บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
พระโสดาบัน ก็ในบทว่า ตระกูล นี้ ท่านประสงค์เอาภพ เพราะเหตุนั้น แม้ในบทว่า ๒ หรือ ๓ ตระกูล นี้ พึงทราบความหมายว่า ๒ หรือ ๓ ภพ. จริงอยู่ พระโสดาบันนี้ย่อมท่องเที่ยวไป ๒ ภพบ้าง ๓ ภพบ้าง หรืออย่างสูงที่สุดก็ ๖ ภพ เพราะเหตุนั้น พึงเห็นวิกัป (ข้อกำหนด) ในบทนี้อย่างนี้ว่า ๒ ภพบ้าง ๓ ภพบ้าง ๔ ภพบ้าง ๕ ภพบ้าง ๖ ภพบ้าง. พระสกทาคามี พระอนาคามี บรรดาพระอนาคามี ๔ จำพวกนั้น พระอนาคามีใดได้บรรลุอนาคามิผลในโลกนี้แล้ว บังเกิดในชั้นสุทธาวาสมีชั้นอวิหาเป็นต้น ดำรงอยู่ในชั้นอวิหานั้นจนตราบสิ้นอายุแล้ว ก็บังเกิดในชั้นสุทธาวาสชั้นสูงๆ ขึ้นไปถึงสุทธาวาสชั้นอกนิฏฐะ. พระอนาคามีนี้ชื่อว่า อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี. ส่วนพระอนาคามีใดบังเกิดในสุทธาวาสชั้นอวิหาเป็นต้น (แต่) ไม่ปรินิพพานในสุทธาวาสชั้นนั้น ไปปรินิพพานในพรหมโลกชั้นสูงๆ ขึ้นไป โดยยังไม่ถึงสุทธาวาสชั้นอกนิฏฐะ. พระอนาคามีนี้ชื่อว่า อุทธังโสโตนอกนิฏฐคามี. พระอนาคามีใดจุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในสุทธาวาสชั้นอกนิฏฐะเลยทีเดียว. พระอนาคามีนี้ชื่อว่า นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี. ส่วนพระอนาคามีใดบังเกิดในสุทธาวาสชั้นใดชั้นหนึ่งในบรรดาสุทธาวาส ๔ มีอวิหาเป็นต้น และปรินิพพานในสุทธาวาสชั้นนั้นแล. พระอนาคามีนี้ชื่อว่า นอุทธังโสโตนอกนิฏฐคามี. ส่วนพระอนาคามีผู้อุบัติในพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่งแล้ว บรรลุอรหัตผลด้วยจิตที่เป็นสสังขารและเป็นสัปปโยค. พระอนาคามีนี้ชื่อว่า สสังขารปรินิพพายี. พระอนาคามีผู้บรรลุพระอรหัตผล ด้วยจิตที่เป็นอสังขารเป็นอสัปปโยค. พระอนาคามีนี้ชื่อว่า อสังขารปรินิพพายี. ____________________________ โย ปน กปฺปสหสฺสายุเกสุ อวิเหสุ นิพฺพตฺติตฺวา ปญฺจมํ กปฺปสตํ ๒- อติกฺกมิตฺวา อรหตฺตํ ปตฺโต, อยํ อุปหจฺจปรินิพฺพายี นาม. ๒ ม. ปฐมํ ปญฺจกปฺปสตํ พระอนาคามีใดบังเกิดในสุทธาวาสชั้นอวิหาซึ่งมีอายุ ๑,๐๐๐ กัป ผ่านพ้นไปได้ ๕๐๐ กัป ก็บรรลุอรหัตผล. พระอนาคามีนี้ชื่อว่า อุปหัจจปรินิพพายี. ____________________________ แม้ในสุทธาวาสชั้นอตัปปาเป็นต้นก็มีนัยนี้แล. บทว่า อนฺตราปรินิพพายี ความว่า พระอนาคามีใดอายุยังไม่ทันเลยครึ่งไปก็ปรินิพพาน พระอนาคามีนั้นมี ๓ ประเภท คือ อันดับแรก พระอนาคามีท่านหนึ่งบังเกิดในสุทธาวาสชั้นอวิหาซึ่งมีอายุ ๑,๐๐๐ กัปแล้ว ก็บรรลุอรหัตผลในวันที่บังเกิดนั้นเอง หากว่ามิได้บรรลุอรหัตผลในวันที่ตนบังเกิด แต่ว่าได้บรรลุในที่สุด ๑๐๐ กัปแรก พระอนาคามีนี้ชื่อว่า อันตราปรินิพพายีประเภทที่ ๑. พระอนาคามีอีกท่านหนึ่ง ไม่สามารถบรรลุอรหัตผลได้อย่างนั้น (แต่ว่า) ได้บรรลุในที่สุด ๒๐๐ กัป. พระอนาคามีนี้ชื่อว่า อันตราปรินิพพายี ประเภทที่ ๒. พระอนาคามีอีกท่านหนึ่ง แม้ในที่สุด ๒๐๐ กัป อย่างนั้นก็ไม่สามารถ (บรรลุอรหัตผล) ได้ (แต่ว่า) ได้บรรลุในที่สุด ๔๐๐ กัป พระอนาคามีนี้ ชื่อว่า อันตราปรินิพพายี ประเภทที่ ๓. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล. พระโสดาบัน ๒๔ เป็นต้น ในสัทธาธุระกับปัญญาธุระนั้น พระโสดาบันบุคคลท่านหนึ่งยึดมั่นด้วยสัทธาธุระจนได้บรรลุโสดาปัตติผล บังเกิดในภพหนึ่ง แล้วทำที่สุดทุกข์ได้ พระโสดาบันบุคคลท่านนี้จัดเป็นเอกพีชีประเภทหนึ่ง พระโสดาบันบุคคลประเภทเอกพีชีนั้นมี ๔ ประเภทด้วยอำนาจปฏิปทา. พระโสดาบันบุคคลประเภทเอกพีชีผู้ยึดมั่นด้วยสัทธาธุระนี้เป็นฉันใด แม้ท่านที่ยึดมั่นด้วยปัญญาธุระก็เป็นฉันนั้น รวมเป็นว่าพระโสดาบันบุคคลประเภทเอกพีชีมี ๘ ประเภท. พระโสดาบันประเภท โกลํโกละ และพระโสดาบันประเภท สัตตักขัตตุปรมะ ก็เหมือนกัน คือมีประเภทละ ๘ รวมเป็นว่า พระโสดาบันเหล่านี้มี ๒๔ ประเภท. ในวิโมกข์ทั้ง ๓ พระสกทาคามีบุคคลผู้บรรลุภูมิของพระสกทาคามี ด้วยสุญญตวิโมกข์ก็มี ๔ ด้วยอำนาจปฏิปทา ๔ อนึ่ง พระสกทาคามีบุคคลผู้บรรลุภูมิของพระสกทาคามี ด้วยอนิมิตวิโมกข์ก็มี ๔ ผู้บรรลุภูมิพระสกทาคามี ด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ก็มี ๔ รวมเป็นว่า พระสกทาคามีเหล่านี้มี ๑๒ ประเภท. ส่วนในพรหมโลกชั้นอวิหา พระอนาคามีมีอยู่ ๕ คือ พระอนาคามีประเภทอันตราปรินิพพายีมี ๓ พระอนาคามีประเภทอุปหัจจปรินิพพายีมี ๑ พระอนาคามีประเภทอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑. พระอนาคามีเหล่านั้นแยกเป็น ๑๐ คือ พระอนาคามีประเภท อสังขารปรินิพพายีมี ๕ พระอนาคามีประเภทสสังขารปรินิพพายีมีอีก ๕. ในสุทธาวาสชั้นอตัปปาเป็นต้นก็มีจำนวนเท่ากัน แต่สุทธาวาสชั้นอกนิฏฐะ พระอนาคามีประเภทอุทธังโตไม่มี. เพราะฉะนั้น ในสุทธาวาส ชั้นอกนิฏฐะนั้น จึงมีพระอนาคามี ๘ คือ พระอนาคามีประเภท สสังขารปรินิพพายีมี ๔ พระอนาคามีประเภทอสังขารปรินิพพายีมี ๔ (เหมือนกัน) รวมเป็นว่า พระอนาคามีเหล่านี้มีทั้งหมด ๔๘. แม้พระอรหันต์ก็พึงทราบว่ามี ๑๒ เหมือนพระสกทาคามี. แม้ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสสิกขา ๓ ไว้คละกัน. จบอรรถกถาตติยเสขสูตรที่ ๗ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ สมณวรรคที่ ๔ ๗. เสขสูตรที่ ๓ จบ. |