ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 

อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐]อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 150อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 151อ่านอรรถกถา 20 / 152อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เอตทัคคบาลี
วรรคที่ ๖

หน้าต่างที่ ๘ / ๑๐.

               อรรถกถาสูตรที่ ๘               
               ๘. ประวัติสูรอัมพัฏฐอุบาสก               
               ในสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               ด้วยบทว่า อเวจฺจปฺปสนฺนานํ ท่านแสดงว่า ปุรพันธเศรษฐีอุบาสก [บาลีว่า สูรอัมพัฏฐะ] เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกอริยสาวกผู้เลื่อมใสไม่หวั่นไหว.
               ดังได้สดับมา อุบาสกผู้นี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี ฟังธรรมกถาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสกผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้เลื่อมใสไม่หวั่นไหว ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น.
               เขาเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป ในพุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดในสกุลเศรษฐี. พวกญาติได้ขนานนามว่า ปุรพันธะ. ต่อมา เขาเจริญวัยดำรงอยู่ในฆราวาสวิสัย เป็นอุปัฏฐากของเหล่าอัญญเดียรถีย์.
               ครั้งนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูโลกเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นเหตุแห่งโสดาปัตติมรรคของเขา จึงเสด็จไปถึงประตูนิเวศน์ในเวลาเที่ยวแสวงหาอาหาร.
               เขาเห็นพระทศพล จึงคิดว่า พระสมณโคดมทรงอุบัติในสกุลใหญ่และเป็นผู้อันมหาชนรู้จักกันอย่างดีในโลก ด้วยเหตุนั้น การไม่ไปสำนักของพระสมณโคดมนั้น ไม่สมควร. เขาจึงไปสู่สำนักพระศาสดา กราบที่พระยุคลบาท รับบาตรแล้วอาราธนาให้เสด็จเข้าไปเรือน ให้ประทับนั่งบนบัลลังก์มีค่ามากถวายภิกษา เมื่อเสร็จภัตกิจ จึงนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง.
               พระศาสดาทรงแสดงธรรมตามอำนาจจริยาของเขา. จบเทศนาเขาก็ดำรงอยู่โสดาปัตติผล แม้พระศาสดาทรงฝึกเขาแล้ว ก็เสด็จไปพระเชตวันวิหาร.
               ลำดับนั้น มารคิดว่า ชื่อว่าปุรพันธะนี้เป็นสมบัติของเรา แต่พระศาสดาเสด็จไปเรือนเขาวันนี้ ได้ทรงทำให้มรรคปรากฏ เพราะฟังธรรมของพระศาสดาหรือหนอ เพียงที่เราจะรู้ว่า เขาพ้นจากวิสัยของเราหรือยังไม่พ้น จึงเนรมิตรูปละม้ายพระทศพล ทั้งทรงจีวร ทั้งทรงบาตร เสด็จดำเนินโดยอากัปกิริยาของพระพุทธเจ้าทีเดียว ทรงพระลักษณะ ๓๒ ประการ ได้ประทับยืนใกล้ประตูเรือนของปุรพันธอุบาสก.
               แม้ปุรพันธอุบาสกฟังว่า พระทศพลเสด็จมาอีกแล้ว ก็คิดว่า ธรรมดาการเสด็จไปชนิดไม่แน่นอนของพระพุทธะทั้งหลายไม่มีเลย เหตุไรหนอจึงเสด็จมา ดังนี้ แล้วจึงรีบเข้าไปสู่สำนักพระพุทธองค์ด้วยสำคัญว่าพระทศพล กราบแล้วยืน ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้วในเรือนของข้าพระองค์ ทรงอาศัยเหตุอะไรจึงเสด็จมาอีก.
               มารกล่าวว่า ดูก่อนปุรพันธะ เราเมื่อกล่าวธรรมไม่ทันพิจารณาแล้วกล่าวคำไปข้อหนึ่ง มีอยู่ แท้จริง เรากล่าวไปว่า ปัญจขันธ์ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา หมดทุกอย่าง แต่ความจริงไม่ใช่ทั้งหมดเห็นปานนั้น ด้วยว่า ขันธ์บางจำพวก ที่เที่ยง มั่นคง ยั่งยืน มีอยู่.
               ทีนั้น ปุรพันธอุบาสกคิดว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องหนักอย่างยิ่ง ด้วยธรรมดาว่า พระพุทธะทั้งหลายตรัสเป็นคำสองไม่มี จึงคิดใคร่ครวญว่า ขึ้นชื่อว่ามารเป็นข้าศึกของพระทศพล ผู้นี้ต้องเป็นมารแน่ จึงกล่าวว่า ท่านเป็นมารหรือ.
               ถ้อยคำที่พระอริยสาวกกล่าวได้เป็นหนึ่งเอาขวานฟันมารนั้น เพราะเหตุนั้น มารจะดำรงอยู่โดยภาวะของตนไม่ได้ จึงกล่าวว่า ใช่ละ ปุรพันธะ เราเป็นมาร.
               ปุรพันธอุบาสกจึงชี้นิ้วกล่าวว่า มารตั้ง ๑๐๐ ตั้ง ๑,๐๐๐ ก็มาทำศรัทธาของเราให้หวั่นไหว ไม่ได้ดอก. พระทศพลมหาโคดม เมื่อทรงแสดงธรรมแก่เรา ก็ทรงแสดงธรรมปลุกให้ตื่นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง. ท่านอย่ายืนใกล้ประตูเรือนของเรานะ. มารฟังคำของปุรพันธอุบาสกนั้นแล้ว ก็ถอยกรูดไม่อาจพูดจา อันตรธานไปในที่นั้นนั่นเอง.
               แม้ปุรพันธอุบาสก เวลาเย็นก็เข้าไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลกิริยาที่มารทำแล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มารพยายามทำศรัทธาของข้าพระองค์ให้หวั่นไหว.
               พระศาสดาทรงทำเหตุนั้นนั่นแลให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง จึงทรงสถาปนาปุรพันอุบาสกไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้เลื่อมใสไม่หวั่นไหว แล.

               จบอรรถกถาสูตรที่ ๘               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เอตทัคคบาลี วรรคที่ ๖
อ่านอรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐]
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 150อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 151อ่านอรรถกถา 20 / 152อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=716&Z=734
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=14&A=8017
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=14&A=8017
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :