ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 468อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 469อ่านอรรถกถา 20 / 470อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ ปุคคลวรรคที่ ๓
๑๐. อวกุชชิตาสูตร

               อรรถกถาอวกุชชิตสูตรที่ ๑๐               
               พึงทราบวินิจฉัยในอวกุชชิตสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า อวกุชฺชปญฺโญ ได้แก่ มีปัญญาเหมือนกับหม้อคว่ำปากลง.
               บทว่า อุจฺฉงฺคปญฺโญ ได้แก่ มีปัญญาเหมือนกับตัก.
               บทว่า ปุถุปญฺโญ ได้แก่ มีปัญญากว้างขวาง.
               ในบทว่า อาทิกลฺยาณํ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               การตั้งต้น (เทศนา) ชื่อว่าเบื้องต้น ท่ามกลางแห่งกถา ชื่อว่าท่ามกลาง ตอนจบ ชื่อว่าที่สุด. ภิกษุเหล่านั้น เมื่อกล่าวธรรมแก่บุคคลนั้นอย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวทำให้งาม คือให้เจริญ ได้แก่ไม่มีโทษเลย ทั้งในวาระเริ่มต้น ทั้งในวาระท่ามกลาง ทั้งในวาระที่สุด.
               อนึ่ง ในสูตรนี้มีเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งเทศนา และมีเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งสาสนธรรม.
               บรรดาเทศนาและสาสนธรรมทั้งสองนั้น (จะกล่าว) เทศนาก่อน บทแรกของคาถา ๔ บทเป็นเบื้องต้น บททั้งสองเป็นท่ามกลาง (และ) บทสุดท้ายเป็นที่สุด.
               สำหรับพระสูตรที่มีอนุสนธิเดียว นิทานเป็นเบื้องต้น อนุสนธิเป็นท่ามกลาง ตอนจบพระสูตรที่ว่า อิทมโวจ เป็นที่สุด.
               สำหรับพระสูตรที่มีอนุสนธิหลายอนุสนธิ อนุสนธิที่ ๑ เป็นเบื้องต้น มากกว่านั้นไป หนึ่งหรือหลายอนุสนธิเป็นท่ามกลาง อนุสนธิสุดท้ายเป็นที่สุด.
               นี้เป็นนัยแห่งเทศนาก่อน.
               ส่วนสาสนธรรม ศีลเป็นเบื้องต้น สมาธิเป็นท่ามกลาง วิปัสสนาเป็นที่สุด.
               อีกอย่างหนึ่ง สมาธิเบื้องต้น วิปัสสนาเป็นท่ามกลาง มรรคเป็นที่สุด.
               อีกอย่างหนึ่ง วิปัสสนาเป็นเบื้องต้น มรรคเป็นท่ามกลาง ผลเป็นที่สุด.
               อีกอย่างหนึ่ง มรรคเป็นเบื้องต้น ผลเป็นท่ามกลาง นิพพานเป็นที่สุด.
               อีกอย่างหนึ่ง เมื่อทำธรรมให้เป็นคู่ๆ กัน ศีลกับสมาธิเป็นเบื้องต้น วิปัสสนากับมรรคเป็นท่ามกลาง ผลกับนิพพานเป็นที่สุด.
               บทว่า สาตฺถํ ความว่า ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมให้มีประโยชน์.
               บทว่า สพฺยญฺชนํ ความว่า แสดงธรรมให้อักษรบริบูรณ์.
               บทว่า เกวลปริปุณฺณํ ความว่า แสดงธรรมให้บริบูรณ์ทั้งหมด คือไม่ขาด.
               บทว่า ปริสุทฺธํ ความว่า แสดงธรรมให้บริสุทธิ์ คือไม่ให้ยุ่งเหยิงไม่มีเงื่อนงำ.
               บทว่า พฺรหฺมจริยํ ปกาเสนฺติ ความว่า และเมื่อแสดงอย่างนั้น ชื่อว่าประกาศอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งสงเคราะห์ด้วยไตรสิกขาอันเป็นจริยาที่ประเสริฐที่สุด.
               บทว่า เนวาทึ มนสิกโรติ ความว่า เริ่มต้นเทศน์ก็ไม่ใส่ใจ.
               บทว่า กุมฺโภ แปลว่า หม้อ.
               บทว่า นิกุชฺโช คือ วางคว่ำปากลง.
               ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
               บุคคลผู้มีปัญญาต่ำพึงเห็นเหมือนหม้อคว่ำปากลง. เวลาที่ได้ (ฟัง) พระธรรมเทศนา พึงเห็นเหมือนเวลาที่เทน้ำ (บนก้นหม้อ). เวลาที่บุคคลนั่งอยู่บนอาสนะนั้นยังไม่สามารถเรียนเอาได้ พึงเห็นเหมือนเวลาที่น้ำไหลออกไปหมด. เวลาที่บุคคลผู้นั้นลุกขึ้นแล้วจำไม่ได้ พึงเห็นเหมือนเวลาที่น้ำไม่ขังอยู่ (บนก้นหม้อ).
               บทว่า กากิณฺณานิ แปลว่า ที่เก็บไว้.
               บทว่า สติสมฺโมสาย ปกิเรยฺย ความว่า (ของควรเคี้ยวนั้น) พึงตกเกลื่อนไป เพราะความเป็นผู้เผลอตัว.
               ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
               บุคคลผู้มีปัญญาดังตัก พึงเห็นเหมือนตัก. พระพุทธพจน์มีประการต่างๆ พึงเห็นเหมือนของกินชนิดต่างๆ. เวลาที่บุคคลนั่งเรียนอยู่บนอาสนะนั้น พึงเห็นเหมือนเวลาที่บุคคลนั่งเคี้ยว ของเคี้ยวชนิดต่างๆ (ที่อยู่) บนตัก. เวลาที่บุคคลลุกจากอาสนะนั้นมาแล้วจำไม่ได้ พึงเห็นเหมือนเวลาที่บุคคลลุกขึ้นทำของหกเรี่ยราด เพราะเผลอตัว.
               บทว่า อุกฺกุชฺโช ได้แก่ (หม้อ) วางหงายปากขึ้น.
               บทว่า สณฺฐาติ คือ น้ำย่อมขังอยู่.
               ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บุคคลผู้มีปัญญามาก พึงเห็นเหมือนหม้อที่วางหงายปากขึ้น. เวลาที่ได้ฟังเทศนา พึงเห็นเหมือนเวลาที่เทน้ำลง. เวลาที่บุคคลนั่งเรียนอยู่บนอาสนะนั้น พึงเห็นเหมือนเวลาที่น้ำขังอยู่. เวลาที่บุคคลลุกขึ้นเดินไปยังจำได้ พึงเห็นเหมือนเวลาที่น้ำไม่ไหลออกไป.
               บทว่า ทุมฺเมโธ ได้แก่ ไม่มีปัญญา.
               บทว่า อวิจกฺขโณ ได้แก่ ขาดปัญญาเครื่องจัดการ.
               บทว่า คนฺตา ได้แก่ มีการไปเป็นปกติ.
               บทว่า เสยฺโย เอเตน วุจฺจติ ความว่า (บุคคลผู้มีปัญญาดังตัก) พระพุทธเจ้าตรัสว่า ยอดเยี่ยมกว่าบุคคลนั้น (คือคนปัญญาดังหม้อคว่ำ).
               บทว่า ธมฺมานุธมฺมาปฏิปนฺโน ความว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่โลกุตรธรรม ๙ คือปฏิบัติข้อปฏิบัติเบื้องต้นพร้อมทั้งศีล.
               บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่ วัฏทุกข์.
               บทว่า อนฺตกโร สิยา ความว่า บุคคลพึงเป็นผู้ทำที่สุด คือพึงเป็นผู้ทำให้ขาดตอน ได้แก่พึงเป็นผู้ทำให้สุดทาง (ทุกข์).

               จบอรรถกถาอวกุชชิตสูตรที่ ๑๐               
               จบปุคคลวรรควรรณนาที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. สวิฏฐสูตร
                         ๒. คิลานสูตร
                         ๓. สังขารสูตร
                         ๔. พหุการสูตร
                         ๕. วชิรสูตร
                         ๖. เสวิสูตร
                         ๗. ชิคุจฉสูตร
                         ๘. คูถภาณีสูตร
                         ๙. อันธสูตร
                         ๑๐. อวกุชชิตาสูตร
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ ปุคคลวรรคที่ ๓ ๑๐. อวกุชชิตาสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 468อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 469อ่านอรรถกถา 20 / 470อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=3406&Z=3467
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=2434
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=2434
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :