ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 464อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 465อ่านอรรถกถา 20 / 466อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ ปุคคลวรรคที่ ๓
๖. เสวิสูตร

               อรรถกถาเสวิตัพพสูตรที่ ๖               
               พึงทราบวินิจฉัยในเสวิตัพพสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า เสวิตพฺโพ ได้แก่ พึงเข้าไปหา.
               บทว่า ภชิตพฺโพ ได้แก่ พึงสนิทสนม.
               บทว่า ปยิรุปาสิตพฺโพ ได้แก่ พึงเข้าไปบ่อยๆ ด้วยการนั่งในที่ใกล้.
               บทว่า สกฺกตฺวา ครุกตฺวา ความว่า ทำทั้งสักการะและความเคารพ.
               ในบทว่า หีโน โหติ สีเลน เป็นต้น พึงทราบความต่ำ (กว่ากัน) โดยเทียบเคียงกัน. อธิบายว่า ในบรรดาคนเหล่านั้น ผู้รักษาศีล ๑๐ ไม่ควรคบคนรักษาศีล ๕. ผู้รักษาจาตุปาริสุทธิศีล ไม่ควรคบคนรักษาศีล ๑๐.
               บทว่า อญฺญตฺร อนุทยา อญฺญตฺร อนุกมฺปา ความว่า นอกจากจะเอ็นดู จะอนุเคราะห์. เพราะว่า เพื่อประโยชน์ตนแล้วก็ไม่ควรคบคนเช่นนี้ แต่จะเข้าไปหาเขา โดยความเอ็นดู โดยอนุเคราะห์ก็ควร.
               บทว่า สีลสามญฺญคตานํ สตํ ความว่า แก่เราทั้งหลายผู้ถึงความเป็นผู้มีศีลเสมอกันมีอยู่.
               บทว่า สีลกถา จ โน ภวิสฺสติ ความว่า กถาปรารภศีลนั่นแหละจักมีแก่เราทั้งหลายผู้มีศีลเสมอกันอย่างนี้.
               บทว่า สา จ โน ปวตฺตนี ภวิสฺสติ ความว่า กถาของพวกเราทั้งหลายที่พูดกันแม้ตลอดวันนั้น จักดำเนินไป คือไม่ขาดระยะ.
               บทว่า สา จ โน ผาสุ ภวิสฺสติ ความว่า และสีลกถาที่ดำเนินไปตลอดทั้งวันนั้น จักเป็นการอยู่อย่างสำราญของเราทั้งหลาย.
               แม้ในสมาธิปัญญากถา ก็มีนัยเหมือนกันนี้แหละ.
               บทว่า สีลกฺขนฺธํ ได้แก่ กองศีล.
               บุคคลเว้นธรรมที่ไม่เป็นสัปปายะของศีล คือไม่เป็นอุปการะแก่ศีล ซ่องเสพ (ประพฤติ) ธรรมที่เป็นสัปปายะ คือธรรมที่เป็นอุปการะแก่ศีล ชื่อว่าอนุเคราะห์สีลขันธ์ด้วยปัญญา ในที่นั้นๆ ในบทว่า ตตฺถ ตตฺถ ปญฺญาย อนุคฺคเหสฺสามิ นี้.
               แม้ในสมาธิขันธ์และปัญญาขันธ์ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
               บทว่า นิหียติ ความว่า บุคคลเมื่อคบหาคนที่เลวกว่าตนย่อมเสื่อม คือย่อมเสียหายติดต่อกันเรื่อยไป เหมือนน้ำที่เทไปในหม้อกรองน้ำด่าง.
               บทว่า ตุลฺยเสวี ได้แก่ คบคนที่เสมอกับตน.
               บทว่า เสฏฺฐมุปนมํ ได้แก่ น้อมเข้าไปหาผู้ประเสริฐ.
               บทว่า อุเทติ ขิปฺปํ ความว่า ย่อมเจริญเร็วทีเดียว.
               บทว่า ตสฺมา อตฺตโน อุตฺตรึ ภเชถ ความว่า เพราะเหตุที่บุคคลผู้น้อมตนเข้าไปหาบุคคลผู้ประเสริฐ ย่อมเจริญเร็ว ฉะนั้นจึงควรคบคนที่ยิ่งกว่า คือคนที่สูงกว่า ได้แก่คนที่ประเสริฐกว่าตน.

               จบอรรถกถาเสวิตัพพสูตรที่ ๖               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ ปุคคลวรรคที่ ๓ ๖. เสวิสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 464อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 465อ่านอรรถกถา 20 / 466อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=3269&Z=3302
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=2337
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=2337
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :