ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 513อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 514อ่านอรรถกถา 20 / 515อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ อานันทวรรคที่ ๓
๔. นิคัณฐสูตร

               อรรถกถานิคัณฐสูตรที่ ๔               
               พึงทราบวินิจฉัยในนิคัณฐสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า กูฏาคารสาลายํ ได้แก่ พระคันธกุฎีที่เขาติดช่อฟ้า ๒ ด้านมีหลังคา เหมือนหงส์รำแพน.
               บทว่า อปริเสสํ ญาณทสฺสนํ ปฏิชานาติ ความว่า รู้ชัดญาณทัสนะทุกอย่าง ไม่เหลือแม้แต่นิดเดียว.
               บทว่า สตตํ สมิตํ ความว่า ตลอดทุกกาล คือชั่วนิรันดร.
               ด้วยบทว่า ญฺาณทสฺสนํ ปจฺจุปฏฺฐิตํ นี้ นิครนถนาฏบุตรแสดงว่าสัพพัญญุตญาณปรากฏแล้วแก่เรา.
               บทว่า ปุราณานํ กมฺมานํ ได้แก่ กรรมที่ประมวลมา.
               บทว่า ตปสา พฺยนฺตีภาวํ ได้แก่ กระทำให้กิเลสสิ้นไปด้วยตบะที่ทำได้โดยยาก.
               บทว่า นวานํ กมฺมานํ ได้แก่ กรรมที่พึงประมวลมาในปัจจุบัน.
               บทว่า อกรณา ความว่า เพราะไม่ประมวลมา.
               ด้วยบทว่า เสตุ ฆาตํ นิครนถนาฏบุตรกล่าวถึงการตัดทางเดิน คือทำลายปัจจัย.
               บทว่า กมฺมกฺขยา ทุกฺขกฺขโย ได้แก่ ความสิ้นวัฏทุกข์ เพราะกัมมวัฏสิ้นไป.
               บทว่า ทุกฺขกฺขยา เวทนากฺขโย ได้แก่ ความสิ้นเวทนา เพราะวัฏทุกข์สิ้นไป. อธิบายว่า เมื่อวัฏทุกข์สิ้นไปแม้การหมุนเวียนแห่งเวทนา ก็เป็นอันสิ้นไปแล้วเหมือนกัน.
               บทว่า เวทนากฺขยา สพฺพํ ทุกฺขํ นิชฺชิณฺณํ ภวิสฺสติ ความว่า ก็วัฏทุกข์ทั้งสิ้นจักเสื่อมไปโดยไม่เหลือ เพราะเวทนาหมดสิ้นไป.
               บทว่า สนฺทิฏฐิกาย ความว่า ที่จะพึงเห็นเอง คือ (เห็น) ประจักษ์.
               บทว่า นิชฺชราย วิสุทฺธิยา ความว่า ชื่อว่า นิชฺชราย เพราะเป็นปฏิปทาแห่งความเสื่อมไปของกิเลสหรือเพราะกิเลสทั้งหลายเสื่อมโทรมไปโดยไม่เหลือ. ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะยังสัตว์ทั้งหลายให้ถึงความบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า นิชชราวิสุทธิ์.
               บทว่า สมติกฺกโม โหติ ความว่า ความสงบระงับแห่งวัฏทุกข์ทั้งสิ้นจะมีได้.
               บทว่า อิธ ภนฺเต ภควา กิมาห ความว่า นิครนถนาฏบุตรถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สำหรับข้อปฏิบัตินี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างไร คือทรงบัญญัติปฏิปทาแห่งความสิ้นไปของกิเลสนี้ไว้อย่างไร หรือบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น.
               บทว่า ชานตา ความว่า รู้ด้วยอนาวรณญาณ.
               บทว่า ปสฺสตา ความว่า เห็นด้วยสมันตจักษุ.
               บทว่า วิสุทฺธิยา ความว่า เพื่อต้องการให้ถึงความบริสุทธิ์.
               บทว่า สมติกฺกมาย ความว่า เพื่อต้องการให้ถึงความล่วงพ้น.
               บทว่า อตฺถงฺคมาย ความว่า เพื่อต้องการให้ถึงความดับสูญ.
               บทว่า ญาญสฺส อธิคมาย ความว่า เพื่อประโยชน์การบรรลุมรรคพร้อมด้วยวิปัสสนา.
               บทว่า นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ความว่า เพื่อต้องการทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานที่หาปัจจัยมิได้.
               บทว่า นวญฺจ กมฺมํ น กโรติ ความว่า ไม่ประมวลกรรมใหม่มา.
               บทว่า ปุราณญฺจ กมฺมํ ได้แก่ กรรมที่ประมวลมาแล้วในกาลก่อน.
               บทว่า ผุสฺส ผุสฺส พฺยนฺตีกโรติ ความว่า เผชิญ (กรรมเก่าเข้าแล้ว) ก็ทำให้สิ้นไป. อธิบายว่า สัมผัส ผัสสะอันเป็นวิบากแล้วทำกรรมนั้นให้สิ้นไป.
               บทว่า สนฺทิฏฺฐิกา ความว่า อันบุคคลพึงเห็นเอง.
               บทว่า อกาลิกา ความว่า ไม่ทำหน้าที่ในเวลาอื่น.
               บทว่า เอหิปสฺสิกา ความว่า ควรเพื่อชี้ให้เห็นอย่างนี้ว่า ท่านจงมาดูเถิด.
               บทว่า โอปนยิกา ความว่า ควรในการน้อมเข้ามา คือเหมาะแก่ธรรมที่ตนควรข้องอยู่.
               บทว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ ความว่า อันบัณฑิตทั้งหลายพึงรู้ได้ในสันดานของตนๆ นั่นเอง แต่พาลชนทั้งหลายรู้ได้ยาก ดังนั้น มรรค ๒ ผล ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วด้วยสามารถแห่งศีล เพราะว่า พระโสดาบัน พระสกทาคามีเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล. ส่วนมรรค ๓ ผล ๓ ตรัสไว้แล้วด้วยสมาธิสมบัติมีอาทิว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ (เพราะสงัดแล้วจากกามทั้งหลายนั่นเทียว) เพราะพระอริยสาวสกชั้นอนาคามีบุคคล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ.
               ด้วยคำมีอาทิว่า อาสวานํ ขยา พระองค์ตรัส (หมายถึง) พระอรหัตผล. ก็ศีลและสมาธิบางประเภทอันสัมปยุตด้วยพระอรหัตผลทรงประสงค์เอาแล้วในพระสูตรนี้ แต่เพื่อจะทรงแสดงถึงข้อปฏิบัติด้วยสามารถแห่งศีลและสมาธิแต่ละประเภท จึงทรงยกแบบอย่างขึ้นไว้เป็นแผนกๆ กันฉะนี้แล.

               จบอรรถกถานิคัณฐสูตรที่ ๔               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ อานันทวรรคที่ ๓ ๔. นิคัณฐสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 513อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 514อ่านอรรถกถา 20 / 515อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=5809&Z=5853
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=5233
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=5233
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :