บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อรรถกถาอัจจายิกสูตรที่ ๑ บทว่า อจฺจายิกานิ แปลว่า รีบด่วน. บทว่า กรณียานิ แปลว่า กิจที่ต้องทำอย่างแน่แท้ ก็ธุระใดไม่ต้องทำเป็นการแน่แท้ ธุระนั้นเรียกว่ากิจ (งานอดิเรก) ธุระที่ต้องทำเป็นการแน่แท้ชื่อว่ากรณียะ (งานประจำ). บทว่า สีฆสีฆํ แปลว่า โดยเร็วๆ. บทว่า ตํ ในคำว่า ตสฺส โข ตํ นี้ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า นตฺถิ สา อิทฺธิ วา อานุภาโว วา ความว่า ฤทธิ์นั้นหรืออานุภาพนั้นไม่มี. บทว่า อุตฺตรเสฺว ได้แก่ ในวันที่ ๓ (วันมะรืน). บทว่า อุตุปริฌามีนิ ได้แก่ ธัญชาติทั้งหลายได้ความเปลี่ยนแปลงฤดู. บทว่า ชายนฺติปิ ได้แก่ มีหน่อสีขาวงอกออกในวันที่ ๓ เมื่อครบ ๗ วัน หน่อก็กลับเป็นสีเขียว. บทว่า คพฺภินีปิ โหนฺติ ความว่า ถึงเวลาเดือนครึ่งก็ตั้งท้อง. บทว่า ปจนฺติปิ ความว่า ถึงเวลา ๓ เดือนก็สุก. บัดนี้ เพราะเหตุที่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีความต้องการด้วยคฤหบดีหรือด้วยข้าวกล้า แต่ที่ทรงนำอุปมานั้นๆ มาก็เพื่อจะทรงแสดงบุคคลหรืออรรถที่หมาะสมกับเทศนานั้นในศาสนา ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงความหมายที่พระองค์ทรงประสงค์จะแสดง (ซึ่งเป็นเหตุให้) นำอุปมานั้นมา จึงตรัสคำว่า เอวเมว โข เป็นต้น. สูตรนั้น เมื่อว่าโดยอรรถ ง่ายทั้งนั้นแล. ก็สิกขา พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้คละกัน แม้ในสูตรนี้. จบอรรถกถาอัจจายิกสูตรที่ ๑ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ โลณผลวรรคที่ ๕ ๑. ปัจจายิกสูตร จบ. |