![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า อคฺคปญฺญตฺติโย ได้แก่ การบัญญัติสูงสุด. บทว่า อตฺตภาวีนํ ได้แก่ มีอัตภาพทั้งหลาย. บทว่า ยทิทํ ราหุ อสุรินฺโท ได้แก่ อสุรินทราหูนี้ ชื่อว่าเป็นยอด. ได้ยินว่า ในข้อนี้ อสุรินทราหูสูง ๔,๘๐๐ โยชน์. ที่ระหว่างแขนของเขา ๑,๒๐๐ โยชน์. ฝ่ามือและฝ่าเท้าหนา ๓๐๐ โยชน์. ข้อนิ้วมือ ๕๐ โยชน์. ที่ระหว่างคิ้วของเขา ๕๐ โยชน์. หน้าผาก ๓๐๐ โยชน์ ศีรษะ ๙๐๐ โยชน์. บทว่า กามโภคีนํ ยทิทํ ราชา มนฺธาตา ความว่า พระเจ้ามันธาตุนี้ ชื่อว่าเป็นยอดของสัตว์ผู้บริโภคกามทั้งที่เป็นของทิพย์ทั้งที่เป็นของมนุษย์. จริงอยู่ พระเจ้ามันธาตุนั้นเกิดในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีอายุอสงไขยหนึ่ง บันดาลให้ฝนตกเป็นเงิน ในขณะที่ปรารถนาๆ บริโภคกามที่เป็นของหมู่มนุษย์เป็นเวลาช้านาน ส่วนใน บทว่า อาธิปเตยฺยานํ ความว่า แห่งบรรดาผู้ครองตำแหน่งอธิบดี ตำแหน่งหัวหน้า. บทว่า ตถาคโต อคฺคมกฺขายติ ความว่า ปราชญ์เรียกตถาคตว่าเลิศประเสริฐสูงสุด โดยคุณที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ. บทว่า อิทฺธิยา ยสสา ชลํ ความว่า ผู้รุ่งเรืองด้วยความสำเร็จแห่งทิพยสมบัติ และด้วยยศกล่าวคือบริวาร. บทว่า อุทฺธํ ติริยํ อปาจีนํ ได้แก่ ในเบื้องบน เบื้องกลาง เบื้องต่ำ. บทว่า ยาวตา ชคโต คติ ได้แก่ ภูมิสำเร็จแห่งโลกเพียงใด. จบอรรถกถาปัญญัตติสูตรที่ ๕ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ จรวรรคที่ ๒ ๕. ปัญญัติสูตร จบ. |