ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 450อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 451อ่านอรรถกถา 20 / 452อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ รถการวรรคที่ ๒
๒. สรณียสูตร

               อรรถกถาสรณียสูตรที่ ๒               
               พึงทราบวินิจฉัยในสารณียสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

               สิ่งที่ประทับใจ ๓ ประการ               
               บทว่า ขตฺติยสฺส ได้แก่ เป็นกษัตริย์โดยกำเนิด.
               บทว่า มุทฺธาภิสิตฺตสฺส ได้แก่ ผู้ได้รับมุรธาภิเษกแล้ว ด้วยการอภิเษกเป็นพระราชา.
               บทว่า สรณียานิ โหนฺติ ความว่า ไม่ถูกลืม.
               บทว่า ชาโต แปลว่า บังเกิดแล้ว.
               บทว่า ยาวชีวํ สรณียํ ความว่า ในเวลาที่ยังทรงพระเยาว์อยู่ พระมหากษัตริย์ไม่สามารถจะทรงทราบอะไรๆ ที่เกี่ยวกับพระองค์ได้เลย (ก็จริง) แต่ว่าในเวลาต่อมา ทรงสดับเรื่องราวที่เหล่าพระประยูรญาติมีพระชนกชนนีเป็นต้น หรือผู้ที่อยู่ด้วยกันทูลว่า พระองค์ทรงพระราชสมภพในชนบทโน้น ในนครโน้น ในวันโน้น ในนักษัตรโน้น ตั้งแต่วันนั้นมา (เรื่องราวที่พระประยูรญาติตรัสเล่าให้ฟัง) เป็นเรื่องราวที่พระองค์จะต้องระลึกไว้ คือไม่ทรงลืมตลอดพระชนม์ชีพทีเดียว.
               ความจริง พระเจ้าปากิตนันทะไม่มีกิจที่จะต้องกระทำด้วยชาติและฐานะเป็นต้นเลย. แต่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำเหตุการณ์นี้มา ก็เพื่อจะทรงแสดงบุคคล ๓ จำพวกซึ่งเปรียบด้วยพระราชานั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงบุคคลเหล่านั้น จึงตรัสคำว่า เอวเมว โข ภิกฺขเว เป็นต้น.
               บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า อนคาริยํ ปพฺพชิโต โหติ นี้พึงทราบว่าจตุปาริสุทธิศีลอาศัยบรรพชานั่นแล.
               บทว่า สรณียํ โหติ ความว่า (สถานที่ที่ภิกษุปลงผมและหนวดแล้ว ครองผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่มีเรือนนี้) เป็นสถานที่ที่ภิกษุจะต้องระลึกไว้ คือไม่ลืมตลอดชีวิตเลยทีเดียวอย่างนี้ว่า เราบวชแล้วที่โคนต้นไม้นั้น ในที่จงกรมโน้น ในโรงอุปสมบทโน้น ในวิหารโน้น ในชนบทโน้น ในรัฐโน้น.
               บทว่า อิทํ ทุกฺขํ ความว่า ทุกข์มีเพียงเท่านี้ ไม่มีทุกข์นอกเหนือไปจากนี้.
               บทว่า อยํ ทุกฺขสมุทโย ความว่า เหตุเกิดทุกข์มีเพียงเท่านี้ ไม่มีเหตุเกิดทุกข์นอกเหนือไปจากนี้.
               แม้ในสองบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโสดาปัตติมรรคไว้สัจจะ ๔ ในสูตรนี้ดังพรรณนามาฉะนี้. ส่วนกสิณบริกรรมและวิปัสสนาญาณอาศัยมรรคทั้งนั้น.
               บทว่า สรณียํ โหติ ความว่า (สถานที่ที่ภิกษุได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน) เป็นสถานที่ที่ภิกษุจะต้องระลึกไว้ คือไม่ลืมตลอดชีวิตว่า เราสำเร็จเป็นพระโสดาบันที่ควงต้นไม้โน้น ฯลฯ ในรัฐโน้น.
               บทว่า อาสวานํ ขยา แปลว่า เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.
               บทว่า อนาสวํ เจโตวิมุตตึ ได้แก่ ผลสมาธิ.
               บทว่า ปญฺญาวิมุตฺติ ได้แก่ ผลปัญญา.
               บทว่า สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ความว่า การทำให้ประจักษ์ด้วยปัญญาอันวิเศษยิ่งด้วยตนเองทีเดียว.
               บทว่า อุปสมฺปชฺช วิหรติ ได้แก่ ได้อยู่.
               บทว่า สรณียํ ความว่า ธรรมดาว่า สถานที่ที่ตนเองได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เป็นสถานที่ที่ภิกษุจะต้องระลึกไว้ คือไม่ลืมตลอดชีวิตว่า เราได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ที่ควงต้นไม้โน้น ฯลฯ ในรัฐโน้น.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบพระธรรมเทศนาตามอนุสนธิดังว่ามานี้แล.

               จบอรรถกถาสรณียสูตรที่ ๒               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ รถการวรรคที่ ๒ ๒. สรณียสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 450อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 451อ่านอรรถกถา 20 / 452อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=2795&Z=2819
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=1844
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=1844
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :