ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 21 / 1อ่านอรรถกถา 21 / 131อรรถกถา เล่มที่ 21 ข้อ 141อ่านอรรถกถา 21 / 151อ่านอรรถกถา 21 / 274
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ตติยปัณณาสก์
๒. อาภาวรรค

         อาภาวรรคที่ ๕         
         อรรถกถาอาภาสูตรที่ ๑         
         พึงทราบวินิจฉัยในอาภาสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
         ดวงจันทร์นั้นแล ชื่อว่าจันทาภา ด้วยอำนาจส่องรัศมี.
         แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้แล.
         อาภาสุตฺตวณฺณนา         
         ปญฺจมสฺส ปฐเม ฯ อาภาสนวเสน จนฺโทว จนฺทาภา ฯ
         เสสปเทสุปิ เอเสว นโย ฯ
         ปภาสุตฺตาทิวณฺณนา         
         ทุติยาทีสุปิ
               ปภาสนวเสน จนฺโทว จนฺทปฺปภา ฯ
               อาโลกนวเสน จนฺโทว จนฺทาโลโก ฯ
               โอภาสนวเสน จนฺโทว จนฺโทภาโส ฯ
               ปชฺโชตนวเสน จนฺโทว จนฺทปชฺโชโต ฯ
         เอวํ สพฺพตฺถ ปเทสุปิ อตฺโถ เวทิตพฺโพ ฯ

         แม้ในสูตรที่สองเป็นต้น
               ดวงจันทร์ชื่อว่าจันทาปภา ด้วยอำนาจส่องแสง.
               ดวงจันทร์ชื่อว่าจันทาโลก ด้วยอำนาจส่องสว่าง.
               ดวงจันทร์ชื่อว่าจันโทภาส ด้วยอำนาจเปล่งแสง.
               ดวงจันทร์ชื่อว่าจันทัปปัชโชต ด้วยอำนาจส่องโชติช่วง.
         เนื้อความในบททั้งปวงพึงทราบอย่างนี้.
         จบอรรถกถาอาภาสูตรที่ ๑         

         อรรถกถาปฐมกาลสูตรที่ ๖         
         พึงทราบวินิจฉัยในปฐมกาลสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
         บทว่า กาลา คือ กาลที่เหมาะที่ควร.
         บทว่า กาเลน ธมฺมสฺสวนํ ได้แก่ การฟังธรรมในเวลาที่เหมาะที่ควร.
         บทว่า ธมฺมสากจฺฉา ความว่า การสนทนาที่เป็นไปด้วยอำนาจการถามและการตอบปัญหา
         จบอรรถกถาปฐมกาลสูตรที่ ๖         

         อรรถกถาทุติยกาลสูตรที่ ๗         
         พึงทราบวินิจฉัยในทุติยกาลสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
         บทว่า กาลา นั่นเป็นชื่อแห่งกุศลธรรมที่เป็นไปด้วยอำนาจการฟังธรรมเป็นต้นในกาลนั้นๆ กาลเหล่านั้นจักแจ่มชัดและจักเป็นไป.
         บทว่า อาสวานํ ขยํ ได้แก่ พระอรหัต.
         จบอรรถกถาทุติยกาลสูตรที่ ๗         

         ปฐมจริตสูตรที่ ๘ ง่ายทั้งนั้น.

         อรรถกถาทุติยจริตสูตรที่ ๙         
         พึงทราบวินิจฉัยในทุติยจริตสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
         บทว่า สณฺหวาจา ได้แก่ วาจาอ่อนโยน.
         บทว่า มนฺตาภาสา ได้แก่ เรื่องที่กำหนดด้วยปัญญา ที่เรียกว่ามันตาแล้ว จึงกล่าว.
         จบอรรถกถาทุติยจริตสูตรที่ ๙         

         อรรถกถาสารสูตรที่ ๑๐         
         สารสูตรที่ ๑๐ บทว่า สีลสาโร คือ ศีลที่ให้ถึงสาระ.
         แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้แล.
         จบอรรถกถาสารสูตรที่ ๑๐         
         จบอาภาวรรควรรณนาที่ ๕         
         จบตติยปัณณาสก์         
         -----------------------------------------------------         

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ตติยปัณณาสก์ ๒. อาภาวรรค จบ.
อ่านอรรถกถา 21 / 1อ่านอรรถกถา 21 / 131อรรถกถา เล่มที่ 21 ข้อ 141อ่านอรรถกถา 21 / 151อ่านอรรถกถา 21 / 274
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=3835&Z=3883
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=8802
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=8802
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :