บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อรรถกถาโยธสูตรที่ ๑ บทว่า ฐานกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในฐานะที่ตนยืนอยู่สามารถยิงไม่ผิด. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. อรรถกถาปาฏิโภคสูตรที่ ๒ บทว่า นตฺถิ โกจิ ปาฏิโภโค ความว่า ชื่อว่าผู้สามารถจะเป็นผู้รับประกันอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้รับประกันในธรรมนี้ดังนี้ ย่อมไม่มี. บทว่า ชราธมฺมํ ได้แก่ ภาวะที่มีความแก่. ในบททั้งหมดก็นัยนี้เหมือนกัน. อรรถกถาสุตสูตรที่ ๓ บทว่า นตฺถิ ตโต โทโส ความว่า ชื่อว่าโทษในการพูดนั้นไม่มี. อรรถกถาอภยสูตรที่ ๔ โรคนั่นแหละ ชื่อว่าโรคาตังกะ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุทำชีวิตให้ลำบาก. บทว่า ผุฏฐสฺส ได้แก่ ประกอบด้วยโรคาตังกะนั้น. บทว่า อุรตฺตาฬี กนฺทติ ได้แก่ ทุบตีอกร่ำไห้. บุญกรรม ท่านเรียกว่ากัลยาณะ ในบทมีอาทิว่า อกตกลฺยาโณ ดังนี้. ชื่อว่า อกตกลฺยาโณ เพราะเขาไม่ได้ทำบุญกรรมนั้นไว้. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้หมือนกัน. จริงอยู่ บุญกรรมนั่นแล ชื่อว่ากุศล เพราะเกิดจากความฉลาด. กุศล ท่านเรียกว่าภีรุตตาณะ เพราะเป็นเครื่องป้องกันสำหรับคนกลัว. อกุศลกรรมอันลามก ท่านเรียกว่าบาป ในบทมีอาทิว่า กตปาโป ดังนี้. บทว่า ลุทฺทํ ได้แก่ กรรมหยาบช้า. บทว่า กิพฺพิสํ ได้แก่ กรรมไม่บริสุทธิ์มีมลทิน. บทว่า กงฺขี โหติ ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยความสงสัยในฐานะทั้ง ๘ คือ ในพุทธคุณ ธรรมคุณและสังฆคุณ ในสิกขา ในอดีต ในอนาคต ทั้งในอดีตและอนาคต และในปฏิจจสมุปบาท. บทว่า วิจิกิจฺฉี ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยความลังเลใจ คือไม่ถึงความตกลงใจในพระสัทธรรมคำสั่งสอน ไม่สามารถตกลงใจด้วยการเรียนและการสอบถาม. พึงทราบความในบททั้งหมดโดยนัยนี้. อรรถกถาพราหมณสัจจสูตรที่ ๕ บทว่า พฺราหฺมณสจฺจานิ แปลว่า สัจจะของพราหมณ์ทั้งหลาย. บทว่า โส เตน น สมโณติ มญฺญติ ความว่า โดยสัจจะนั้น พระขีณาสพนั้นย่อมไม่สำคัญด้วยตัณหา มานะ ทิฏฐิ ว่าเราเป็นสมณะ ดังนี้. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ยเทว ตตฺถ สจฺจํ ตทภิญฺญาย ความว่า สัจจะใดเป็นความจริงแท้ ไม่แปรผันในการปฏิบัตินั้นว่า สัตว์ทั้งปวงไม่ควรฆ่า ดังนี้. ด้วยบทนี้ ทรงทำวจีสัจไว้ในภายใน แสดงนิพพานเป็นปรมัตถสัจ. บทว่า ตทภิญฺญาย ได้แก่ รู้สัจจะทั้งสองนั้น ด้วยปัญญาอันวิเศษยิ่ง. บทว่า อนุทยาย อนุกมฺปาย ปฏิปนฺโน โหติ ความว่า เป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาเพื่อความเอ็นดูและเพื่อความอนุเคราะห์. อธิบายว่า เป็นผู้บำเพ็ญเต็มที่. บทว่า สพฺเพ กามา ได้แก่ วัตถุกามทั้งหมด กิเลสกามทั้งหมด. แม้ในปฏิปทาที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อิติ วทํ พฺราหฺมโณ สจฺจํ อาห ได้แก่ พราหมณ์ผู้เป็นขีณาสพ แม้กล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ชื่อว่ากล่าวจริงทั้งนั้น. บทว่า สพฺเพ ภวา ได้แก่ ภพ ๓ มีกามภพเป็นต้น. ก็ในบทว่า นาหํ กวฺจินิ นี้ ตรัสสุญญตาความสูญไว้ ๔ เงื่อน. จริงอยู่ พระขีณาสพนี้ไม่เห็นตนในที่ไหนๆ ว่า เราย่อมไม่มีในอะไรๆ. บทว่า กสฺสจิ กิญฺจนตสฺมึ ความว่า ไม่เห็นตนของตนที่พึงนำเข้าไปในความกังวลสำหรับใครอื่น. อธิบายว่า ไม่เห็นว่าพี่ชายควรสำคัญนำเข้าไปในฐานะพี่ชาย สหายในฐานะสหายหรือบริขารในฐานะบริขาร ดังนี้. ในบทว่า น จ มม กวฺจินิ นี้ เว้นมมศัพท์ไว้ก่อน มีความดังนี้ว่า พระขีณาสพไม่เห็นตนว่ามีกังวลอยู่ในสิ่งไหนๆ ของใคร และความกังวลในสิ่งไหนๆ ในใคร บัดนี้ นำมมศัพท์มามีความว่า ความกังวลในสิ่งไรๆ ไม่มีแก่เรา เพราะเหตุนั้น ผู้ใดไม่เห็นว่า ตนของคนอื่นย่อมมีแก่เราในความกังวลในสิ่งไหนๆ ผู้นั้นชื่อว่าไม่เห็นตนของคนอื่นควรนำเข้ามาด้วยความกังวลนี้ ไม่ว่าในฐานะไรๆ คือ พี่ชายในฐานะเป็นพี่ชายของตน สหายในฐานะเป็นสหาย บริขารในฐานะเป็นบริขารดังนี้. เพราะเหตุที่พราหมณ์นี้เป็นอย่างนี้ ฉะนั้นจึงไม่เห็นตนในที่ไหนๆ ไม่เห็นตน ที่ควรนำไปในความกังวลของตน. ไม่เห็นตนของคนอื่นที่ควรนำเข้าไปในความกังวลของตน. บทว่า อิติ วทํ พฺรหฺมโณ พึงทราบความว่า พราหมณ์ผู้เป็นขีณาสพ แม้กล่าวสุญญตาความสูญทั้ง ๔ เงื่อน ชื่อว่ากล่าวความจริงทั้งนั้น เพราะรู้แจ้งโดยชอบปฏิปทานั้นแล้ว มิได้กล่าวเท็จเลย ทั้งไม่สำคัญ เพราะตนละความสำคัญทั้งหลายในทุกวาระได้แล้ว. บทว่า อากิญฺจญฺญํเยว ปฏิปทํ ได้แก่ ปฏิปทาอันเว้นจากความกังวล ไม่มี บทว่า ปฏิปนฺโน โหติ ได้แก่ บำเพ็ญเต็มที่. บทว่า อิมานิ โข ปริพฺ ในสูตรนี้ตรัสวจีสัจอย่างเดียวสำหรับพระขีณาสพในฐานะแม้ ๔ แล. อรรถกถาอุมมังคสูตรที่ ๖ บทว่า ปริกสฺสติ ได้แก่ อันสิ่งอะไรคร่ามา. บทว่า อุมฺมงฺโค ได้แก่ ผุดขึ้น. อธิบายว่า ไปด้วยปัญญา. อีกอย่างหนึ่ง ปัญญานั่นเอง เรียกว่าอุมมังคะ เพราะอรรถกถาว่าผุดขึ้น อุมมังค บทว่า จิตฺตสฺส อุปฺปนฺนสฺส วสํ คจฺฉติ ความว่า บุคคลเหล่าใดย่อมตกอยู่ในอำนาจจิต พึงทราบการยึดถือของบุคคลเหล่านั้นในเพราะอำนาจจิตนี้. บทว่า อตฺถมญฺญาย ธมฺมมญฺญาย ได้แก่ รู้อรรถและบาลี. บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน โหติ ความว่า เป็นผู้ปฏิบัติธรรม คือปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น