ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 541อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 542อ่านอรรถกถา 20 / 543อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ โลณผลวรรคที่ ๕
๑๑. สมุคคสูตร

               อรรถกถาสมุคคตสูตรที่ ๑๑               
               พึงทราบวินิจฉัยในสมุคคสูตรที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า อธิจิต ได้แก่ จิตในสมถะและวิปัสสนานั่นแล.
               บทว่า ตีณิ นิมิตฺตานิ ได้แก่ เหตุ ๓.
               บทว่า กาเลน กาลํ ได้แก่ ในกาลอันสมควร. อธิบายว่า ตลอดกาลอันเหมาะสม.
               ในบทว่า กาเลน กาลํ สมาธินิมิตฺตํ มนสิกาตพฺพํ เป็นต้น มีอธิบายว่า ภิกษุพึงกำหนดกาลนั้นๆ แล้วมนสิการถึงเอกัคคตา (ความที่จิตมีอารมณ์เดียวเป็นเลิศ) ในเวลาที่จิตประกอบด้วยเอกัคคตา.
               เพราะว่า ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเอกัคคตาว่าเป็นสมาธินิมิต.
               ในบทว่า สมาธินิมิตฺตํ นั้นมีความหมายของคำดังนี้ นิมิตคือสมาธิ ชื่อว่าสมาธินิมิต.
               แม้ในสองบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล.
               บทว่า ปคฺคาโห (การประคองจิต) เป็นชื่อของวิริยะ.
               บทว่า อุเปกฺขา เป็นชื่อของมัชฌัตตภาวะ (ความที่จิตเป็นกลาง). เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงมนสิการถึงวิริยะในเวลาที่เหมาะสมแก่วิริยะ. พึงดำรงอยู่ในมัชฌัตตภาวะในเวลาที่หมาะสมแก่มัชฌัตตภาวะแล.
               บทว่า ฐานนฺตํ จิตฺตํ โกสชฺชาย สํวตฺเตยฺย ความว่า เหตุที่ทำให้จิตนั้นดำรงอยู่ในภาวะ คือความเกียจคร้านมีอยู่.
               แม้ในเหตุนอกนี้ก็มีนัยนี้แล.
               และในบทว่า อุเปกฺขานิมิตฺตํเยว มนสิกเรยฺย มีเนื้อความดังนี้ว่า ภิกษุพึงเพ่งดูความว่องไวแห่งญาณเฉยๆ.
               บทว่า อาสวานํ ขยาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่อรหัตผล.
               บทว่า อุกฺกํ พนฺเธยฺย ได้แก่ พึงเตรียมกระเบื้องใส่ถ่าน.
               บทว่า อาลิมฺเปยฺย ความว่า พึงใส่ถ่านไปในกระเบื้องใส่ถ่านนั้น แล้วจุดไฟใช้สูบเป่าให้ไฟติด.
               บทว่า อุกฺกามุเข ปกฺขิเปยฺย ความว่า พึงคุ้ยเขี่ยถ่านเพลิง แล้ววางไว้บนถ่าน หรือใส่ไว้ในเบ้า.
               บทว่า อชฺฌุเปกฺขติ ได้แก่ ใคร่ครวญดูว่า ร้อนได้ที่แล้ว.
               บทว่า สมฺมา สมาธิยติ อาสวานํ ขยาย ได้แก่ (จิต) ตั้งมั่นอยู่โดยชอบ เพื่อประโยชน์แก่อรหัตผล. ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา แล้วบรรลุอรหัตผล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.
               บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงปฏิปทาเป็นเหตุให้บรรลุอภิญญาของพระขีณาสพนั้น จึงตรัสคำว่า ยสฺส ยสฺส จ เป็นต้น.
               คำนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในตอนต้นนั่นแล.

               จบอรรถกถาสมุคคตสูตรที่ ๑๑               
               จบโลณผลวรรควรรณนาที่ ๕               
               จบทุติยปัณณาสก์               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. อัจจายิกสูตร
                         ๒. วิวิตตสูตร
                         ๓. สรทสูตร
                         ๔. ปริสสูตร
                         ๕. อาชานิยสูตรที่ ๑
                         ๖. อาชานิยสูตรที่ ๒
                         ๗. อาชานิยสูตรที่ ๓
                         ๘. นวสูตร
                         ๙. โลณกสูตร
                         ๑๐. สังฆสูตร
                         ๑๑. สมุคคสูตร
               ทุติยปัณณาสก์จบบริบูรณ์               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ โลณผลวรรคที่ ๕ ๑๑. สมุคคสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 541อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 542อ่านอรรถกถา 20 / 543อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=6733&Z=6783
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=5932
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=5932
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :