![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า สมฺมปฺปธานานิ ได้แก่ ความเพียรดี คือความเพียรสูงสุด. บทว่า สมฺมปฺปธานา ได้แก่ พระขีณาสพผู้มีความเพียรบริบูรณ์. บทว่า มารเธยฺยาภิภูตา ความว่า พระขีณาสพเหล่านั้นครอบงำข้ามแดนมาร คือเตภูมิกวัฏ. บทว่า เต อสิตา ได้แก่ พระขีณาสพทั้งหลายเป็นผู้อันกิเลสไม่อาศัยแล้ว. บทว่า ชาติมรณภยสฺส ได้แก่ ภัยที่เกิดขึ้นพระอาศัยความเกิดและความตาย หรือภัยกล่าวคือความเกิดและความตาย. บทว่า ปารคู แปลว่า ถึงฝั่ง. บทว่า เต ตุสิตา ความว่า พระขีณาสพเหล่านั้น ชื่อว่ายินดีแล้ว. บทว่า เชตฺวา มารํ สวาหนํ ได้แก่ ชนะมารกับทั้งกองทัพอยู่แล้ว. บทว่า เต อเนชา ความว่า พระขีณาสพเหล่านั้น ไม่หวาดหวั่นด้วยความหวาดหวั่นคือตัณหา ชื่อว่าไม่หวั่นไหว. บทว่า นมุจิพลํ แปลว่า พลของมาร. บทว่า อุปาติวตฺตา แปลว่า ก้าวล่วง. บทว่า เต สุขิตา ได้แก่ พระขีณาสพเหล่านั้น ชื่อว่ามีความสุขด้วยโลกุตรสุข. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระอรหันตทั้งหลายสุขจริงหนอ ท่านไม่มีตัณหา ถอนอัสมิมานะได้เด็ดขาดแล้ว ทำลายข่ายคือ โมหะเสียแล้ว ดังนี้. จบอรรถกถปธานสูตรที่ ๓ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ จรวรรคที่ ๒ ๓. ปธานสูตร จบ. |