ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 534อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 535อ่านอรรถกถา 20 / 536อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ โลณผลวรรคที่ ๕
๔. ปริสสูตร

               อรรถกถาปริสาสูตรที่ ๔               
               พึงทราบวินิจฉัยในปริสาสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า พาหุลฺลิกา น โหนฺติ ความว่า ไม่เป็นผู้มักมากด้วยปัจจัย.
               บทว่า น สาถลิกา คือ ไม่รับสิกขา ๓ ทำให้หย่อนยาน.
               บทว่า โอกฺกมเน นิกฺขิตฺตธุรา ความว่า นิวรณ์ ๕ เรียกว่า โอกกมนะ เพราะหมายความว่า ทำให้ตกต่ำ (ภิกษุผู้เถระ) เป็นผู้ทอดทิ้งธุระในนิวรณ์ซึ่งทำให้ตกต่ำเหล่านั้น.
               บทว่า ปวิเวเก ปุพฺพงฺคมา ความว่า เป็นหัวหน้าในวิเวก ๓ อย่าง กล่าวคือ กายวิเวก จิตตวิเวกและอุปธิวิเวก.
               บทว่า วิริยํ อารภฺติ ได้แก่ ความเพียรทั้ง ๒ อย่าง.
               บทว่า อปฺปตฺตสฺส ได้แก่ ไม่บรรลุคุณวิเศษ กล่าวคือฌาน วิปัสสนา มรรคและผล.
               แม้ในสองบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล.
               บทว่า ปจฺฉิมา ชนตา ได้แก่ ประชุมชนภายหลังมีสัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกเป็นต้น.
               บทว่า ทิฏฺฐานุคตึ อาปชฺชติ ความว่า ทำตามที่อุปัชฌาย์และอาจารย์ได้ทำมาแล้ว. ประชุมชนภายหลังนี้ชื่อว่า ถึงการดำเนินไปตามสิ่งที่ประชุมชนนั้นได้เห็นมาแล้ว ในอุปัชฌาย์อาจารย์.
               บทว่า อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว อคฺควตี ปริสา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้ เรียกว่าบริษัทที่มีแต่คนดี.
               บทว่า ภณฺฑนชาตา แปลว่า เกิดการบาดหมางกัน.
               บทว่า กลหชาตา แปลว่า เกิดการทะเลาะกัน ก็ส่วนเบื้องต้นของการทะเลาะกัน ชื่อว่าการบาดหมาย ในสูตรนี้. การล่วงเกินกันด้วยอำนาจ (ถึงขนาด) จับมือกันเป็นต้น ชื่อว่าการทะเลาะกัน.
               บทว่า วิวาทาปนฺนา ได้แก่ ถึงการทุ่มเถียงกัน.
               บทว่า มุขสตฺตีหิ ความว่า วาจาที่หยาบคายเรียกว่าหอกคือปาก เพราะหมายความว่าทิ่มแทงคุณ (ภิกษุทั้งหลายทิ่มแทงกันและกัน) ด้วยหอกคือปากเหล่านั้น.
               บทว่า วิตฺทนฺตา วิหรนฺติ คือ เที่ยวทิ่มแทงกัน.
               บทว่า สมคฺคา แปลว่า พร้อมเพรียงกัน.
               บทว่า สมฺโมทมานา ได้แก่ มีความบันเทิงเป็นไปพร้อม.
               บทว่า ขีโรทกีภูตา ได้แก่ (เข้ากันได้) เป็นเหมือนน้ำกับน้ำนม.
               บทว่า ปิยจกฺขูหิ ได้แก่ ด้วยจักษุอันเจือด้วยเมตตาที่สงบเย็น.
               บทว่า ปีติ ชายติ ได้แก่ ปีติ ๕ ชนิดเกิดขึ้น.
               บทว่า กาโย ปสฺสมฺภติ ความว่า ทั้งนามกาย ทั้งรูปกาย เป็นอันปราศจากความกระวนกระวาย.
               บทว่า ปสฺสทฺธกาโย ได้แก่ มีกายไม่กระสับกระส่าย.
               บทว่า สุขํ เวทิยติ ได้แก่ เสวยสุขทั้งกายและทางใจ.
               บทว่า สมาธิยติ ความว่า ก็จิต (ของภิกษุผู้มีความสุข) ย่อมตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์.
               บทว่า ถุลฺลผุสิตเก ได้แก่ ฝนเม็ดใหญ่.
               ในบทว่า ปพฺพตกนฺทรปทรสาขา นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้
               ที่ชื่อว่า กันทะ ได้แก่ ส่วน (หนึ่ง) ของภูเขาที่ถูกน้ำซึ่งได้นามว่า กํ เซาะแล้ว คือทำลายแล้ว ที่ชาวโลกเรียกว่า นิตัมพะ (ไหล่เขา) บ้าง นทีนิกุญชะ (โครกแม่น้ำ) บ้าง.
               ที่ชื่อว่า ปทระ ได้แก่ ภูมิประเทศที่แตกระแหงในเมื่อฝนไม่ตกเป็นเวลาครึ่งเดือน.
               ที่ชื่อว่า สาขา ได้แก่ ลำรางเล็กทางสำหรับน้ำไหลไปสู่หนอง.
               ที่ชื่อว่า กฺสุพฺภา ได้แก่ หนอง. ที่ชื่อว่า มหาโสพฺภา ได้แก่ บึง.
               ที่ชื่อว่า กุนฺนที ได้แก่ แม่น้ำน้อย.
               ที่ชื่อว่า มหานที ได้แก่ แม่น้ำใหญ่มีแม่น้ำคงคาและยมุนาเป็นต้น.

               จบอรรถกถาปริสาสูตรที่ ๔               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ โลณผลวรรคที่ ๕ ๔. ปริสสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 534อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 535อ่านอรรถกถา 20 / 536อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=6421&Z=6453
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=5778
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=5778
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :