![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า อปฺปานิ แปลว่า ของเล็กน้อย. บทว่า สุลภานิ แปลว่า พึงได้โดยง่าย คือใครก็สามารถจะได้ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง. บทว่า อนวชฺชานิ แปลว่า ไม่มีโทษ. บทว่า ปิณฺฑิยาโลปโภชนํ ได้แก่ อาหารที่เที่ยวไปด้วยกำลังปลีแข้งได้มาสักว่าเป็นคำข้าว. บทว่า ปูติมุตฺตํ ได้แก่ น้ำมูตรอย่างใดอย่างหนึ่ง. กายแม้มีผิวดังทอง เขาก็เรียกว่ากายเน่าฉันใด แม้น้ำมูตรที่ใหม่เอี่ยม เขาก็เรียกว่าน้ำมูตรเน่าฉันนั้น. บทว่า วิฆาโต ได้แก่ ความคับแค้น. อธิบายว่า จิตไม่มีทุกข์. บทว่า ทิสา น ปฏิหญฺญติ ความว่า ภิกษุใดเกิดความคิดขึ้นว่า เราไปที่ชื่อโน้น จักได้จีวรเป็นต้น จิตของภิกษุนั้น ชื่อว่าย่อมเดือดร้อนตลอดทิศ. ภิกษุใดย่อมไม่เกิดความคิดอย่างนั้น จิตของภิกษุนั้น ชื่อว่าไม่เดือดร้อนตลอดทิศ. บทว่า ธมฺมา คือ ปฏิบัติธรรม. บทว่า สามญฺญสฺสานุโลมิกา ได้แก่ สมควรแก่สมณธรรม. บทว่า อธิคฺคหิตา ความว่า ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดย่อมเป็นอันภิกษุผู้มีจิตสันโดษ กำหนดไว้ อยู่แต่ภายใน ไม่ไปภายนอก. จบอรรถกถาสันตุฏฐิสูตรที่ ๗ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ อุรุเวลวรรคที่ ๓ ๗. สันตุฏฐิสูตร จบ. |