ในสูตรที่ ๕ (ข้อ ๔๐๐) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               การแสวงหาอามิสถึงที่สุด ท่านเรียกว่าอามิสปริเยฏฐิ. การแสวงหาธรรมถึงที่สุด ท่านเรียกว่าธรรมปริเยฏฐิ.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๕               
               อรรถกถาสูตรที่ ๖               
               ในสูตรที่ ๖ (ข้อ ๔๐๑)
               การบูชาด้วยอามิส ชื่อว่าอามิสบูชา. การบูชาด้วยธรรม ชื่อว่าธรรมบูชา.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๖               
               อรรถกถาสูตรที่ ๗               
               ในสูตรที่ ๗ (ข้อ ๔๐๒).
               บทว่า อติเถยฺยานิ ได้แก่ ทานเพื่อผู้จรมา (ของรับแขก).
               ปาฐะว่า อภิเถยฺยานิ ดังนี้ก็มี.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๖               
               อรรถกถาสูตรที่ ๗               
               ในสูตรที่ ๘ (ข้อ ๔๐๓) อามิสอิทธิ ชื่อว่าอามิสอิทธิ ให้สำเร็จเสร็จสรรพ. แม้ธรรมก็ชื่อว่าธรรมอิทธิ เพราะให้สำเร็จเสร็จสรรพ.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๗               
               อรรถกถาสูตรที่ ๘               
               ในสูตรที่ ๙ (ข้อ ๔๐๔)
               ความเจริญด้วยอามิส ชื่อว่าอามิสวุฒิ. ความเจริญด้วยธรรม ชื่อว่าธรรมวุฒิ.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๙               
               อรรถกถาสูตรที่ ๑๐               
               ในสูตรที่ ๑๐ (ข้อ ๔๐๕)
               อามิสที่ทำให้เกิดความยินดี ชื่อว่าอามิสรัตนะ. ธรรม ชื่อว่าธรรมรัตนะ.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐               
               อรรถกถาสูตรที่ ๑๑               
               ในสูตรที่ ๑๑ (ข้อ ๔๐๖)
               การสะสมเพิ่มพูนอามิส ชื่อว่าอามิสสันนิจยะ. การสะสมเพิ่มพูนธรรม ชื่อว่าธรรมสันนิจยะ.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑               
               อรรถกถาสูตรที่ ๑๒               
               ในสูตรที่ ๑๒ (ข้อ ๔๐๗)
               ความไพบูลย์แห่งอามิส ชื่อว่าอามิสเวปุลละ. ความไพบูลย์แห่งธรรม ชื่อว่าธรรมเวปุลละแล.

               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๒               
               จบสันถารวรรคที่ ๔               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ตติยปัณณาสก์ สันถารวรรคที่ ๔ จบ.
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 386อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 396อ่านอรรถกถา 20 / 408อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=2415&Z=2460
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=1547
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=1547
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :