ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 21 / 1อ่านอรรถกถา 21 / 31อรรถกถา เล่มที่ 21 ข้อ 32อ่านอรรถกถา 21 / 33อ่านอรรถกถา 21 / 274
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ จักกวรรคที่ ๔
๒. สังคหสูตร

               อรรถกถาสังคหสูตรที่ ๒               
               พึงทราบวินิจฉัยในสังคหสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า สงฺคหวตฺถูนิ คือ เหตุแห่งการสงเคราะห์กัน.
               ในบทว่า ทานญฺจ เป็นอาทิ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้.
               ก็บุคคลบางคนควรรับสงเคราะห์ด้วยทานอย่างเดียว ก็พึงให้ทานอย่างเดียวแก่เขา.
               บทว่า เปยฺยวชฺชํ คือ พูดคำน่ารัก.
               จริงอยู่ บุคคลบางคนพูดว่า ผู้นี้ให้สิ่งที่ควรให้ แต่ด้วยคำๆ เดียว เขาก็พูดลบหลู่หมดทำให้เสียหาย เขาให้ทำไม ดังนี้. บางคนพูดว่า ผู้นี้ไม่ให้ทานก็จริง ถึงดังนั้น เขาก็พูดได้ระรื่นเหมือนเอาน้ำมันทา. ผู้เช่นนั้นจะให้ก็ตามไม่ให้ก็ตาม แต่ถ้อยคำของเขา ย่อมมีค่านับพัน. บุคคลเห็นปานนี้ย่อมไม่หวังการให้ ย่อมหวังแต่ถ้อยคำที่น่ารักอย่างเดียว ควรกล่าวแต่คำที่น่ารักแก่เขาเท่านั้น.
               บทว่า อตฺถจริยา คือ พูดแต่เรื่องที่เป็นประโยชน์และทำความเจริญ.
               จริงอยู่ บางคนมิใช่หวังแต่ทานการให้ มิใช่หวังแต่ปิยวาจา ถ้อยคำที่น่ารัก หากหวังแต่การพูดที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล การพูดที่ทำความเจริญแก่ตนถ่ายเดียว. พึงกล่าวแต่เรื่องบำเพ็ญประโยชน์แก่บุคคลผู้เห็นปานนั้นอย่างนี้ว่า ท่านควรทำกิจนี้ ไม่ควรทำกิจนี้ บุคคลเช่นนี้ควรคบ เช่นนี้ไม่ควรคบ.
               บทว่า สมานตฺตตา คือ ความเป็นผู้มีสุขมีทุกข์เสมอกัน.
               จริงอยู่ บุคคลบางคนย่อมไม่หวังสังคหวัตถุมีทานเป็นต้น แม้แต่อย่างหนึ่ง หากหวังความร่วมสุขร่วมทุกข์อย่างนี้ คือนั่งบนอาสนะเดียวกัน นอนบนเตียงเดียวกัน บริโภคร่วมกัน. ถ้าเขาเป็นคฤหัสถ์ย่อมเสมอกันโดยชาติ บรรพชิตย่อมเสมอกันโดยศีล ความวางตนสม่ำเสมอนี้ ควรทำแก่บุคคลนั้น.
               บทว่า ตตฺถ ตตฺถ ยถารหํ ความว่า ความวางตนสม่ำเสมอในธรรมนั้นๆ ตามสมควร.
               บทว่า รถสฺสาณีว ยายโต ความว่า สังคหธรรมเหล่านี้ย่อมยึดเหนี่ยวโลกไว้ได้ เหมือนสลัก (ที่หัวเพลา) ย่อมยึดรถที่แล่นไปอยู่ คือย่อมยึดยาน (คือรถ) ไว้ได้ฉะนั้น.
               บทว่า น มาตา ปุตฺตการณา ความว่า ถ้ามารดาไม่พึงทำการสงเคราะห์เหล่านั้นแก่บุตรไซร้ ท่านก็ไม่พึงได้รับความนับถือหรือบูชา เพราะบุตรเป็นเหตุ.
               บทว่า สงฺคหา เอเต เป็นปฐมาวิภัติใช้ในอรรถทุติยาวิภัติ. อนึ่ง ปาฐะว่า สงฺคเห เอเต ก็มี
               บทว่า สมเวกฺขนฺติ คือ ย่อมพิจารณาเห็นโดยชอบ.
               บทว่า ปาสํสา จ ภวนฺติ คือ ย่อมเป็นผู้ควรสรรเสริญ.

               จบอรรถกถาสังคหสูตรที่ ๒               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ จักกวรรคที่ ๔ ๒. สังคหสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 21 / 1อ่านอรรถกถา 21 / 31อรรถกถา เล่มที่ 21 ข้อ 32อ่านอรรถกถา 21 / 33อ่านอรรถกถา 21 / 274
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=863&Z=876
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=7577
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=7577
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :