ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 465อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 466อ่านอรรถกถา 20 / 467อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ ปุคคลวรรคที่ ๓
๗. ชิคุจฉสูตร

               อรรถกถาชิคุจฉิตัพพสูตรที่ ๗               
               พึงทราบวินิจฉัยในชิคุจฉิตัพพสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า ชิคุจฺฉิตพฺโพ ความว่า บุคคลที่ใครๆ พึงรังเกียจเหมือนคูถฉะนั้น.
               บทว่า อถโข นํ เท่ากับ อถโข อสฺส.
               บทว่า กิตฺติสทฺโท คือ เสียงที่กล่าวขานกัน.
               ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พึงทราบข้อเปรียบเทียบดังต่อไปนี้
               ความเป็นผู้ทุศีลพึงเห็นเหมือนหลุมคูถ. บุคคลผู้ทุศีลพึงเห็นเหมือนงูเรือนตัวตกลงไปในหลุมคูถฉะนั้น ภาวะที่บุคคลพึงจะคบหาบุคคลผู้ทุศีล (แต่) ไม่ทำตามบุคคลผู้ทุศีลนั้น พึงเห็นเหมือนภาวะที่บุคคลถูกงูที่เขายกขึ้นจากหลุมคูถไต่ขึ้นสู่ร่างกาย แต่ไม่กัดฉะนั้น เวลาที่บุคคลคบหาผู้ทุศีล จนชื่อเสียงที่ไม่ดีระบือไปทั่ว พึงทราบเหมือนเวลาที่เขาถูกงูตัวเปื้อนคูถแล้ว กัดเอาฉะนั้น.
               บทว่า ติณฺฑุกาลาตํ ได้แก่ ดุ้นฟืนไม้มะพลับ.
               บทว่า ภิยฺโยโส มตฺตาย จิจิฏายตํ ความว่า ก็ดุ้นฟืนไม้มะพลับนั้น เมื่อถูกเผาตามปกติจะสะเก็ดจะกระเด็นหลุดออกส่งเสียงดัง จิจิฏะ จิจิฏะ. อธิบายว่า แต่ดุ้นฟืนที่ถูกเคาะจะส่งเสียงดังกว่ามาก.
               บทว่า เอวเมว โข ความว่า บุคคลผู้มักโกรธก็ฉันนั้นเหมือนกันแล คือ แม้ตามธรรมดาของตนก็เป็นผู้ไม่สงบ ดุร้ายเที่ยวไป. แต่ในเวลาที่ได้ฟังคำพูด (ว่ากล่าว) แม้เพียงเล็กน้อย ก็กลับเที่ยวเกรี้ยวกราดดุร้ายยิ่งขึ้นไปอีกว่า คนนี้พูดอย่างนี้ๆ กับคนเช่นเราได้.๑-
____________________________
๑- ปาฐะว่า เอวเมว โกธโนติ อตฺตโน ธมฺมตายปิ อุฏฐิโต จณฺฑิกโต หุตฺวา จรติ. อปฺปมตฺตกํ ปน วจนํ วุตฺตกาเล มาทิสํ นาม เอวํ วทติ เอวํ วทติติ อิตเรกตรํ อุฏฐิโต จณฺฑิกโต หุตฺวา กุชฺฌติ.
     ฉบับพม่าเป็น เอวเมวํ โกธโน อตฺตโน ธมฺมตายปิ อุทธฺโต จณฺฑิกโต หุตฺวา จรติ อปฺปมตฺตกํ ปน วจนํ สุตกาเล มาทิสํ นาม เอวํ วทติ เอวํ วทตีติ อติเรกตรํ อุทฺธโต จณฺฑิกโต หุตฺวา จรติ แปลตามฉบับพม่า).

               บทว่า คูถกูโป ได้แก่ หลุมที่เต็มไปด้วยคูถ หรือหลุมคูถนั่นแล.
               ก็ในที่นี้ พึงทราบการเปรียบเทียบโดยนัยก่อนนั้นแล.
               บทว่า ตสฺมา เอวรูโป ปุคฺคโล อชฺฌุเปกฺขิตพฺโพ น เสวิตพฺโพ ความว่า เพราะเหตุที่บุคคลผู้มักโกรธ เมื่อใครคบหาใกล้ชิดก็โกรธ (เขา) เหมือนกัน ย่อมโกรธแม้กะบุคคลที่ด่าย้อนให้ว่าคนผู้นี้มีประโยชน์อะไร ฉะนั้น เขาจึงเป็นเหมือนไฟไหม้ฟาง ที่ทุกคนควรวางเฉย ไม่ควรเข้าไปคบหาสมาคม.
               ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร?
               ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า บุคคลที่เข้าไปใกล้ไฟไหม้ฟางจนเกินไปจะร้อน ร่างกายของเขาจะพลอยถูกไหม้ไปด้วย บุคคลที่ถอยออกห่างมากเกินไปจะ (ไม่) ร้อน ความหนาวของเขาก็ยังไม่หาย ส่วนบุคคลที่ผิงไฟอยู่ในระยะพอดี ไม่เข้าใกล้จนเกินไป (และ) ไม่ถอยห่างออกเกินไป ความหนาวก็จะหาย เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มักโกรธเป็นเหมือนไฟไหม้ฟาง จึงควรถูกวางเฉยเสีย โดยการวางตัวเป็นกลาง ไม่ควรที่ใครๆ จะเสพ ไม่ควรที่ใครๆ จะคบหา ไม่ควรที่ใครๆ จะเข้าไปนั่งใกล้.
               บทว่า กลฺยาณมิตฺโต ได้แก่ มิตรผู้สะอาด.
               บทว่า กลฺยาณสหาโย ได้แก่ สหายผู้สะอาด. ที่ชื่อว่าสหาย ได้แก่ผู้มีปกติไปร่วมกันและเที่ยวไปร่วมกัน.
               บทว่า กลฺยาณสมฺปวงฺโก ได้แก่ ผู้โอนไปในกัลยาณมิตรทั้งหลาย คือในบุคคลผู้สะอาด. อธิบายว่า ผู้มีใจน้อมโน้มเหนี่ยวนำไปในกัลยาณมิตรนั้น.

               จบอรรถกถาชิคุจฉิตัพพสูตรที่ ๗               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ ปุคคลวรรคที่ ๓ ๗. ชิคุจฉสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 465อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 466อ่านอรรถกถา 20 / 467อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=3303&Z=3348
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=2360
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=2360
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :