ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 529อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 530อ่านอรรถกถา 20 / 531อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ สมณวรรคที่ ๔
๑๐. สิกขาสูตรที่ ๒

               อรรถกถาทุติยสิกขาสูตรที่ ๑๐               
               พึงทราบวินิจฉัยในทุติยสิกขาสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
               ในบทว่า อาสวานํ ขยา นี้ มีอธิบายว่า อรหัตมรรค ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา. ส่วนผลไม่ควรกล่าวว่าสิกขา เพราะเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ได้ศึกษาสิกขาแล้ว.
               บทว่า ยถา ปุเร ตถา ปจฺฉา ความว่า ในตอนต้น ท่านศึกษาในสิกขา ๓ อย่าง ภายหลังก็ศึกษาอย่างนั้นเหมือนกัน.
               แม้ในบทที่ ๒ ก็มีนัยนี้แล.
               บทว่า ยถา อโธ ตถา อุทฺธํ ความว่า ท่านพิจารณาเห็นกายเบื้องต่ำด้วยสามารถแห่งอสุภะอย่างใด ก็พิจารณาเห็นกายเบื้องสูงอย่างนั้นเหมือนกัน.
               แม้ในบทที่ ๒ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
               บทว่า ยถา ทิวา ตถา รตฺตึ ความว่า ในเวลากลางวันท่านศึกษาสิกขา ๓ อย่าง แม้ในเวลากลางคืนก็ศึกษาอย่างนั้นเหมือนกัน.
               บทว่า อภิภุยฺย ทิสา สพฺพา ความว่า ครอบงำทิศทั้งปวง คือครอบงำด้วยอำนาจแห่งอารมณ์.
               บทว่า อปฺปมาณสมาธินา คือ ด้วยสมาธิอันสัมปยุตด้วยอรหัตมรรค.
               บทว่า เสกฺขํ ได้แก่ ผู้ยังศึกษาอยู่ คือผู้ที่ยังมีกิจที่จะต้องทำอยู่.
               บทว่า ปฏิปทํ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติ.
               บทว่า สํสุทฺธจารินํ ได้แก่ ผู้มีจรณะบริสุทธิ์ดี คือผู้มีศีลบริสุทธิ์.
               บทว่า สมฺพุทฺธํ ได้แก่ ผู้ตรัสรู้สัจจะ ๔.
               บทว่า ธีรํ ปฏิปทนฺตคุํ ความว่า เป็นปราชญ์ คือผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาเป็นเครื่องทรงจำด้วยอำนาจแห่งปัญญาเครื่องทรงจำ ในขันธ์ ธาตุ และอายตนะ เป็นผู้ถึงที่สุดแห่งวัตรปฏิบัติ.
               บทว่า วิญฺญาณสฺส ได้แก่ แห่งจริมกวิญญาณ (จิตดวงสุดท้าย).
               บทว่า ตณฺหกฺขยวิมุตฺติโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วย อรหัตผลวิมุตติ กล่าวคือความหลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา.
               บทว่า ปชฺโชตสฺเสว นิพฺพานํ หมายความว่า เปรียบเหมือนการดับไปของดวงประทีป.
               บทว่า วิโมกฺโข โหติ เจตโส ความว่า ความหลุด คือความพ้น ได้แก่ภาวะคือความไม่เป็นไปแห่งจิต มีอยู่. อธิบายว่า ก็ความหลุดพ้นไปแห่งจิตที่เปรียบเหมือนการดับไปของดวงประทีปย่อมมี แก่พระขีณาสพผู้หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา เพราะจริมกวิญญาณดับไป สถานที่ที่พระขีณาสพไปก็ไม่ปรากฏ ท่านเป็นผู้เข้าถึงความเป็นผู้หาบัญญัติมิได้เลย.

               จบอรรถกถาทุติยสิกขาสูตรที่ ๑๐               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ สมณวรรคที่ ๔ ๑๐. สิกขาสูตรที่ ๒ จบ.
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 529อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 530อ่านอรรถกถา 20 / 531อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=6242&Z=6265
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=5681
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=5681
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :