ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 594อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 595อ่านอรรถกถา 20 / 596อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ตติยปัณณาสก์ มังคลวรรคที่ ๕
๑๐. สุปุพพัณหสูตร

               อรรถกถาสุปุพพัณหสูตรที่ ๑๐               
               พึงทราบวินิจฉัยในสุปุพพัณหสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
               ในคำเป็นต้นว่า สุนกฺขตฺตํ วันที่คนทั้งหลายบำเพ็ญสุจริตธรรมทั้ง ๓ ให้บริบูรณ์ ชื่อว่าเป็นวันที่ได้การประกอบฤกษ์ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วันนั้นมีฤกษ์ดีทุกเมื่อ. วันนั้นนั่นแหละ ชื่อว่าเป็นวันทำมงคลแล้ว เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วันนั้นมีมงคลดีทุกเมื่อ.
               แม้วันที่มีความสว่างไสวทั้งวัน จึงชื่อว่า สุปฺปภาตเมว มีความสว่างไสวเป็นประจำ.
               แม้การลุกขึ้นจากการนอนของวันนั้น ก็ชื่อว่า สุหุฏฺฐิตํ ลุกขึ้นด้วยดี.
               แม้ขณะของวันนั้น ก็ชื่อว่า สุกฺขโณ ขณะดี.
               แม้ยามของวันนั้น ก็ชื่อว่า สุมุหุตโต ยามดี.
               ก็ในบทว่า สุมุหุตฺโต นี้ พึงทราบการแบ่งเวลาดังนี้
                         เวลาประมาณ ๑๐ นิ้ว ชื่อขณะ.
                         เวลา ๑๐ เท่าโดยขณะนั้น ชื่อว่าลยะ.
                         เวลา ๑๐ เท่าโดยลยะนั้น ชื่อว่าขณลยะ.
                         เวลา ๑๐ เท่าโดยขณลยะนั้น ชื่อว่ามุหุตฺตะ.
                         เวลา ๑๐ เท่าโดยมุหุตตะนั้น ชื่อว่าขณมุหุตฺตะ.
               บทว่า สุยิฏฺฐํ พฺรหฺมจาริสุ ความว่า ทานที่เขาให้ในผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐ ในวันที่บำเพ็ญสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์แล้ว ชื่อว่า สุยิฏฺฐํ (มีการบูชาดีแล้ว).
               บทว่า ปทกฺขิณํ กายกมฺมํ ความว่า กายกรรมที่เขาทำแล้วในวันนั้น ชื่อว่าเป็นกายกรรมประกอบด้วยความเจริญ.
               แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
               บทว่า ปทกฺขิณานิ กตฺวาน ความว่า ครั้นกระทำกายกรรมเป็นต้นที่ประกอบด้วยความเจริญแล้ว.
               บทว่า ลภนฺตตฺเถ ปทกฺขิเณ ความว่า จะได้ประโยชน์ที่เป็นประทักษิณ คือประโยชน์ที่ประกอบด้วยความเจริญนั่นเอง.
               ข้อความที่เหลือในพระสูตรนี้ง่ายทั้งนั้นฉะนี้แล.

               จบอรรถกถาสุปุพพัณหสูตรที่ ๑๐               
               จบมงคลวรรควรรณนาที่ ๕               
               จบตติยปัณณาสก์               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. อกุศลสูตร
                         ๒. สาวัชชสูตร
                         ๓. วิสมสูตร
                         ๔. สุจริตสูตร
                         ๕. ขตสูตรที่ ๑
                         ๖. ขตสูตรที่ ๒
                         ๗. ขตสูตรที่ ๓
                         ๘. ขตสูตรที่ ๔
                         ๙. วันทนาสูตร
                         ๑๐. สุปุพพัณหสูตร
               ตติยปัณณาสก์จบบริบูรณ์               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ตติยปัณณาสก์ มังคลวรรคที่ ๕ ๑๐. สุปุพพัณหสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 594อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 595อ่านอรรถกถา 20 / 596อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=7802&Z=7826
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6368
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6368
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :