บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ความหมายของคำว่า อิสิปตนะ ปาฐะว่า ปทเน ดังนี้ก็มี ความหมายก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า มิคทาเย ความว่า ในป่าที่พระราชทานเพื่อต้องการให้เป็นสถานที่ที่ไม่มีภัย สำหรับเนื้อทั้งหลาย. บทว่า ฉหิ มาเสหิ ฉารตฺตูเนหิ ความว่า ได้ยินว่า ช่างรถนั้นจัดแจงอุปกรณ์ทุกชนิด แล้วเข้าป่าพร้อมด้วยอันเตวาสิก ในวันที่ได้รับกระแสพระบรมราชโองการเลยทีเดียว เว้นต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ตามประตูหมู่บ้าน กลางหมู่บ้าน เทวสถานและสุสานเป็นต้น และต้นไม้ที่ถูกไฟไหม้ ต้นไม้ล้มและต้นไม้แห้ง เลือกเอาต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในภูมิประเทศที่ดี ปราศจากโทษทั้งหมด สมควรใช้ทำดุม ซี่ กำและกงได้ มาทำเป็นล้อรถนั้น. เมื่อช่างไม้เลือกเอาต้นไม้มาทำเป็นล้อรถอยู่นั้น เวลาเท่านี้ ๖ เดือนหย่อน ๖ ราตรี ก็ล่วงเลยไป ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ฉหิ มาเสหิ ฉารตฺตูเนหิ ดังนี้. บทว่า นานากรณํ ได้แก่ ความแตกต่างกัน. บทว่า นสํ ตัดบทเป็น น เอสํ แปลว่า เรามองไม่เห็นความแตกต่างของล้อเหล่านั้น. บทว่า อตฺเถสํ ตัดบทเป็น อตฺถิ เอสํ แปลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ล้อทั้ง ๒ นั้นมีความแตกต่างกันอยู่. บทว่า อภิสงฺขารสฺส คติ ได้แก่ การหมุนไป. บทว่า จิงฺคุลายิตฺวา แปลว่า ตะแคงไป. บทว่า อกฺขาหตํ มญฺเญ ความว่า เหมือนวางสอดเข้าไปในเพลา.๑- ____________________________ ๑- ปาฐะว่า อกฺเข ปเวเสตฺวา ฐปิตมิว มญฺญามิ ฉบับพม่าเป็น อกฺเขปเวเสตฺวา ฐปิตมิว แปลตามฉบับพม่า. บทว่า สโทสา ความว่า มีปม คือประกอบด้วยที่สูงๆ ต่ำๆ. บทว่า สกสาวา ความว่า ติดแก่นที่เน่าและกระพี้. บทว่า กายวงฺกา เป็นต้น เป็นชื่อของทุจริตทั้งหลาย มีกายทุจริตเป็นต้น. บทว่า เอวํ ปปติตา ความว่า ตกไปโดยพลาดจากคุณความดีอย่างนี้. บทว่า เอวํ ปติฏฺฐิตา ความว่า ดำรงอยู่โดยคุณธรรมอย่างนี้. ในคน ๖ ประเภทนั้น โลกิยมหาชน ชื่อว่าตกไปแล้วจากคุณความดี. ส่วนพระอริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น ชื่อว่าตั้งมั่นอยู่แล้วในคุณความดี. แม้ในสำนวนของพระอริยบุคคล ๔ ประเภทเหล่านั้น พระอริยบุคคล ๓ ประเภทข้างต้น ชื่อว่าตกไปแล้วจากคุณงามความดี ในขณะที่กิเลสทั้งหลายฟุ้งขึ้น. ส่วนพระขีณาสพ ชื่อว่าตั้งมั่นอยู่แล้วโดยส่วนเดียวโดยแท้. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่พระอริยเจ้า ๓ ประเภทข้างต้น ผู้ยังละความคดทางกายไม่ได้เป็นต้นจึงตกไป ส่วนพระขีณาสพทั้งหลายผู้ละความคดทางกายเป็นต้นได้แล้ว ย่อมตั้งมั่นอยู่ในคุณความดี. อนึ่ง พึงทราบการละความคดทางกายเป็นต้น ดังต่อไปนี้ ก่อนอื่น อกุศลกรรมบถ ๖ ข้อเหล่านี้ คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน มิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา มิจฉาทิฏฐิ พระอริยบุคคลย่อมละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค. สองอย่างคือ ผรุสวาจา พยาบาท จะละได้ด้วยอนาคามิมรรค. สองอย่างคือ อภิชฌา สัมผัปปลาปะ จะละได้ด้วยอรหัตมรรค. จบอรรถกถาปเจตนสูตรที่ ๕ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ รถการวรรคที่ ๒ ๕. ปเจตนสูตร จบ. |