บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
เบญจกามคุณหรือวัฏฏะทั้งสิ้น ชื่อว่าอาลัย เพราะอรรถว่าพึงถูกตัณหาและทิฏฐิยึดไว้. ชื่อว่าอารามะ เพราะเป็นที่ยินดี. อาลัยเป็นที่ยินดีของหมู่สัตว์นี้ เหตุนั้น หมู่สัตว์นี้จึงชื่ออาลยารามะ มีอาลัยเป็นที่ยินดี. ชื่อว่าอาลยรตะ เพราะยินดีแล้วในอาลัย. ชื่อว่าอาลยสัมมุทิตะ เพราะบันเทิงแล้วในอาลัย. บทว่า อนาลเย ธมฺเม ความว่า อริยธรรมอาศัยวิวัฏฏนิพพานที่ตรงกันข้ามกับอาลัย. บทว่า สุสฺสุสติ คือ เป็นผู้ใคร่จะฟัง. บทว่า โสตํ โอทหติ แปลว่า เงี่ยโสต. บทว่า อญฺญาจิตฺตํ อุปฏฺฐเปติ ความว่า เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึงธรรม. บทว่า มาโน คือ ความสำคัญหรือวัฏฏะทั้งสิ้นนั้นแล ชื่อว่ามานะ เพราะอรรถว่าหมู่สัตว์พึงสำคัญ. บทว่า มานวินเย ธมฺเม คือ ธรรมที่เป็นเครื่องกำจัดเสียงซึ่งมานะ. ธรรมที่ตรงกันข้ามกับความสงบ ชื่อว่าอนุปสมะหรือวัฏฏะนั่นเอง ชื่อว่าอนุปสมะ เพราะอรรถว่าไม่สงบแล้ว. บทว่า โอปสมิเก ได้แก่ ธรรมที่ทำความสงบคืออาศัยวิวัฏฏะคือนิพพาน. ชื่อว่าอวิชชาคตะ เพราะไปคือประกอบด้วยอวิชชา. ชื่อว่าอันธภูตะ เพราะเป็นดุจคนตาบอด เพราะถูกกองมืดคืออวิชชาปกคลุมไว้. ชื่อว่าปรโยนัทธา เพราะหุ้มไว้รอบด้าน. ในบทว่า อวิชฺชาวินเย พระอรหัตเรียกว่าธรรมเป็นเครื่องกำจัดอวิชชา เมื่อธรรมที่อาศัยธรรมเป็นเครื่องกำจัดอวิชชานั้น อันพระตถาคตแสดงอยู่. ในสูตรนี้ตรัสวัฏฏะไว้ ๔ ฐานะ ตรัสวิวัฏฏะไว้ ๔ ฐานะ ด้วยประการฉะนี้. จบอรรถกถาทุติยอัจฉริยสูตรที่ ๘ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ตติยปัณณาสก์ ภยวรรคที่ ๓ ๘. อัจฉริยสูตรที่ ๒ จบ. |