พร้อมด้วยศีลที่สมควรแก่โลกุตรธรรม. บทว่า นิพฺเพธิกปญฺโญ ได้แก่ ปัญญาเป็นเครื่องชำแรก. บทว่า อิทํ ทุกฺขํ ท่านอธิบายว่า ขันธ์ห้าเป็นไปในภูมิสามที่เหลือ เว้นตัณหาเป็นทุกข์. บทว่า ปญฺญาย คือ ด้วยมรรคปัญญา. บทว่า อยํ ทุกฺขสมุทโย ท่านอธิบายว่า ตัณหาเป็นมูลของวัฏฏะ เป็นเหตุเกิดทุกข์นั้น. แม้ในสองบทที่เหลือ พึงทราบเนื้อความโดยอุบายนี้. อรหัตผล พึงทราบว่าตรัสด้วยการตอบปัญหาข้อที่ ๔. อรรถกถาวัสสการสูตรที่ ๗ บทว่า โตเทยฺยสฺส คือ พราหมณ์ชาวตุทิคาม. บทว่า ปริสติ ได้แก่ ในบริษัทผู้ประชุมพร้อมกันแล้ว. บทว่า ปรูปารมฺภํ วตฺเตนฺติ ความว่า ประพฤติแล้วติเตียนผู้อื่น. บทว่า พาโล อยํ ราชา เป็นอาทิ ท่านกล่าวเพื่อแสดงคำติเตียน ซึ่งชนเหล่านั้นประพฤติกัน. บทว่า สมเณ รามปุตฺเต ได้แก่ อุททกดาบสรามบุตร. บทว่า อภิปฺปสนฺโน ได้แก่ เลื่อมใสเหลือเกิน. บทว่า ปรมนิปจฺจการํ ได้แก่ กิริยาที่อ่อนน้อมอย่างยิ่งยวด คือประพฤติถ่อมตน. บทว่า ปริหารกา ได้แก่ บริวาร. บทเป็นต้นว่า ยมโก เป็นชื่อของบริวารชนเหล่านั้น. จริงอยู่ บรรดาบริวารชนเหล่านั้น คนหนึ่งชื่อยมกะ คนหนึ่วชื่อโมคคัลละ คนหนึ่งชื่ออุคคะ คนหนึ่งชื่อนาวินากี คนหนึ่งชื่อคันธัพพะ คนหนึ่งชื่ออัคคิเวสสะ. บทว่า อสฺสุทํ ในบทว่า ตฺยาสฺสุทํ นี้ เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า ซึ่งบริวารชนเหล่านั้นผู้นั่งในบริษัทของตน. บทว่า อิมินา นเยน เนติ ความว่า โตเทยยพราหมณ์กลับแนะนำ คือให้เขารู้ด้วยเหตุนี้. บทว่า กรณียาธิกรณีเยสุ ความว่า ในกิจอันบัณฑิตควรทำ และกิจที่ควรทำอันยิ่ง. บทว่า วจนียาธิวจนีเยสุ ความว่า ในถ้อยคำควรกล่าว และถ้อยคำควรกล่าวอันยิ่ง. ในบทว่า อลมตฺถทสตเรหิ นี้ ความว่า ผู้สามารถเห็นประโยชน์ทั้งหลาย ชื่อว่าอลมัตถวาส ผู้สามารถเห็นประโยชน์เกินบริวารชนเหล่านั้น ชื่อว่าอลมัตถทัสตระ กว่าชนเหล่านั้นผู้สามารถเห็นประโยชน์. บทว่า อลมตฺถทสตโร ความว่า พระเจ้าเอเฬยยะเป็นผู้ยิ่งกว่า เพราะสามารถเห็นประโยชน์. โตเทยยพราหมณ์ เมื่อถามว่า สมณรามบุตรเป็นผู้ฉลาดกว่าผู้ฉลาดทั้งหลาย เป็นบัณฑิตกว่าบัณฑิตทั้งหลาย จึงกล่าวอย่างนี้. เมื่อเป็นเช่นนั้น บริวารเหล่านั้นเมื่อจะย้อนถาม จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า เอวํ โภ แก่โตเทยยพราหมณ์นั้น ดังนั้น พราหมณ์สรรเสริญพระเจ้าเอเฬยยะบ้าง บริวารของพระเจ้าเอเฬยยะนั้น อสัตบุรุษเป็นเหมือนคนบอด สัตบุรุษเป็นเหมือนคนมีจักษุ. คนบอดย่อมมองไม่เห็นทั้งคนไม่บอด ทั้งคนบอดด้วยกันฉันใด อสัตบุรุษย่อมไม่รู้จักทั้งสัตบุรุษ ทั้ง พราหมณ์ได้อาศัยอำนาจประโยชน์นี้ว่า แม้โตเทยยพราหมณ์ได้รู้แล้วซึ่ง อรรถกถาอุปกสูตรที่ ๘ บทว่า อุปโก เป็นชื่อของมัณฑิกาบุตรนั้น. บทว่า มณฺฑิกาปุตฺโต แปลว่า บุตรของนางมัณฑิกา. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า ได้ยินว่า อุปกมัณฑิกาบุตรนั้นเป็นอุปัฏฐากของเทว บทว่า ปรูปารมฺภํ วตฺเตติ ได้แก่ กล่าวติเตียนผู้อื่น. บทว่า สพฺโพ โส น อุปฺปาเทติ ความว่า ผู้นั้นทั้งหมดไม่ทำกุศลกรรมให้เกิดขึ้น หรือไม่อาจเพื่อจะทำคำของตนให้สมควรได้เลย. บทว่า อนุปฺปาเทนฺโต คารยฺโห โหติ ความว่า เมื่อไม่อาจให้กุศลธรรมเกิดขึ้นได้ เมื่อไม่อาจทำคำของตนให้สมควรได้ ก็ย่อมเป็นผู้ถูกติเตียน. บทว่า อุปวชฺโช ความว่า ย่อมเป็นผู้ถูกติถูกว่าเหมือนกัน หรือเป็นผู้ประกอบด้วยโทษ. อธิบายว่ามีโทษ. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจับวาทะของอุปกะนั้นแล้ว เมื่อจะทรงสวมคอของอุปกะนั้นแล จึงตรัสว่า ปรูปารมฺภํ เป็นอาทิ. บทว่า อุมฺมุชฺชมานกํเยว ได้แก่ พอยกหัวขึ้นจากน้ำเท่านั้น. ในบทว่า ตตฺถ อปริมาณา ปทา เป็นอาทิ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้. บทก็ดี อักขระก็ดี ธรรมเทศนาก็ดี นับไม่ได้ในการบัญญัติว่า อกุศลนั้น. บทว่า อิติปีทํ อกุสลํ ความว่า แม้บททั้งหลายที่มาแล้วในอกุศลบัญญัติอย่างนี้ว่า แม้นี้ก็อกุศล แม้เพราะเหตุนี้ๆ ก็อกุศลดังนี้ ก็นับไม่ได้. แม้เมื่อเป็นดังนั้น พระตถาคตพึงทรงแสดงธรรมนั้นด้วยอาการอย่างหนึ่ง เทศนาของพระองค์อย่างนี้ก็พึงนับไม่ได้. เหมือนที่ท่านกล่าวว่าธรรมเทศนาของพระตถาคตนั้น กำหนดถือเอาไม่ได้ บทพยัญชนะแห่งธรรมก็กำหนดถือเอาไม่ได้ เนื้อความในทุกวาระพึงทราบด้วยอุบายนี้. บทว่า ยาวธํสี วตายํ คือ เจ้าเด็กนี้ช่างลบล้างคุณ. บทว่า โลณการกทารโก คือ เด็กในหมู่บ้านชาวนาเกลือ. คำว่า ยตฺร หิ นาม แก้บทเป็น โย หิ นาม แปลว่า ชื่อใด. บทว่า อปสาเทตพฺพํ มญฺญิสฺสติ จักสำคัญพระพุทธเจ้าว่าควรระราน. บทว่า อเปหิ ความว่า เจ้าจงหลีกไป อย่ามายืนต่อหน้าข้านะ ก็พระเจ้าอชาตศัตรูตรัสอย่างนี้แล้ว โปรดให้บริวารจับคอคร่าออกไปแล. อรรถกถาสัจฉิกิริยาสูตรที่ ๙ บทว่า กาเยน ได้แก่ ด้วยนามกาย. บทว่า สจฺฉิกรณียา ได้แก่ พึงทำให้ประจักษ์. บทว่า สติยา ได้แก่ ด้วยปุพเพนิวาสานุสติ. บทว่า จกฺขุนา คือ ด้วยทิพจักษุ. บทว่า ปญฺญาย ความว่า วิปัสสนาปัญญาพึงทำให้แจ้งด้วยฌานปัญญา มรรคปัญญา พึงทำให้แจ้งด้วยวิปัสสนาปัญญา ผลปัญญาพึงทำให้แจ้งด้วยมรรคปัญญา ปัจจเวกขณปัญญาพึงทำให้แจ้งด้วยผลปัญญา. อธิบายว่า พึงบรรลุ. ส่วนพระอรหัตกล่าวคือความสิ้นอาสวะ ชื่อว่าพึงทำให้แจ้งด้วยปัจจเวกขณปัญญา. อรรถกถาอุโปสถสูตรที่ ๑๐ บทว่า ตุณฺหีภูตํ ตุณฺหีภูตํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหลียวดูทางทิศใดๆ ทางทิศนั้นๆ ภิกษุสงฆ์นิ่งเงียบอยู่. บทว่า ภิกฺขุ อามนฺเตสิ ความว่า ทรงเหลียวดูด้วยพระจักษุอันเลื่อมใสแล้ว เกิดปราโมทย์ในธรรม จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลาย ผู้ถึงพร้อมด้วยข้อปฏิบัติ เพราะทรงประสงค์จะยกย่องธรรม. บทว่า อปฺปลาปา ได้แก่ บริษัทเว้นการสนทนา. บทนอกนี้เป็นไวพจน์ของบทว่า อปฺปลาปา นั้นนั่นเอง. บทว่า สุทฺธา คือ หมดมลทิน. บทว่า สาเร ปติฏฺฐิตา ได้แก่ ตั้งอยู่ในธรรมสาระมีศีลสาระเป็นต้น. บทว่า อลํ แปลว่า ควร. บทว่า โยชนคณนานิ ความว่า ระยะทางโยชน์หนึ่ง แม้ ๑๐ โยชน์ มากกว่านั้นก็เรียกว่านับเป็นโยชน์. แต่ในที่นี้ประสงค์เอาร้อยโยชน์บ้าง พันโยชน์บ้าง. บทว่า ปุโฏเสนาปิ ได้แก่ เสบียงทางเรียก ปุโฏสํ. อธิบายว่า แม้จะต้องถือเอาเสบียงทางเข้าไปหาก็ควรแท้. บาลีว่า ปุฏํเสน ดังนี้ก็มี. เนื้อความของบทนั้นว่า ห่อของมีอยู่ที่บ่าของบุคคลนั้น เหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่ามีห่ออยูที่บ่าด้วย ห่ออยู่ที่บ่านั้น. มีอธิบายว่า สะพายเสบียงไปดังนี้. บัดนี้ ตรัสว่า สนฺติ ภิกขฺเว เป็นอาทิ เพื่อทรงแสดงว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งหลายที่เห็นปานนี้ มีอยู่ในที่นี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เทวปฺปตฺตา ความว่า ภิกษุทั้งหลาย ถึงชั้นทิพวิหารที่เป็นเหตุเกิด เป็นอุปปัตติเทพ และชั้นพระอรหัตด้วยทิพวิหาร. บทว่า พฺรหฺมปฺปตฺตา ความว่า ภิกษุทั้งหลาย ถึงชั้นพรหมวิหารเหตุสำเร็จเป็นพรหม ด้วยอรรถว่าไม่มีโทษ และชั้นพระอรหัตด้วยพรหมวิหาร. บทว่า อาเนญฺชปฺปตฺตา ความว่า ภิกษุทั้งหลาย ถึงชั้นอาเนญชาเหตุสำเร็จเป็นความไม่หวั่นไหว และชั้นพระอรหัตด้วยอาเนญชา. บทว่า อริยปฺปตฺตา ความว่า ล่วงภาวะปุถุชนถึงภาวะพระอริยะ. ในบทว่า เอวํ โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ เทวปฺปตฺโต โหติ เป็นอาทิ มีวินิจฉัยดังนี้ ภิกษุตั้งอยู่ในจตุตถฌานที่เป็นรูปาวจรอย่างนี้แล้ว จึงกลับจิตไปบรรลุพระอรหัต ชื่อว่าเป็นผู้ถึงชั้นเทพ. ภิกษุตั้งอยู่ในพรหมวิหาร ๔ กลับจิตไปบรรลุพระอรหัต ชื่อว่าเป็นผู้ถึงชั้นพรหม. ตั้งอยู่ในอรูปฌาน ๔ กลับจิตไปบรรลุพระอรหัต ชื่อว่าเป็นผู้ถึงชั้นอาเนญชา. มรรค ๔ และผล ๓ ตรัสด้วยสัจจะ ๔ มีบทว่า อิทํ ทุกฺขํ ดังนี้เป็นอาทิ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้บรรลุอริยธรรมนี้ จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ถึงชั้นอริยะ. จบโยธาชีวรรควรรณนาที่ ๔ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ ๔. โยธาชีววรรค จบ. |