![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า ฐานานิ ได้แก่ เหตุ. บทว่า อนตฺถาย สํวตฺตติ ความว่า ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อมิใช่ความเจริญ. ก็ในคำนี้ พึงทราบกุศลกรรมที่สัมปยุตด้วยโสมนัส ในบทเป็นต้นอย่างนี้ว่า บาปกรรมมีทุกข์ มีความคับแค้นซึ่งต่างโดยขุดบ่อจับปลาตัดช่องของเขาเป็นต้น พึงทราบว่าเป็นฐานะที่ ๑ การงานมีการทิ้งขยะดอกไม้เป็นต้น และการงานมีการโบกปูนขาว มุงเรือนและกวาดสถานที่ไม่สะอาดเป็นต้น สำหรับคฤหัสถ์ผู้เลี้ยงชีพโดยชอบ พึงทราบว่าเป็นฐานะที่ ๒ กรรมมีการดื่มสุราลูบไล้ของหอมและการประดับดอกไม้เป็นต้น และกรรมมีปาณาติบาติเป็นต้น ที่เป็นไปแล้วด้วยอำนาจความยินดี พึงทราบว่า เป็นฐานะที่ ๓ กุศลกรรมที่ประกอบด้วยโสมนัสในกิจกรรมเป็นต้นอย่างนี้ คือ การนุ่งห่มผ้าสะอาด ถือเอาดอกไม้และของหอมเป็นต้นไปในเวลาไปฟังธรรม การไหว้พระเจดีย์ การไหว้ต้นโพธิ การฟังธรรมกถาอันไพเราะ การสมาทานศีล ๕ พึงทราบว่าเป็นฐานะที่ ๔. บทว่า ปุริสถาเม ความว่า ในเรี่ยวแรงคือญาณของบุรุษ. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้แล. จบอรรถกถาฐานสูตรที่ ๕ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ตติยปัณณาสก์ เกสีวรรคที่ ๒ ๕. ฐานสูตร จบ. |